"อารยะขัดขืน" กระแสต่อต้านยึดอำนาจในเมียนมา

2021-02-03 07:40:26

"อารยะขัดขืน" กระแสต่อต้านยึดอำนาจในเมียนมา

Advertisement


กระแสต่อต้านการก่อรัฐประหารยึดอำนาจของกองทัพในเมียนมาเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งประชาชนในกรุงย่างกุ้น เมืองใหญ่สุดของประเทศ พากันตีหม้อและกระทะ พร้อมทั้งบีบแตรรถยนต์เป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้าน เจ้าหน้าที่แพทย์ในหลายเมืองใหญ่เตรียมผละงานประท้วง ขณะที่บรรดานักเคลื่อนไหวก็เรียกร้องให้ประชาชนแสดงการประท้วงด้วยวิธี “อายระขัดขืน” อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดูเหมือนกองทัพควบคุมได้อย่างเบ็ดเสร็จแล้ว

นอกจากนี้ ยังมีกระแสเรียกร้องให้ปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่มีใครได้พบเธอตั้งแต่ถูกควบคุมตัว และยังมีนักการเมืองอื่น ๆ อีกกว่า 100 คนถูกกองทัพควบคุมตัวอยู่ในพื้นที่ของกองทัพในกรุงเนปิดอว์ แต่ขณะนี้มีรายงานว่า พวกเขาได้รับการปล่อยตัวแล้ว



กองทัพยึดอำนาจในช่วงเช้าวันจันทร์ และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนาน 1 ปี หลังกล่าวหาพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือเอ็นแอลดี ของนางซู จี โกงเลือกตั้ง เมื่อพรรคเอ็นแอลดีชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย

พรรคเอ็นแอลดีเรียกร้องให้ปล่อยตัวเธอทันที และยังเรียกร้องให้กองทัพยอมรับผลการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว ซึ่งพรรคเอ็นแอลดีได้คะแนนมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม กองทัพได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งใหม่และผู้บัญชาการตำรวจคนใหม่ ซึ่งคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งชุดก่อนเคยปฏิเสธ ไม่พบหลักฐานโกงเลือกตั้ง



เมียนมา หรือที่รู้จักกันในชื่อพม่า ด้วย ปกครองโดยกองทัพมาจนถึงปี พ.ศ.2554 ซึ่งเป็นปีที่รัฐบาลพลเรือนสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ

ประเทศตกอยู่ในความสงบหลังรัฐประหาร โดยมีทหารลาดตระเวนในเมืองใหญ่ทุกแห่ง และมีการบังคับใช้เคอร์ฟิวในเวลากลางคืน ระบบการสื่อสารที่ถูกคณะรัฐประหารตัดขาด ก็กลับมาใช้ได้ตามปกติในช่วงเช้าวันอังคาร แต่พอตกกลางคืนวันอังคาร ประชาชนบีบแตรรถ, เคาะหม้อและกระทะสามารถได้ยินตามท้องถนนในกรุงย่างกุ้ง ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วง ขณะเดียวกัน กลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษา ก็เรียกร้องให้แสดงอารยะขัดขืน และหน้าเฟชบุ๊กที่รณรงค์เรื่องนี้ ถูกกดไลค์มากถึง 100,000 ครั้ง

ด้านแพทย์ ซึ่งทำงานในโรงพยาบาลของรัฐ กล่าวว่า พวกเขาจะหยุดงานในวันนี้ (พุธ) เพื่อกดดันให้ปล่อยตัวนางซู จี มีบุคลากรทางการแพทย์บางส่วนกำลังหันไปใส่สัญลักษณ์ในการประท้วงเงียบด้วย มีแพทย์อย่างน้อย 1 คนลาออก เพื่อเป็นการประท้วง โดยบอกว่า การก่อรัฐประหารเช่นนี้ ไม่สามารถที่จะทนต่อไปได้แล้ว

นายแพทย์ เนียง ฮะตู อ่อง แพทย์วิสัญญีวิทยาวัย 47 ปี ที่โรงพยาบาลมองยวา ในภูมิภาคซะไกง์ กล่าวกับบีบีซี เมียนมาว่า เขาลาออก เพราะไม่สามารถทำงานภายใต้เผด็จการทหาร ซึ่งไม่ได้ดูแลประเทศและประชาชน นี้เป็นวิธีการตอบโต้ที่ดีที่สุดที่สามารถให้กับพวกเขาได้ ส่วนเมียว เทต อู่ แพทย์อีกคนที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ กล่าวกับรอยเตอร์ว่า เราไม่สามารถยอมรับเผด็จการและรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งได้ พวกเขาสามารถจับกุมพวกเราได้ทุกเวลา พวกเราจึงตัดสินใจเผชิญหน้า ทุกคนตัดสินใจแล้วว่าจะไม่ไปโรงพยาบาล



กองทัพได้มอบอำนาจให้พลเอกมินอ่องหล่าย ผู้บัญชาการสูงสุด รัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วย 11 คน ซึ่งรวมทั้งกระทรวงการคลัง, สาธารณสุข, มหาดไทยและต่างประเทศ ถูกปรับเปลี่ยน ซึ่งในการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรกในวันอังคาร พลเองมินอ่องลาย ย้ำว่า การยึดอำนาจครั้งนี้ “หลีกเลี่ยงไม่ได้” หลังกองทัพกล่าวหามีการโกงเลือกตั้ง

ยังไม่มีแถลงการณ์อย่างเป็นทางการว่านางซู จี ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ไหนตั้งแต่ถูกจับตัวในการบุกจู่โจมเช้าวันจันทร์ แต่แหล่งข่าวไม่เปิดเผยชื่อจากพรรคเอ็นแอลดี กล่าววา ทั้งเธอและประธานาธิบดีวินมยินต์ ถูกกักบริเวณไว้ในบ้านพัก