กองปราบ บุกรวบ"2 หนุ่ม"ตุ๋นขาย"พระปลอม"ออนไลน์

2021-03-04 20:15:07

กองปราบ บุกรวบ"2 หนุ่ม"ตุ๋นขาย"พระปลอม"ออนไลน์

Advertisement

ตร.กองปราบ บุกรวบ "2 หนุ่ม" ลวงเหยื่อขาย "พระปลอม" ออนไลน์ เสียหายนับแสนบาท

ศาลยกคำร้องไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว"แอมมี่"

"พระมหาไพรวัลย์"ติงดาราใบ้หวยมอมเมาประชาชน

สุดเศร้า! เผาศพ “น้องนิหน่า” เพื่อนร่วมชั้นชูป้าย “ฆ่าข่มขืน = ประหาร”

เมื่อวันที่ 4 มี.ค. พ.ต.อ.ปทักข์ ขวัญนา ผู้กำกับกอง 4 กองบังคับการปราบปราม (ผกก.4 บก.ป.) พร้อมด้วย พ.ต.ท.ภัทรพันธ์ พูลทวี สว.กก.4 บก.ป. แถลงผลจับกุม นายธัญญ หรือนิว อายุ 33 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดพิษณุโลก ที่ 270/2563 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนโดยทุจริตหรือหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน โดยสามารถสามารถจับกุมได้ที่บริเวณริมถนนซอยจุฬาเกษม 6 ต.บางเขน อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี นอกจากนี้ยังติดตามจับกุม นายภคพล หรือนัท อายุ 29 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดนครสวรรค์ ที่ จ.8//2564 ลงวันที่ 6 มกราคม 2564 ในความผิดฐานฉ้อโกงโดยแสดงตัวเป็นบุคคลอื่น โดยจับกุมได้บริเวณปากซอยสุขร่วมกัน ถนนประชาสันติ แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. พร้อมของกลางสมุดบัญชีเงินฝากซึ่งเป็นหมายเลขบัญชีเดียวกับที่โพสต์ให้เหยื่อโอนเงินเช่าพระเครื่อง หรือวัตถุมงคล, สมุดบัญชีบุคคลอื่น, บัตรเอทีเอ็มของบุคคลอื่น, ใบรับรองพระแท้จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย, พระเครื่อง และไอซ์ 0.61กรัม




พ.ต.ท.ภัทรพันธ์ พูลทวี สว.กก.4 บก.ป. กล่าวว่า เมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2563 นายภคพล และนายวธัญญู ได้เปิดเพจเฟซบุ๊คปลอมเพื่อหลอกขายพระเครื่องและวัตถุมงคล โดยนำภาพพระเครื่องแท้ที่อยู่ในโลกออนไลน์มาประกอบภาพการขายในเฟซบุ๊ค นอกจานี้ยังนำใบรับรองพระเครื่องแท้จากสมาคมนิยมพระเครื่องพระบูชาไทย มาแอบอ้างเพื่อเพิ่มความน่าเชื้อถือ ทำให้เหยื่อหลงเชื่อ ต่อมาผู้เสียหายได้ติดต่อขอเช่าพระหลวงพ่อเงิน โดยตกลงราคากันที่ 20,000 บาท ก่อนโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ แต่กลับพบว่าพระเครื่องที่เช่ามาไม่ตรงกับภาพที่ใช้ประกอบการซื้อขายจึงเข้าแจ้งความ กระทั่งเมื่อวานนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ป. สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ทั้ง 2 ราย หลังแยกย้ายกันหลบหนีทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ จ.นนทบุรี


สว.กก.4 บก.ป. กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ นายวธัญญู ยังให้การภาคเสธ โดยยืนยันว่าถูกนายภคพล ยืมบัตรประชาชน เอทีเอ็ม และสมุดธนาคาร ไปหลอกลวงผู้อื่น โดยที่ตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ส่วนนายภคพล ให้การรับสารภาพ ว่าร่วมกับนายวธัญญู เปิดเพจเฟซบุ๊กหลอกขายพระเครื่อง พอเหยื่อหลงเชื่อแล้วโอนเงินเข้ามาในบัญชี ก็จะส่งพระเครื่องของปลอมไปให้ พร้อมเปลี่ยนชื่อเฟซบุ๊คและเลขบัญชีใหม่เพื่อหลอกขายให้เหยื่อรายอื่นต่อไป ส่วนพระเครื่องที่นำมาหลอกขาย ไปซื้อมาจากตลาดพระเครื่องบริเวณท่าพระจันทร์ในราคา 1,500-2,000 บาท และจากการตรวจสอบพบว่ามีผู้เสียหาย 15 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 307,500 บาท เมื่อตรวจสอบบัญชีของ นายวธัญญู ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2564 พบว่ามีเงินหมุนเวียนทั้งหมด 576,000 บาท ส่วนใบรับรองพระเครื่องแท้จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่อง ทางเจ้าหน้าที่ได้ส่งไปให้สมาคมตรวจสอบ ซึ่งได้รับคำยืนยันว่าเป็นของปลอมที่นำมาแอบอ้างประกอบความน่าเชื่อถือเท่านั้น


ด้าน นายวัธนชัย มุตตามระ ที่ปรึกษาสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีการนำพระเครื่องมาหลอกขายกันเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ราคาหลักพันไปจนถึงราคาหลักล้าน บางเพจตั้งราคาถูกกว่าของจริง 10 เท่า หรือแม้แต่บางเพจตั้งราคาใกล้เคียงกับของจริงก็ยังถูกหลอก เช่น หลวงพ่อเงินที่หลอกขายในครั้งนี้ ราคาจริงขายเป็นแสน แต่มาตั้งราคาขายในเพจเพียงหลักหมื่น จึงอยากฝากเตือนผู้ที่อยากจะเช่าพระเครื่อง ควรตรวจสอบประวัติผู้ขายให้ดี ยิ่งคนที่เช่าพระในราคาสูงควรไปเจอกันและพูดคุยก่อนที่จะมีการซื้อ-ขาย บางครั้งผู้ขายบางรายใช้กลวิธีปล่อยเช่าพระ โดยทำทีว่าไม่รู้ราคา โดยจะพระราคาแพงมาปล่อยเช่าในราคาถูก ผู้ที่เช่าพระคิดว่าได้ราคาถูกเหมือนถูกหวยแต่กลับถูกหลอกในภายหลัง สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสอบใบรับรองพระแท้ที่ทางสมาคมเป็นผู้ออกให้ สามารนำเลขประจำพระเครื่องที่อยู่ใต้รูปในใบรับร้องไปค้นหา หรือตรวจสอบได้ในเว็บไซด์ของทางสมาคม เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพ