"หมอหม่อง"อธิบายกรณี "คริสเตียน เอริคเซน" นักฟุตบอลหัวใจหยุดเต้น

2021-06-13 12:30:00

"หมอหม่อง"อธิบายกรณี "คริสเตียน เอริคเซน" นักฟุตบอลหัวใจหยุดเต้น

Advertisement

"หมอหม่อง"อธิบายกรณี "คริสเตียน เอริคเซน" นักฟุตบอลชาวเดนมาร์กหัวใจหยุดเต้นขณะแข่งฟุตบอลยูโร ชี้พบได้   1-2 ในแสนราย สาเหตุอาจเกิดจากโรคหัวใจที่พยาธิสภาพชัดเจน หรืออาจไม่พบความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจที่ชัดเจน

เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. อ.นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือ "หมอหม่อง" อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ หน่วยวิชาระบบหัวใจและหลอดเลือด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โพสต์ข้อความผ่านเพจ  Rungsrit Kanjanavanit  ระบุว่า  ข่าว คริสเตียน เอริคเซน (Christian Eriksen)  นักฟุตบอลชาวเดนมาร์กที่หัวใจหยุดเต้นขณะกำลังแข่งฟุตบอลยูโรเมื่อคืนนี้ ช็อกแฟนบอลและอีกหลายๆคนทั่วโลก คำถามที่หลายคนคงอยากทราบคือมันเกิดอะไรขึ้น คนที่ดูแข็งแรงเป็นนักกีฬาทำไมอยู่ดีๆหัวใจหยุดเต้นได้ ภาวะหัวใจหยุดเต้นจนเสียชีวิตกระทันหันในนักกีฬาพบได้ราว 1-2 ในแสนราย สาเหตุเป็นได้ตั้งแต่ โรคหัวใจที่พยาธิสภาพชัดเจน (structural heart disease)และจากสาเหตุที่ ไม่พบความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจที่ชัดเจน (non structural heart disease)

โดยทั่วไป โรคหัวใจที่มีพยาธิสภาพชัดเจน เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา Hypertrophic cardio myopathy โรคหัวใจโต Dilated cardiomyopathy โรคลิ้นหัวใจพิการ valvular heart disease นักกีฬาอาชีพเหล่านี้จะมีการ screen หาอย่างดีแล้วไม่น่าพลาด แต่อาจมีพยาธิสภาพบางอย่างที่ตรวจหายากต้องใช้การตรวจพิเศษเฉพาะ ได้แก่ โรคความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ เช่น Anomalous coronary artery disease  โรคทางเดินหลอดเลือดหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ไปเดินลอดระหว่าง หลอดเลือดใหญ่ 2 เส้น (pulmonary artery / aorta) ทำให้โดนบีบรัดเวลาออกแรง หรือในนักกีฬาที่เริ่มมีอายุ ก็อาจมีโรคผนังหลอดเลือดหัวใจแข็ง atherosclerosis ถ้ามีปัจจัยเสี่ยง อย่างไขมันในเลือดสูง แต่นอกจากโรคที่สามารถตรวจพบความผิดปกติทางโครงสร้างหัวใจเหล่านี้ ยังมีโรคที่เป็นความผิดปกติทางระบบไฟฟ้า ซึ่งไม่อาจตรวจพบโดยการใช้วิธีตรวจทั่วไปอย่าง ตรวจ echo CT หรือ MRI ได้ เช่น โรคไหลตาย Brugada syndrome Long QT syndrome  Catecholaminergic polymorphic VT WPW syndrome  หรือความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย เช่น potassium magnesium ในเลือดต่ำมากๆ

นอกจากนี้ยังมีภาวะ Commotio cordis ซึ่งเกิดจากการกระทบกระแทกบนทรวงอกอย่างรุนแรงทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในหัวใจ ภาวะนี้พบได้ในนักกีฬาอายุน้อยๆ เมื่อคืนตอนเกิดเหตุไม่เห็นว่า Erickson โดนกระแทกหน้าอกอย่างรุนแรง) แม้เป็นเหตุการที่เกิดไม่บ่อย แต่มันจะ เป็นความสูญเสียที่ไม่ควรเกิดขึ้น ท่ามกลางคนดูนับหมื่น การเตรียมพร้อมของสนามแข่งในการช่วยฟื้นคืนชีพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด จะต้องมีบุคลากรซึ่งมีความรู้ความสามารถในการทำ CPR และมีเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ AED เตรียมพร้อมเสมอ ผมไม่ได้ดูถ่ายทอดสดเมื่อคืน แต่ตามข่าวเห็นว่า Eriksen ได้รับการทำ CPR (และ defibrillation ?) ทันทีบนสนามเห็นภาพเพื่อนร่วมทีม ยืนล้อมวง ทีมแพทย์ที่กำลังช่วยเหลือ ไม่ให้ภาพ Eriksen ที่อยู่ในสภาพสิ้นสติปรากฎต่อสายตาคนทั้งโลก ตามข่าวทราบว่า Eriksen ตื่นรู้ตัวแล้วและขอให้เพื่อนแข่งต่อในครึ่งหลังเพื่อเดนมาร์ก  ผมขอชื่นชม การตอบสนองต่อวิกฤตครั้งนี้ของทุกๆคนที่เกี่ยวข้องครับ เพื่อป้องกันการสูญเสียชีวิตของนักกีฬา ที่ให้ความสุขกับคนดูและคนรักของเขา

ขอบคุณเพจ  Rungsrit Kanjanavanit