"ปศุสัตว์"ยันยังไม่มีคนไทยติด"ไข้หวัดนก"สายพันธ์ใหม่

2021-02-22 14:55:10

"ปศุสัตว์"ยันยังไม่มีคนไทยติด"ไข้หวัดนก"สายพันธ์ใหม่

Advertisement

"กรมปศุสัตว์" ยืนยันยังไม่มี "คนไทย" ติดเชื้อ "ไข้หวัดนก H5N8" แพร่ระบาดจากคนสู่คน

แกนนำ ส.ส.ดาวฤกษ์โพสต์ขออภัย “บิ๊กป้อม”โหวตสวนมติพรรค

"อดีตอธิการ มธ."ใช้ตำแหน่งยื่นประกัน"4 แกนนำ"

ออกโรงโต้ยันแต่งตั้ง-โยกยย้าย ตร.มีความเป็นธรรม

เมื่อวันที่ 22 ก.พ. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า จากกรณีพบการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกสายพันธ์ใหม่ H5N8 ทั้งในเยอรมนี โปแลนด์ ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ และล่าสุดพบที่ประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็นการติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวในมนุษย์เป็นครั้งแรกของโลก โดยยืนยัน ว่า ประเทศไทยยังไม่พบการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก ชนิดดังกล่าว ทั้งนี้กรมปศุสัตว์ ได้ขอความร่วมมือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด ในการคุมเข้มเฝ้าระวังและป้องกันไข้หวัดนก H5N8 อย่างเข้มงวดมาตั้งแต่ช่วงเดือน ม.ค.เป็นต้นมา เนื่องจากเชื้อไข้หวัดนกดังกล่าว มีฝูงนกป่าเป็นพาหะ ทำให้ประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ในเส้นทางการบินของฝูงนก จึงมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ ทั้งนี้ประเทศไทยไม่พบการติดเชื้อไข้หวัดนกในคนตั้งแต่ปี 2549 หรือไม่มีโรคนี้ในประเทศไทยนานกว่า 15 ปีแล้ว และจนถึงขณะนี้ยังคงสถานะประเทศปลอดไข้หวัดนก ตามรายงานของ OIE นับจากปี 2551 จนถึงปัจจุบัน




อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวอีกว่า ผู้บริโภคไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการบริโภคสัตว์ปีก ขอเพียงเน้นปรุงสุกเท่านั้น เพราะเชื้อไม่สามารถติดต่อทางอาหารที่ปรุงสุกใหม่ เนื่องจากเชื้อจะตายที่อุณหภูมิสูง 70-100 องศา ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีรายงานว่าคนติดโรคไข้หวัดนก หรือติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากการรับประทานอาหารที่ปรุงสุก อย่างก็ตาม คงต้องขอความร่วมให้ทุกจังหวัด ยกระดับการป้องกันอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้โรคนี้เข้ามาทำลายอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกของไทย ได้ โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด จะต้องเฝ้าระวังโรคทั้งเชิงรุกและเชิงรับ โดยใช้เครือข่ายการเฝ้าระวังโรคในทุกพื้นที่ และรายงานสถานการณ์สัตว์ปีกป่วยตายทุกวัน โดยเน้นย้ำให้รายงานสัตว์ปีกป่วยตายตามความเป็นจริง หากตรวจพบว่าสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดรางานเป็นเท็จ จะดำเนินการตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และเมื่อได้รับแจ้งหรือพบสัตว์ป่วยตายที่มีลักษณะคล้ายโรคไข้หวัดนก เจ้าหน้าที่จะต้องเข้า ตรวจสอบและดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคทันที


นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวเพิ่มเติม ว่า ขอให้เกษตรกรดูแลการผลิต และป้องกันโรคอย่างเข้มข้น โดยมุ่งเน้นระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ในระดับสูง ตลอดจนประยุกต์ใช้ระบบคอมพาร์ทเม้นต์ ขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ในฟาร์มของตนเองอย่างเหมาะสม โดยใช้ 4 หลักการสำคัญเพื่อส่งเสริมสุขอนามัยการผลิตสัตว์ปีกให้ปลอดจากไข้หวัดนก ประกอบด้วย 1.หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Common Biosecurity) ซึ่งมีมาตรการป้องกันโรคที่สอดคล้องกันกับห่วงโซ่การผลิต 2.การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก (Surveillance) ทั้งภายในระบบคอมพาร์ทเม้นต์และพื้นที่กันชนรัศมี 1 กิโลเมตรรอบฟาร์ม 3.การควบคุมโรค (Control Measure) และ 4.การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability System)