"นัก ก.ม.ไซเบอร์"เตือนเล่น"คลับเฮ้าส์"ระวัง พ.ร.บ.คอมฯ

2021-02-24 20:15:12

"นัก ก.ม.ไซเบอร์"เตือนเล่น"คลับเฮ้าส์"ระวัง พ.ร.บ.คอมฯ

Advertisement

"นัก ก.ม.ไซเบอร์" เตือนเล่น "คลับเฮ้าส์" ระวังผิด พ.ร.บ.คอมฯ ถูกนำเสียงไปใช้ในทางเสียหาย

ตร.ตามรวบ"เอเย่นต์"ซุก"ยาบ้า"เกือบล้านเม็ด

"กลุ่ม 24 มิถุนา"ยืนไว้อาลัย 112 นาทีจี้ปล่อย"4 ราษฎร"

"หมอวรงค์"ชู"สุเทพ-กปปส."ทำเพื่อชาติบ้านเมือง

เมื่อวันที่ 24 ก.พ. จากกรณีโลกโซเชียล หันไปเลนแอพพลิเคชั่นน้องใหม่ที่ฮอตขึ้นมาเร็วมาก นั่นก็คิอ "คลับเฮาส์ (clubhouse)" แอพฯ ที่สื่อสารด้วยเสียง ส่งผลให้มีบุคคลซึ่งมีชื่อเสียงจากหลายวงการเข้าไปใช้เป็นงานกันเป็นจำนวนมาก เริ่มตั้งแต่เจ้าพ่อวงการเทคโนโลยีอย่าง "อีลอน มัสก์" ไปจนถึงดารา นักร้อง นักธุรกิจ และนักการเมืองชื่อดังในบ้านเรา ทำให้มีการใช้งานเพิ่มขึ้นมาก แม้เวอร์ชั่นแรกจะรองรับเฉพาะระบบปฏิบัติการ “iOS” จึงมีแต่บรรดาสาวกไอโฟนเท่านั้นที่ใช้ได้ จากปรากฎการณ์ดังกล่าว ทีมข่าว New18 จึงพูดคุยมุมมองกับนักกฎหมาย โดย อาจารย์ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายไซเบอร์ กล่าวว่า เป็นแอพพลิเคชั่นใหม่ที่เน้นเรื่องความเป็นตัวตน สิ่งสำคัญของแอพพลิเคชั่น คือ เน้น Celebrities ซึ่งสามารถตอบโจทย์การแชทด้วยการใช้เสียง และสามารถตั้งหัวข้อสนทนาได้ จุดเด่นของการเข้าในคลับเฮ้าส์ คือ ต้องได้รับการเชิญหรือต้องเป็นบุคคลที่อีกฝั่งหนึ่งให้เครดิตจึงจะเข้าไปได้




อาจารย์ไพบูลย์ กล่าวอีกว่า คลับเฮ้าส์เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิอยู่สองส่วน ส่วนแรก คือ เมื่อเราเข้าใช้แอพพลิเคชั่นก็จะจ้องใช้ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ ซึ่งจะถูกบันทึกไว้ทำให้คนอื่นเข้าถึงระบบของเราได้ กล่าวคือ การดูดข้อมูลระบบส่วนจากตัวโทรศัพท์ของเราเข้าไปทำการแบคอัพข้อมูล ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้เราไม่เคยทำการยินยอมมาก่อน แต่ถูกเก็บไป ส่วนที่ 2 คือ หากเข้าไปในแอพแล้วปรากฏหน้าโปรไฟล์รูปเราซึ่งก็เป็นข้อมูลส่วนบุคคล เวลามีการพูดแม้แอพจะไม่สามารถบันทึกเสียงได้ แต่คนที่เข้าไปสามารถบันทึกได้ สิ่งที่น่ากลัว คือ หากเป็นหัวข้อที่ที่ผิดกฎหมายอาจจะถูกตัดต่อเสียงทำให้เกิดปัญหาในทางกฎหมายอีกหลายส่วน เช่น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกฎหมายลิขสิทธิ์ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หากคนพูดไม่ได้บันทึกไว้ก็อาจมีปัญหาว่าเรื่องแสดงความคิดเห็นซึ่งไปพาดพิงบุคคลอื่น หรือใส่อคติส่วนตัว หรือมีการตัดต่อ ซึ่งถ้าใช้ไม่ดีอาจมีการปลุกระดมหรือรวมกันทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย


ส่วนที่รัฐบาลให้หน่วยงานเก็บข้อมูลผู้ใช้แอพพลิเคชั่น และติดตามการใช้งานนั้น อาจารย์ไพบูลย์ มองว่า โดยส่วนตัวเห็นด้วย เพราะทุกครั้งที่เกิดแพฯ ใหม่ในโซเชียล ก็จะมีประโยชน์ทั้งทางบวก ซึ่งก็คือการได้แสดงความคิดเห็นกันมากขึ้น แต่หากไปละเมิดสิทธิผู้อื่น หรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง กรณีที่เข้าไปรับฟังก็ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์ได้ สิ่งที่อยากเตือนผู้ใช้งานทั้งหลาย คือ แอพเสมือนเป็นเวทีไฮปาร์ค แต่ความแตกต่าง คือไปอยู่บนอินเตอร์เน็ต เมื่อไปอยู่บนอินเตอร์เน็ตจึงมีกฎหมายเรื่อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เข้ามา ดังนั้นการที่มีหน่วยงานภาครัฐเข้าไปดูแลความเรียบร้อยจึงถือว่าเป็นเรื่องปกติ ทุกอย่างเหมือนเดิมกับโลกปกติ เพียงแต่เราเข้าไปใช้ในอินเตอร์เน็ต เมื่อเราจะทำอะไรต้องคิดอยู่บนพื้นฐานว่า แม้จะอยู่ในแอพพลิเคชั่นที่เป็นแบบปิด แต่ข้อมูลต่างๆ สามารถถูกบันทึก และอาจถูกนำออกมาใช้ได้