"ซิฟิลิส" อันตรายจากการทำรักด้วยปาก

2021-07-12 09:24:15

"ซิฟิลิส" อันตรายจากการทำรักด้วยปาก

Advertisement

"ซิฟิลิส" อันตรายจากการทำรักด้วยปาก

ทำรักด้วยปากหรือ Oral sex นิยมกันมากขึ้น ซึ่งข้อดีก็คือไม่สามารถทำให้ตั้งครรภ์ได้ อีกทั้งมีกลุ่มคนไม่น้อยที่พึงพอใจกับออรัลเซ็กซ์มากกว่าการมีเพศสัมพันธ์จริง ๆ เสียอีก แต่ก็มีข้อเสียที่อาจติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ หากไม่ป้องกันอย่างถูกวิธี หนึ่งในนั้นคือซิฟิลิสโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อันตรายถึงชีวิต วันนี้รามาแชนแนลจะพาหนุ่ม ๆ สาว ๆ รู้จักและป้องกันโรคนี้เพื่อมีเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง ไม่ต้องกังวลโรคติดต่อ

ซิฟิลิส (syphilis) คืออะไร

ซิฟิลิส (syphilis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม หรือ Treponema Pallidum เชื้อแบคทีเรียนี้จะอยู่ในเลือดและสารคัดหลั่งต่าง ๆ จากร่างกาย รวมถึงในน้ำลายด้วย สามารถติดต่อด้วยการสัมผัสกับสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น การจูบ มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ใส่ถุงยางอนามัย และรวมถึงการทำออรัลเซ็กซ์ ก็จะทำให้ติดเชื้อได้ หากพบเชื้อตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ปล่อยไว้ไม่รักษาจนถึงอาการระยะสุดท้าย เชื้อจะลุกลามไปยังระบบหัวใจและหลอดเลือดหากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อาจอันตรายถึงชีวิตได้

โรคซิฟิลิสระยะที่ 1 (primary syphilis)

อาการที่จะแสดงในระยะแรกคือเกิดแผลริมแข็งเล็ก ๆ ที่อวัยวะเพศหรือทวารหนัก ผู้ป่วยอาจไม่ทันได้สังเกตหรือไม่รู้ตัว เนื่องแผลที่เกิดขึ้นไม่มีอาการเจ็บปวด

โรคซิฟิลิสระยะที่ 2 (secondary syphilis)

เป็นระยะที่เกิดผื่นขึ้นมาตามตัว ฝ่ามือ และฝ่าเท้า หรือบางครั้งอาจเกิดแผลนูนด้วย

โรคซิฟิลิสระยะแฝง (latent stage)

ซิฟิลิสระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการที่บ่งบอกว่าเป็นซิฟิลิสเลย ซึ่งอาจเป็นระยะที่แพร่เชื้อได้มากที่สุด

โรคซิฟิลิสระยะที่ 3 (tertiary stage)

เชื้อจะลุกลามไปยังระบบหัวใจและหลอดเลือด สุดท้ายจะลามไประบบประสาท ซึ่งถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อาจอันตรายถึงชีวิตได้

ป้องกันเชื้อซิฟิลิสได้อย่างไร ?

การป้องกัน มีอย่างเดียวคือ condom condom condom ! หรือถุงยางอนามัยนั่นเองถึงเรียกว่าปลอดภัยแต่สิ่งที่สำคัญคือ ต้องใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่ถ้าหากไม่ชอบรสชาติถุงยางอนามัย แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยที่มีกลิ่นรสที่ชื่นชอบ แต่ไม่แนะนำถุงยางอนามัยที่มีปุ่ม มีหนาม เพราะจะทำให้ปากเป็นแผลได้นะครับ

ผศ. นพ.คมกฤช เอี่ยมจิรกุล สาขาวิชาอนามัยการเจริญพันธุ์

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล