“น้ำลุ่มเจ้าพระยา” น่าห่วง! ขอใช้น้ำอย่างประหยัด (คลิป)

2021-01-29 11:55:40

“น้ำลุ่มเจ้าพระยา” น่าห่วง! ขอใช้น้ำอย่างประหยัด (คลิป)

Advertisement

สำนักงานชลประทานที่ 12 เผยสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ขอใช้น้ำอย่างประหยัด

นายกฤษฎา ศรีเพิ่มพันธ์ ผอ.สำนักงานชลประทานที่ 12 เปิดเผยว่า ในปัจจุบันฤดูแล้งปีนี้ เมื่อสิ้นฤดูฝนเมื่อวันที่ 1 พ.ย.63 ที่ผ่านมาก็มีปริมาณน้ำน้อยใกล้เคียงกับเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา จากสถิติจะเห็นได้ว่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของประเทศ เมื่อปี 2563 มีเพียง 5,771 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าจากเมื่อปี 2562 ซึ่งมีปริมาณน้ำอยู่ที่ 5,377 ล้านลูกบาศก์เมตร จะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำ ปี 2562 และปี 2563 มีปริมาณใกล้เคียงกัน ซึ่งทางกรมชลประทานได้มีการวางแผนจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2563/64 โดยแบ่งการบริหารจัดการน้ำเป็น 2 ช่วง เพื่อใช้ในด้านการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ และจะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำของ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา ขณะนี้มีน้ำใช้การรวมกันเพียง 4,425 ล้านลูกบาศก์เมตร

“อีสาน-กลาง-ตะวันออก” อากาศเย็น อุณหภูมิลด 1-4 องศา

รวบ! หนุ่มเปิดเฟซบุ๊ก-ไลน์ นัดวัยรุ่นแข่งรถ ถ.พระราม 2

สวีเดนแบน ‘เพาะพันธุ์ตัวมิงค์’ หวั่นก่อเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์


สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน ได้มีการส่งน้ำในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา โดยปริมาณน้ำที่ส่งมาถึง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 164 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยมีการระบายน้ำลงท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อยู่ที่ 80 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมีการระบายน้ำเข้าสู้ระบบชลประทานทั้งฝั่งตะวันตก และตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยารวมกันอยู่ที่ 45 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อใช้ในเรื่องของการผลิตน้ำประปา และรักษาระบบนิเวศ




ด้าน การเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยแล้งในปีนี้ ทางสำนักงานชลประทานที่ 12 โดยกรมชลประทาน ได้มีการรับมือติดตามสถานการณ์น้ำมาอย่างตลอด เพื่อบริหารจัดการน้ำให้กับประชาชนผู้ใช้น้ำ ซึ่งทางสำนักงานชลประทานที่ 12 ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกร รวมไปถึงผู้ใช้น้ำต่างๆ ได้รับรู้รับทราบ สำหรับในพื้นที่ที่ปลูกข้าวนาปี ทางสำนักงานชลประทานที่12 ก็ได้บริหารจัดงานน้ำ จนเกษตรกรนั้นสามารถทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ส่วนพืชสวนต่างๆจากประสบการภัยแล้งปีที่ผ่านๆมา เกษตรกรก็ได้เตรียมการ หาน้ำต้นทุนสำหรับตนเองไว้ใช้

ท้ายที่สุดฝากถึงประชาชน รวมไปถึงเกษตรกรผู้ใช้น้ำ ขณะนี้ได้ผ่านฤดูแล้งมาได้ครึ่งทางแล้ว ประมาณ3 เดือน ฝากให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอดทนรออีก 2-3เดือน ให้เข้าฤดูฝนปกติเราถึงจะได้ทำนาได้อย่างปกติซึ่งจากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าปีนี้ฝนจะไม่เกิดการทิ้งช่วง อย่างไรก็ตามต้องขอความร่วมมือกับประชาชน และเกษตรกรผู้ใช้น้ำในช่วงนี้ก็ขอให้ใช้น้ำกันอย่างประหยัดไปก่อน