"ศรีสุวรรณ"นำสูตินรีแพทย์ร้องผู้ตรวจการแผ่นดินค้าน ก.ม.ทำแท้ง

2021-02-04 12:34:09

"ศรีสุวรรณ"นำสูตินรีแพทย์ร้องผู้ตรวจการแผ่นดินค้าน ก.ม.ทำแท้ง

Advertisement

"ศรีสุวรรณ"นำสูตินรีแพทย์ร้องผู้ตรวจการแผ่นดินค้าน ก.ม.ทำแท้ง

"เอไทม์มีเดีย"แจงแล้ว "ดีเจมะตูม" จบ ม.ศิลปากรจริงหรือไม่ ?

ด่วน!ชุดหนุมานบุกจับ "เสี่ยโป้" คาบ้านพัก

สาปส่งผู้ชายคลั่งเซ็กส์ "แอน JKN" เครื่องเพศแทบพัง ทำหมดไป 50 ล้าน เล่นซะจุกเจียนตาย !! (มีคลิป)

เมื่อวันที่ 4 ก.พ. ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย พร้อมด้วยคณะของสูตินรีแพทย์ เดินทางมายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้ใช้อำนาจตาม ม.231 ของรัฐธรรมนูญในการเสนอเรื่องพร้อมความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย กรณีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่... พ.ศ... ม.301 ม.305(4) และ ม.305(5) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 2560 ม.26 ประกอบ ม.4 และ ม.77 วรรคสอง หรือไม่ ทั้งนี้หากนำกฎหมายดังกล่าที่ผ่านความเห็นของ ส.ส. และ ส.ว.แล้วมาบังคับใช้ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจำต้องปฏิบัติงานเพื่อยุติชีวิตทารกที่มีขนาดใหญ่ ที่มีอวัยวะภายในและภายนอกครบถ้วนแล้ว แม้ในทางกฎหมายจะยังไม่ถือว่ามี “สภาพบุคคล” แต่ในทางการแพทย์ตามศัพภวิทยา (Embryology) ระบุว่า “เด็กอายุครรภ์ 3 เดือนหรือ 12 สัปดาห์นั้น มีอวัยวะต่าง ๆ ครบถ้วนแล้ว มีอวัยวะเพศชัดเจน มีหัวใจเต้นเร็ว มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย เนื่องจากระบบประสาททำงานแล้ว มิใช่เป็นเพียงก้อนเลือดอย่างที่หลายคนอาจเข้าใจ การทำแท้งทารถที่มีอายุครรภ์ดังกล่าว จึงชัดเจนว่าเป็นการทำลายมนุษย์ ซึ่งอาจเป็นบาดแผลในจิตใจของแพทย์ผู้กระทำและมารดาไปตลอดชีวิต ซึ่งแทพย์ทุกคนมีหน้าที่สำคัญในการธำรงไว้ซึ่งจริยธรรมทางวิชาชีพเวชกรรมซึ่งเป็นมโนธรรมชั้นสูง” อีกทั้ง ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ยึดมั่นในศีล 5 ข้อเป็นหลักนำทางชีวิต และข้อที่หนักและสำคัญที่สุดคือ ศีล ข้อที่หนึ่ง เรื่องฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หากละเมิด ย่อมมีรู้สึกขัดแย้งภายใน ความเชื่อทางศาสนา ศีลธรรม บาปบุญ ต่อตัวเองและครอบครัว เป็นปัจเจกบุคคล จะล้มล้างไม่ได้

นายศรีสุวรรณ กล่าวต่อว่า ร่างกฎหมายดังกล่าว หากนำมาประกาศบังคับใช้ จะกระทบต่อมโนธรรมชั้นสูงของแพทย์ และจะสร้างบาดแผลในจิตใจของแพทย์ผู้กระทำและมารดาของทารกไปตลอดชีวิต ซึ่งชัดเจนว่าจะเป็นการเหยียบย่ำศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะสูตินรีแพทย์ประกอบวิชาชีพเวชกรรมส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาพุทธ ยึดมั่นในศีล 5 ข้อเป็นหลักนำทางชีวิต และข้อที่หนักและสำคัญที่สุดคือ ศีล ข้อที่หนึ่ง เรื่องฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หากละเมิด ย่อมมีรู้สึกขัดแย้งภายใน ความเชื่อทางศาสนา ศีลธรรม บาปบุญ ต่อตัวเองและครอบครัว เป็นปัจเจกบุคคล จะล้มล้างไม่ได้ จึงเป็น(ร่าง)กฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อ ม.26 ประกอบ ม.4 ของรัฐธรรมนูญ 2560 โดยตรง นั่นเอง