รฟท.งดการเดินรถ 121 ขบวน 30 เม.ย.-31 พ.ค.

2021-04-29 19:40:10

รฟท.งดการเดินรถ 121 ขบวน 30 เม.ย.-31 พ.ค.

Advertisement

รฟท.งดการเดินรถ 121 ขบวน ระหว่าง 30 เม.ย. – 31 พ.ค.

ศบค.เข้ม 6 จว.งดเดินทางออกนอกพื้นที่โดยไม่จำเป็น

แจงด้วยภาพ "บัวขาว-ลูกสาว" หลังโดนฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดู 25 ล้าน

การรถไฟแห่งประเทศไทยประกาศปรับแผนให้บริการเดินรถโดยสารชั่วคราว ระหว่างวันที่ 30 เม.ย. - 31 พ.ค. 2564 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ยังคงมีขบวนรถให้บริการแก่ผู้โดยสารทั่วประเทศได้อย่างเพียงพอ พร้อมแจ้งผู้โดยสารขอคืนเงินค่าตั๋วได้เต็มราคา

เมื่อวันที่ 29 เม.ย. นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผอ.ศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)  เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) มีนโยบายขอความร่วมมือให้ประชาชนหลีกเลี่ยงหรือชะลอการเดินทางเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ การรถไฟฯ จึงมีการปรับเปลี่ยนขบวนรถที่ให้บริการเส้นทางต่างๆ ให้มีความเหมาะสมต่อสถานการณ์โดยงดการให้บริการขบวนรถเชิงพาณิชย์(รถทางไกล) ขบวนรถเชิงสังคม(รถระยะสั้น) รวมทั้งสิ้น 121 ขบวน เริ่มตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. – 31 พ.ค. 2564 อย่างไรก็ตาม ในการปรับเปลี่ยนการให้บริการขบวนรถโดยสาร การรถไฟฯ ได้คำนึงถึงความเหมาะสมในการให้บริการแก่ประชาชน โดยพิจารณางดเดินขบวนรถเฉพาะเส้นทางที่มีผู้ใช้บริการน้อยและไม่ได้วิ่งให้บริการในชั่วโมงเร่งด่วน ทำให้ไม่กระทบต่อภาพรวมในการให้บริการ และยังคงมีขบวนรถโดยสาร ทั้งขบวนรถเชิงพาณิชย์(รถทางไกล) ขบวนรถเชิงสังคม(รถระยะสั้น) มากถึง 115 ขบวน ให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างเพียงพอทุกเส้นทาง ส่วนประชาชนที่ซื้อตั๋วโดยสารเดินทางในขบวนรถที่งดให้บริการ สามารถติดต่อขอคืนเงินได้ที่สถานีรถไฟทุกแห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง ขณะเดียวกัน การรถไฟฯ ยังเพิ่มความมั่นใจในการให้บริการแก่ผู้โดยสาร โดยดำเนินมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในการให้บริการแก่ผู้โดยสารทั้งในขบวนรถโดยสาร สถานีรถไฟทั่วประเทศอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลอดการเดินทาง

สำหรับขบวนรถโดยสารที่ให้บริการ ระหว่างวันที่ 30 เมย. – 31 พ.ค. 2564 จำนวน 115 ขบวน มีดังนี้

1. ขบวนรถเชิงพาณิชย์

สายเหนือ จำนวน 4 ขบวน

ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 13/14 กรุงเทพ – เชียงใหม่ – กรุงเทพ

ขบวนรถเร็วที่ 109/102 กรุงเทพ – เชียงใหม่ – กรุงเทพ (ขบวนรถเร็วที่ 109 ปรับเวลาขบวนรถใหม่)

สายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 ขบวน

ขบวนรถด่วนที่ 67/68 กรุงเทพ – อุบลราชธานี – กรุงเทพ

ขบวนรถเร็วที่ 133/134 กรุงเทพ – หนองคาย – กรุงเทพ

ขบวนรถเร็วที่ 135/136 กรุงเทพ – อุบลราชธานี – กรุงเทพ

สายใต้ จำนวน 6 ขบวน

ขบวนรถด่วนที่ 85/86 กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ

ขบวนรถเร็วที่ 167/168 กรุงเทพ – กันตัง – กรุงเทพ

ขบวนรถเร็วที่ 171/172 กรุงเทพ – สุไหงโกลก – กรุงเทพ

2. ขบวนรถเชิงสังคม

สายเหนือ จำนวน 20 ขบวน

ขบวนรถธรรมดาที่ 201/202 กรุงเทพ – พิษณุโลก – กรุงเทพ

ขบวนรถธรรมดาที่ 211/212 กรุงเทพ – ตะพานหิน – กรุงเทพ

ขบวนรถชานเมืองที่ 311/376 กรุงเทพ - รังสิต - หัวตะเข้

ขบวนรถชานเมืองที่ 301/302 กรุงเทพ – ลพบุรี – กรุงเทพ

ขบวนรถชานเมืองที่ 303/304 กรุงเทพ – ลพบุรี – กรุงเทพ

ขบวนรถชานเมืองที่ 313/314 กรุงเทพ – บ้านภาชี – กรุงเทพ

ขบวนรถชานเมืองที่ 317/318 กรุงเทพ – ลพบุรี – กรุงเทพ

ขบวนรถท้องถิ่นที่ 401/402 ลพบุรี – พิษณุโลก – ลพบุรี

ขบวนรถท้องถิ่นที่ 403/410 พิษณุโลก – ศิลาอาสน์ – พิษณุโลก

ขบวนรถท้องถิ่นที่ 407/408 นครสวรรค์ – เชียงใหม่ – นครสวรรค์

สายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 16 ขบวน

ขบวนรถธรรมดาที่ 233/234 กรุงเทพ – สุรินทร์ – กรุงเทพ

ขบวนรถชานเมืองที่ 341/342 กรุงเทพ – แก่งคอย – กรุงเทพ

ขบวนรถท้องถิ่นที่ 415/418 หนองคาย – นครราชสีมา – หนองคาย

ขบวนรถท้องถิ่นที่ 421/426 อุบลราชธานี – นครราชสีมา – อุบลราชธานี

ขบวนรถท้องถิ่นที่ 427/428 นครราชสีมา – อุบลราชธานี – นครราชสีมา

ขบวนรถท้องถิ่นที่ 429/430 นครราชสีมา – บัวใหญ่ – นครราชสีมา

ขบวนรถท้องถิ่นที่ 431/432 แก่งคอย – ขอนแก่น – แก่งคอย

ขบวนรถท้องถิ่นที่ 433/434 แก่งคอย – บัวใหญ่ – แก่งคอย

สายใต้ จำนวน 22 ขบวน

ขบวนรถธรรมดาที่ 255/254 ธนบุรี – หลังสวน – ธนบุรี

ขบวนรถธรรมดาที่ 257/258 ธนบุรี – น้ำตก - ธนบุรี

ขบวนรถธรรมดาที่ 261/262 กรุงเทพ – หัวหิน – กรุงเทพ

ขบวนรถชานเมืองที่ 351/352 ธนบุรี – ราชบุรี – ธนบุรี

ขบวนรถชานเมืองที่ 355/356 กรุงเทพ – สุพรรณบุรี – กรุงเทพ

ขบวนรถท้องถิ่นที่ 445/446 ชุมพร – หาดใหญ่ – ชุมพร

ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447/448 สุราษฎร์ธานี – สุไหงโกลก - สุราษฎร์ธานี

ขบวนรถท้องถิ่นที่ 451/452 นครศรีธรรมราช – สุไหงโกลก – นครศรีธรรมราช

ขบวนรถท้องถิ่นที่ 453/454 ยะลา – สุไหงโกลก – ยะลา

ขบวนรถท้องถิ่นที่ 463/464 พัทลุง – สุไหงโกลก – พัทลุง

ขบวนรถท้องถิ่นที่ 489/490 สุราษฎร์ธานี – คีรีรัฐนิคม – สุราษฎร์ธานี

สายตะวันออก จำนวน 21 ขบวน

ขบวนรถธรรมดาที่ 275/276 กรุงเทพ – อรัญประเทศ – กรุงเทพ (ไม่มีเดินช่วง อรัญประเทศ – ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก)

ขบวนรถธรรมดาที่ 277/278 กรุงเทพ – กบินทร์บุรี – กรุงเทพ

ขบวนรถธรรมดาที่ 279/280 กรุงเทพ – อรัญประเทศ – กรุงเทพ (ไม่มีเดินช่วง อรัญประเทศ – ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก)

ขบวนรถธรรมดาที่ 281/282 กรุงเทพ – กบินทร์บุรี – กรุงเทพ

ขบวนรถธรรมดาที่ 283/284 กรุงเทพ – พลูตาหลวง – กรุงเทพ

ขบวนรถธรรมดาที่ 285/286 กรุงเทพ – ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพ

ขบวนรถชานเมืองที่ 371/372 กรุงเทพ – ปราจีนบุรี – กรุงเทพ

ขบวนรถชานเมืองที่ 367 กรุงเทพ – ฉะเชิงเทรา

ขบวนรถชานเมืองที่ 378 หัวตะเข้ – กรุงเทพ

ขบวนรถชานเมืองที่ 383/384 กรุงเทพ – ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพ

ขบวนรถชานเมืองที่ 388 ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพ

ขบวนรถชานเมืองที่ 390/391 กรุงเทพ – ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพ

สายมหาชัย - วงเวียนใหญ่ - มหาชัย จำนวน 16 ขบวน

ขบวนรถที่ 4304/4305

ขบวนรถที่ 4306/4307

ขบวนรถที่ 4310/4311

ขบวนรถที่ 4312/4313

ขบวนรถที่ 4324/4325

ขบวนรถที่ 4328/4329

ขบวนรถที่ 4342/4343

ขบวนรถที่ 4344/4345

สายแม่กลอง - บ้านแหลม - แม่กลอง จำนวน 4 ขบวน

ขบวนรถที่ 4380/4383