นายกฯออกข้อกำหนดแบ่งพื้นที่คุมโควิด 3 ระดับ

2021-05-15 20:15:56

นายกฯออกข้อกำหนดแบ่งพื้นที่คุมโควิด 3 ระดับ

Advertisement

นายกรัฐมนตรีลงนามข้อกำหนดฉบับที่ 23 แบ่งพื้นที่สถานการณ์ 3 ระดับ "พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด" 4 จังหวัด ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านไม่เกินเวลา 21.00 น.จำกัดจำนวนผู้นั่งบริโภคในร้านได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนที่นั่งปกติ มีผลตั้งแต่ 17 พ.ค.เป็นต้นไป

“กระแต” นุ่งวันพีซหนังจระเข้แหวก-เว้าสุดติ่ง อวดหุ่นเป๊ะ-บั้นท้ายเด้ง

ลืมความแบ๊ว “ลุลา” ปลดกางเกงโชว์บั้นท้าย ปล่อยความแซ่บในวัย 40

รวมเลขเด็ด 10 สำนัก งวดวันที่ 16 พ.ค.2564

เมื่อวันที่ 15 พ.ค.  เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา  เผยแพร่ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9  แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน  พ.ศ. 2548 
(ฉบับที่ 23)
ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่า โดยที่สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกเดือนเม.ย. 2564 
ได้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้สัมผัสผู้ป่วยยืนยันต่อเนื่องจากกลุ่มการแพร่ระบาดในสถานบันเทิง การเดินทางจากพื้นที่เสี่ยง และการติดเชื้อต่อเนื่องจากสถานที่เฉพาะกลุ่ม เช่น ชุมชนแออัด โรงงาน สถานที่พักของแรงงานต่างด้าว หรือตลาด ส่งผลให้มีจำนวน ผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้ป่วยสะสมเพิ่มขึ้น และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากอันส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนโดยรวม ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้กำหนดมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดมาแล้วระยะหนึ่งอันเป็นกรณีที่ไม่อาจหลีกเสี่ยงได้เพื่อให้สถานการณ์แพร่ระบาดคลี่คลายโดยเร็ว จากการประเมินสถานการณ์คาดว่าแม้การระบาดจะยังคงมีอยู่อีกระยะหนึ่ง แต่จากการที่รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการตรวจคัดกรองเชิงรุกเพิ่มขึ้นประกอบกับการเร่งรัดดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน ซึ่งหากได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วนจะช่วยให้สถานการณ์มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ จึงสมควรผ่อนคลายมาตรการควบคุมบางกรณีเพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนเกินสมควร โดยกำหนดมาตรการควบคุมที่จำเป็นตามระดับของพื้นที่สถานการณ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ในปัจจุบัน เพื่อให้การดำเนินชีวิตของประชาชนและการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับมาตรการด้านสาธารณสุข

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9  แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติขึ้นไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ข้อปฏิบัติในการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าอย่างถูกวิธีตามข้อแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข เมื่ออยู่นอกเคหสถานหรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะยังคงเป็นข้อปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่หรือรับเชื้อ

ข้อ 2 การกำหนดพื้นที่สถานการณ์ ปรับระดับการกำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์ เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์ ดังนี้

(1) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้พื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ รวม 4 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

(2) พื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้พื้นที่จังหวัด รวม 17  จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ประกอบด้วย กาญจนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ตาก นครปฐม นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ยะลา ระนอง ระยอง ราชบุรี สมุทรสาคร สงขลา และสุราษฎร์ธานี

(3) พื้นที่ควบคุม ให้พื้นที่จังหวัด รวม 56 จังหวัดที่เหลือเป็นพื้นที่ควบคุม


ข้อ 3 มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน สำหรับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรม เพื่อให้สามารถปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลาการจัดระบบและระเบียบ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด

(1) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

ก. ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกินเวลา 21.00 น.โดยจำกัดจำนวนผู้นั่งบริโภคในร้านได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนที่นั่งปกติ ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน และให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในลักษณะ ของการนำไปบริโภคที่อื่นได้จนถึงเวลา 23.00 น. ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบการจัดให้มีมาตรการคัดกรองผู้เกี่ยวข้อง การจัดระเบียบผู้ข้าใช้บริการ และการเว้นระยะห่างตามคำแนะนำและมาตรการที่ทางราชการกำหนด

ข. โรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภท ให้งดใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่ายทำให้เสี่ยงต่อการแพรโรค เว้นแต่เป็นกรณีที่กำหนดไว้ในข้อ 1 แห่งข้อกำหนด (ฉบับที่ 20) ลงวันที่  16 เม.ย.2564

(2) พื้นที่ควบคุมสูงสุด

ก. ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกิน เวลา23.00 น. โดยห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน ทั้งนี้ให้ผู้ประกอบการจัดให้มีมาตรการคัดกรองผู้เกี่ยวข้อง การจัดระเบียบผู้เข้าใช้บริการ และการเว้นระยะห่างตามคำแนะนำและมาตรการที่ทางราชการกำหนด

ข. โรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภท ให้สามารถใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากได้โดยให้พิจารณาตามความจำเป็น และดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณีกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่จัดกิจกรรมและสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ

(3) พื้นที่ควบคุม

ก. ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้ภายในกำหนดเวลาปติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน

ข. โรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภท ให้สามารถใช้อาคารสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ได้ตามความเหมาะสมและความพร้อม โดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของทางราชการและมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี

ข้อ 4 แนวทางการปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ การปฏิบัติหรือการดำเนินการของบุคคล สถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและระเบียบ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ในกรณีที่พบผู้ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ว่ากล่าวตักเตือนและสั่งให้ผู้นั้นปฏิบัติให้ถูกต้องถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามให้ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

ข้อ 5 การเร่งรัดการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค เพื่อบริหารจัดการสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่กำหนดเป็นวาระแห่งชาติปรากฎผลเป็นรูปธรรมและประชาชนได้รับประโยชน์โดยเร็ว ให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) ปฏิบัติการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเร่งรัดเตรียมความพร้อมและบูรณาการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนภารกิจในการกระจายและแจกจ่ายวัคซีน การลงทะเบียนรับวัคซีน การฉีดวัคซีน รวมทั้งการอื่นใดที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างรวดร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนให้เข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อมุ่งลดจำนวนผู้ป่วยและให้เกิดภูมิคุ้มกันหมูในประเทศต่อไป โดยให้รายงานแผนการปฏิบัติงานและผลการดำเนินงานดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรีเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง

ข้อ 6 การป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรค รัฐบาลคงเน้นย้ำเจตจำนงที่เด็ดขาดในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามบุคคลใดก็ตามที่มีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องกับการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรค เช่น การมีส่วนร่วมกับขบวนการลักลอบเข้าเมือง โดยมิได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบ กรคัดกรองโรค และการกักกันตัวตามมาตรการทางสาธารณสุข ซึ่งเป็นต้นตอของการเป็นพาหะของโรคโควิด - 19 ชนิดกลายพันธุ์จากภายนอกราชอาณาจักร และการเปิดบ่อนการพนันขึ้นในพื้นที่ต่าง 1 ซึ่งเป็นต้นตอของการระบาดของโรคแบบกลุ่มก้อนจนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง และพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ประสานการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดและเพิ่มความเข้มงวดในการปฏิบัติการกวดขันสอดส่องและเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายรวมถึงการเปิดให้มีการมั่วสุมลักลอบเล่นการพนัน และให้ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายเพื่อปราบปรามต่อไป

ข้อ 7 การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาดำเนินมาตรการขั้นสูงสุดเพื่อลดจำนวนการเดินทางของเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่อยู่ในความรับผิดชอบเพื่อป้องกันและลดโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อเป็นระยะเวลาต่อเนื่องออกไปอีกอย่างน้อยสิบสี่วัน ซึ่งอาจสั่งการให้ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งการลดจำนวนบุคคลที่ประจำอยู่สถานที่ตั้ง การสลับวันทำงาน หรือวิธีการอื่นใดตามความเหมาะสมโดยพิจารณาให้เพียงพอต่อภารกิจในการให้บริการประชาชน

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค.2564 เป็นต้นไป