ภาวะนอนกรน-หยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในเด็ก

2021-01-12 11:00:06

ภาวะนอนกรน-หยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในเด็ก

Advertisement

ภาวะนอนกรน-หยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในเด็ก

นอนกรนเป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็ก ในต่างประเทศพบความชุกของการนอนกรนเป็นประจำร้อยละ 2.4-17.1 และความชุกของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในเด็ก ร้อยละ 1.2-5.7 ข้อมูลในเด็กไทยพบความชุกของอาการนอนกรนเป็นประจำ และภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในเด็ก ร้อยละ 6.9-8.5 และร้อยละ 0.7-1.3 ตามลำดับ

สธ.พบกรณีโรงเบียร์ศรีราชาติดโควิดแล้ว 52 ราย

โฆษก ทร.ยอมรับกำลังพลเรือหลวงจักรีนฤเบศรติดโควิด 2 นาย

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น คือ ภาวะที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น ที่เกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ในขณะนอนหลับ ทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจนในเลือด และเกิดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือด ซึ่งมีผลทำให้คุณภาพของการนอนหลับลดลง

ประวัติและการตรวจร่างกายที่พบในภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในเด็ก

ประวัติที่พบในภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในเด็ก ได้แก่ นอนกรนบ่อยมากกว่า 3 คืนต่อสัปดาห์ หายใจแรงกว่าปกติในขณะนอนหลับ มีหยุดหายใจแล้วตามด้วยเสียงหายใจดังเฮือก ปัสสาวะรดที่นอน นอนในท่านั่งหลับหรือแหงนคอขึ้น ริมฝีปากเขียว ปวดศีรษะตอนตื่นนอนผล็อยหลับ หรือง่วงเวลากลางวัน มีปัญหาการเรียนและพฤติกรรม เช่น ซุกซนผิดปกติ หรือสมาธิสั้น ก้าวร้าว 

การตรวจร่างกายที่พบในภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในเด็ก ได้แก่ น้ำหนักน้อย หรืออ้วนกว่าเกณฑ์ ต่อมทอลซิลโต คางเล็กหรือร่นหลัง เพดานปากโค้งสูงหรือโหว่ การเจริญเติบโตช้ากว่าเกณฑ์ ความดันโลหิตสูง อาการแสดงหัวใจด้านขวาล้มเหลว 

ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในเด็ก 

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในเด็ก หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้หลายระบบ ได้แก่ 

1. ระบบประสาทและพฤติกรรมโดยแบ่งความผิดปกติเป็น 2 กลุ่มหลัก คือกลุ่มพฤติกรรมผิดปกติซึ่งส่วนใหญ่จะแสดงออกเป็นการซนมากผิดปกติ บางครั้งมีปัญหาเรื่องความตั้งใจในการทำงานจนเข้าข่ายโรค ซนสมาธิสั้น หรืออาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว หรือหลับมากผิดปกติในช่วงกลางวัน 

2. ระบบหัวใจและหลอดเลือดได้แก่ การควบคุมความดันโลหิตผิดปกติ ความดันโลหิตสูง หัวใจห้องซ้ายหนาตัวขึ้น และหากอาการรุนแรงมีภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้มีความดันเลือดในปอดสูง หัวใจห้องขวาทำงานผิดปกติ และหัวใจวายในที่สุด 

3. ระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ปัญหาโรคอ้วน การสะสมไขมันที่ผิดปกติ เป็นต้น

พญ. อัญชนา ทองแย้ม อาจารย์พิเศษประจำศูนย์โรคการนอนหลับ

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล