การพัฒนาอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมมากขึ้นในยุคหลังโควิด-19

2020-11-03 14:33:06

การพัฒนาอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมมากขึ้นในยุคหลังโควิด-19

Advertisement

บทความพิเศษเรื่อง “การพัฒนาอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมมากขึ้นในยุคหลังโควิด-19”
โดย ซีซาร์ เซงกุปตา รองประธานฝ่าย Payments และ Next Billion Users Initiative ของ Google

ระหว่างปี 2558 - 2563 มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ (New Internet User) มากกว่า 1.5 พันล้านคน และจะเพิ่มขึ้นอีกพันล้านคนภายในปี 2568




ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่เหล่านี้มาจากเอเชีย ลาตินอเมริกา และแอฟริกา ซึ่งประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตของพวกเขานั้นแตกต่างจากคนรุ่นก่อนๆ พวกเขาเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือและหัดใช้แอปและเครื่องมือใหม่ๆ ได้

อย่างรวดเร็วเหลือเชื่อ นับวันไอเดียและความต้องการของพวกเขาคือสิ่งที่กำหนดทิศทางในอนาคตของเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงบริการทางการเงินที่ครอบคลุม (Financial Inclusion) ไปจนถึงการแปลภาษา

ปัจจุบัน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่กำลังเผชิญกับความท้าทายที่หนักหนาที่สุดเท่าที่พวกเขาประสบมา นั่นก็คือผลกระทบจากโควิด-19 การช่วยเหลือให้พวกเขาผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ต้องอาศัยการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในระยะยาว เพื่อการ

ฟื้นตัวอย่างยั่งยืนและครอบคลุม

ครึ่งทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง



ไม่ต้องสงสัยเลยว่าอินเทอร์เน็ตในวันนี้นั้นสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นกว่าในปี 2558 ค่าบริการอินเทอร์เน็ตก็ถูกลงมาก ส่งผลให้ยอดผู้ใช้สมาร์ทโฟนทะลุสูงกว่า 3 พันล้านคน ในขณะที่สัดส่วนของผู้ใช้

อินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักคิดเป็น 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมดทั่วโลก และผู้คนทั่วโลกหันมาใช้วิดีโอและคำสั่งเสียงในการหาข้อมูลและบริการต่างๆ บนโลกออนไลน์กันมากขึ้น



สำหรับ Google การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ สำหรับกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ช่วยให้เราสร้างสิ่งที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน นับตั้งแต่การเปิดตัวโครงการ Next Billion Users เมื่อ 5 ปีที่แล้ว โครงการนี้ก็ได้นำไปสู่ความก้าวหน้า

หลายอย่างที่เราไม่เคยทำมาก่อน ตั้งแต่โหมดออฟไลน์ใน YouTube และ Google Maps ไปจนถึง AI ที่สามารถช่วยให้เด็กๆ อ่านได้หลายภาษา แอปที่ปกป้องความเป็นส่วนตัวบนอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน และประสบการณ์ผู้ใช้แบบใหม่ใน

Google Pay (เปิดตัวครั้งแรกในอินเดีย และจะทยอยให้บริการในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกเร็วๆ นี้) นอกจากนี้เรายังจะแบ่งปันเครื่องมือแบบโอเพนซอร์สและแนวทางต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เนื่องจากเราทราบดีว่าการสนับสนุนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

หน้าใหม่เป็นเป้าหมายร่วมกัน







ในช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเทคโนโลยีได้สร้างความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญในการลดช่องว่างด้านดิจิทัล ทำให้มีผู้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีจำนวนหลายล้านคนในแต่ละสัปดาห์ แต่ในขณะที่การแพร่ระบาดของโควิด-19

ทำให้เทคโนโลยีมีส่วนสำคัญมากขึ้นในชีวิต การงาน การศึกษา และสุขภาพของเรา แต่ก็ยังมีความเสี่ยงว่าความก้าวหน้านั้นจะชะลอตัวลง หรือแย่ไปกว่านั้นคือถอยกลับ

ผลกระทบจากโควิด-19




เราได้สอบถามผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ว่าโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อพวกเขาอย่างไรบ้าง และหลายคนบอกกับเราว่ามันทำให้พวกเขาต้องรับแรงกดดันมากขึ้น ในช่วงเวลาที่บริการที่สำคัญต่างๆ กำลังถูกย้ายเข้าสู่โลกออนไลน์มากขึ้น การเข้า

ถึงอินเทอร์เน็ตครั้งแรกของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ก็จะยากขึ้นเรื่อยๆ

การที่พวกเขาต้องประสบกับทั้งปัญหาเรื่องตำแหน่งงานที่ลดลง รายได้ที่น้อยกว่าเดิม และราคาสินค้าที่สูงขึ้น ทำให้พวกเขาต้องจำกัดการใช้อินเทอร์เน็ต ค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารและที่พักต้องมาก่อน และเมื่อสมาชิกในครอบครัวอยู่บ้านกันมาก

ขึ้น ก็มีการใช้อินเทอร์เน็ตพร้อมกันหลายๆ คน ทำให้อาจไม่เพียงพอต่อการใช้งาน

ยิ่งไปกว่านั้น การขาดความรู้ด้านดิจิทัลทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ต้องดิ้นรนในการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านการเงินจากภาครัฐ ทรัพยากรในชุมชน หรือการศึกษา และเมื่อพูดถึงโควิด-19 หลายๆ คนมีปัญหาในการแยกแยะระหว่างข้อมูล

ที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิด หรือการค้นหาบริการด้านสุขภาพที่เชื่อถือได้

ไม่น่าแปลกใจเลยที่ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ ทำให้ระบบสนับสนุนต้องสะดุด และทำให้พวกเขาต้องหยุดสิ่งต่างๆ ที่ต้องการทำเอาไว้ก่อน





การช่วยเหลือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ต่อจากนี้ไป ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา และระบบนิเวศ

การรับมือกับผลกระทบของโควิด-19 ด้วยการช่วยเหลือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ในระหว่างและหลังวิกฤตโควิด -19 เป็นสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ควรให้ความสำคัญ

ประการแรก เราต้องทำให้แน่ใจว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่มีเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและสามารถตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจที่เร่งด่วนของพวกเขาได้


เราตระหนักดีถึงความรับผิดชอบของเราในส่วนนี้ แอปต่างๆ เช่น Kormo Jobs ที่ให้บริการในบังกลาเทศ อินเดีย และอินโดนีเซีย ซึ่งช่วยให้ผู้คนเข้าถึงงานในระดับเริ่มต้น กำลังมีส่วนช่วยให้ผู้คนหางานทำได้ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเราจะ

ทำการทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่จาก Google ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ผ่านการระดมทุน เพราะเราตระหนักดีว่าการรักษารายได้คือสิ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก

ประการที่สอง เราต้องมุ่งเน้นเรื่องการศึกษาให้มากขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่เข้าใจข้อมูลและบริการออนไลน์ได้ดีขึ้น และปรับตัวเพื่อรับมือความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ เช่น การเปลี่ยนแปลงในภาคการศึกษาที่จะมีการปรับการ

เรียนการสอนให้เป็นรูปแบบออนไลน์กันมากขึ้น เป็นต้น

โครงการริเริ่มด้านการรู้หนังสือระดับรากหญ้าที่ไม่แสวงหาผลกำไร อย่างเช่นโครงการที่ Google.org ให้การสนับสนุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นก้าวสำคัญในทิศทางที่ถูกต้อง เช่นเดียวกับความร่วมมือของ Google News

Initiative ในลาตินอเมริกา และโครงการระดับโลกของ Grow with Google อย่าง Be Internet Awesome ที่ให้ความรู้กับเด็กๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ เพื่อให้พวกเขาออกไปท่องโลกออนไลน์ได้อย่างมั่นใจ ถือเป็นสิ่ง

สำคัญที่เราจะต้องพัฒนาโครงการเหล่านี้ขึ้นมาหลังจากการระบาดใหญ่

ประการที่สาม เราต้องพัฒนาระบบนิเวศที่ช่วยสนับสนุนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่อย่างต่อเนื่อง เราควรส่งเสริมให้ทุกองค์กรที่เป็นเจ้าของหรือเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลให้ความสำคัญกับการเข้าถึงอย่างครอบคลุม

บ่อยครั้งที่ความรับผิดชอบในการช่วยเหลือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ตกไปอยู่ที่ “ครูนอกห้องเรียน” ซึ่งก็คือเพื่อนและครอบครัวของพวกเขานั่นเอง โครงการริเริ่มอย่าง Design Toolkit for Digital Confidence แสดงให้เห็นว่าเราจะ

เปลี่ยนแปลงจุดนี้ได้อย่างไร ซึ่งเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ผู้พัฒนาเทคโนโลยีสร้างเครื่องมือที่ใช้งานได้ง่ายสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม

ประการสุดท้าย เราต้องสานต่อความมุ่งมั่นที่ทำให้ Google ริเริ่มโครงการ Next Billion Users ขึ้นมาในปี 2558 นั่นก็คือ การทำให้อินเทอร์เน็ตและเครื่องมือต่างๆ เป็นประโยชน์และเข้าถึงได้สำหรับผู้คนจำนวนมากขึ้น ครอบคลุมหลาก

หลายภาษามากขึ้น และสามารถใช้งานในรูปแบบต่างๆ ได้มากขึ้น (รวมถึงการรองรับการใช้งานของผู้พิการ) 

โควิด-19 เป็นความท้าทายสำหรับทุกคน แต่มันกำลังส่งผลกระทบต่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่หนักเป็นพิเศษ ทั้งนี้ หากภาครัฐ ภาคธุรกิจ และองค์กรภาคประชาสังคมร่วมมือกัน เราสามารถทำให้อินเทอร์เน็ตดีขึ้นและเข้าถึงได้ง่ายขึ้นในยุค

หลังโควิด-19 เพื่อให้เกิดประโยชน์สำหรับผู้ใช้นับพันล้านคนในปัจจุบัน รวมทั้งผู้ใช้รายใหม่อีกนับพันล้านคนที่กำลังจะตามมา