โพลชี้คนไทยไร้สภาพคล่องต้องพึ่ง"โรงจำนำ"

2020-06-26 13:20:07

โพลชี้คนไทยไร้สภาพคล่องต้องพึ่ง"โรงจำนำ"

Advertisement

"จุฬาฯ" จับมือ "ซูเปอร์โพล" ทำวิจัยศึกษา "คนไทย" พบไร้สภาพคล่อง ต้องพึ่ง"โรงจำนำ"

เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักวิจัยซูเปอร์โพล มหาวิทยาลัยมหิดล ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อตัวเลือก หรือทางออกของสภาพคล่องทางการเงินกว่า 1,200 ตัวอย่างครอบคลุมทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม ถึง 25 มิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อสำรวจพฤติกรรมการรับรู้ การเลือกใช้บริการ ตลอดจนทัศนคติต่อตัวเลือกหรือสภาพคล่องทางการเงินของประชาชน

ศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ ดำเนินการศึกษาความคิดเห็นประชาชนในตัวเลือก หรือทางออกของสภาพคล่องทางการเงินในช่วงที่สังคมไทยเผชิญสถานการณ์ไม่ปกติจากกรณีโควิด-19 การสำรวจเน้นประเด็นการรับรู้พฤติกรรมการเลือกใช้บริการ ตลอดจนทัศนคติต่อตัวเลือกหรือสภาพคล่องทางการเงิน ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจโดยการพัฒนาแบบสอบถามซึ่งอิงหลักคิดทางวิชาการด้านการประชาสัมพันธ์ และเน้นในมิติการวัดการรับรู้ผลการสื่อสารองค์กรและแบรนด์




โดยผลพลระบุว่า ที่น่าเป็นห่วง คือ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 65.5 หาสภาพคล่องจากเงินกู้ในระบบ รองลงมาร้อยละ 21.2 ต้องหาสภาพคล่องจากทั้งเงินกู้ในระบบ และนอกระบบ ขณะที่ร้อยละ 4.1 พึ่งพาเงินกู้นอกระบบอย่างเดียว และร้อยละ 9.2 ระบุอื่นๆ ที่น่าพิจารณา คือ เมื่อให้ระบุแหล่งเลือกใช้บริการเพื่อเป็นทางออกของสภาพคล่องทางการเงิน พบว่าอันดับที่ 1 เลือกใช้บริการโรงรับจำนำอีซี่ มันนี่ ร้อยละ 53.2, อันดับที่ 2 ยืมเพื่อนหรือญาติร้อยละ 46.1, อันดับที่ 3 ร้านทอง ร้อยละ 42.9, อันดับที่ 4 บัตรกดเงินสด ร้อยละ 28.4, อันดับที่ 5 โรงรับจำนำของรัฐ ร้อยละ 24.8ฐ อันดับที่ 6 บัตรเครดิตร้อยละ 22.2, อันดับที่ 7 สินเชื่อธนาคาร ร้อยละ 14.5, อันดับที่ 8 สินเชื่อส่วนบุคคล ร้อยละ 12.2, อันดับที่ 9 เล่นแชร์ ร้อยละ 9.9 และอันดับที่ 10 โรงรับจำนำสยาม ร้อยละ 8.5

ผลโพล ยังเปิดเผยอีกว่า กลุ่มที่ระบุว่ายังไม่เคยมีประสบการณ์กับปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน มองว่าหากต้องใช้บริการตัวเลือกหรือทางออกหรือสภาพคล่องทางการเงินจะเลือกใช้บริการอันดับแรก คือ อันดับที่ 1 ใช้บริการจากร้านทอง ร้อยละ 15.7 อันดับที่ 2 ยืมเพื่อน /ญาติ ร้อยละ 15.3 อันดับที่ 3 โรงรับจำนำ อีซี่มันนี่ ร้อยละ 15.2 อันดับที่ 4 โรงรับจำนำ Cash Express ร้อยละ 10.8 อันดับที่ 5 บัตรกดเงินสด ร้อยละ 10.3 อันดับที่ 6 บัตรเครดิต ร้อยละ 8.5 อันดับที่ 7 โรงรับจำนำของรัฐ (สถานธนานุเคราะห์) ร้อยละ 5.9 อันดับที่ 8 โรงรับจำนำ สถานธนานุบาล ร้อยละ 4.0 อันดับที่ 9 สินเชื่อธนาคาร ร้อยละ 3.6 และอันดับที่ 10 สินเชื่อส่วนบุคคล ร้อยละ 3.4



สาเหตุที่คนไทยจำนวนมากยังพึ่งพิงโรงรับจำนำเป็นหลัก สะท้อนมาในทัศนคติของของผู้บริโภคที่มีต่อโรงรับจำนำหรือทางออกของสภาพคล่องว่า อันดับ 1 ดอกเบี้ยถูกร้อยละ 68.5 อันดับ 2 ได้เงินเร็ว ร้อยละ 60.3 อันดับ 3 ทรัพย์สินไม่หาย ถ่ายของคืนได้ร้อยละ 40.5 อันดับ 4 เหมาะสำหรับต้องการเงินด่วนร้อยละ 38.5 อันดับ 5 ไม่ต้องมีคนค้ำประกันร้อยละ 35.9 อันดับ 6 ขั้นตอนง่ายใช้บัตรประชาชนใบเดียว ได้เงินเร็ว ร้อยละ 32.8 อันดับ 7 ไม่เสียเครดิตถ้าปล่อยของหลุด ร้อยละ 18.5 อันดับที่ 8 สามารถผ่อนชำระเป็นงวดๆ ได้ ร้อยละ 16 อันดับที่ 9 ระยะเวลาในการฝากนานร้อยละ 15.9 แม้จะยังมีความกังวลอยูบ้างว่า กลัวทรัพย์ถูกเปลี่ยน ร้อยละ 8.8 ที่อยู่ในอันดับที่ 10 ผลการสำรวจ ยังพบว่า เมื่อพูดถึงโรงรับจำนำแบรนด์ที่นึกถึงเป็นอันดับที่ 1 คือโรงรับจำนำอีซี่มันนี่ ร้อยละ 49.8 อันดับที่ 2 โรงรับจำนำของรัฐ (สถานธนานุเคราะห์) ร้อยละ 22.4 อันดับที่3 คือร้านทองและโรงรับจำนำ Cash Express ร้อยละ 8.2 อันดับที่ 4 สถานธนานุบาล ร้อยละ 5.5 อันดับที่ 5 โรงรับจำนำสยามร้อยละ 3.7

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้แบรนด์โรงรับจำนำ อันดับที่ 1 ดอกเบี้ยถูก ร้อยละ 63.8 อันดับที่ 2 ราคาเป็นธรรม มีมาตรฐาน ร้อยละ 60.8 อันดับที่ 3 ความน่าเชื่อถือโดยรวม ร้อยละ 41.1 อันดับที่ 4 เชื่อมั่นในการเก็บทรัพย์จำนำของลูกค้าร้อยละ 32.4 อันดับที่ 5 สถานที่สะอาดและทันสมัย ร้อยละ 29.3 อันดับที่ 6 วัน เวลาเปิดทำการสอดคล้องกับลูกค้าร้อยละ 26.9 อันดับที่ 7 มีจำนวนสาขาครอบคลุม ร้อยละ 19.3 อันดับที่ 8 สามารถรับจำนำทรัพย์ได้หลากหลาย ร้อยละ 15.4 อันดับที่ 10 มีทางเลือกในการขยายเวลาในการจำนำ ร้อยละ 13.1

ศาสตราจารย์ ดร. ปาริชาต สถาปิตานนท์ เปิดเผยว่า หากพิจารณาในมิติการสื่อสาร ประเด็นด้านการรับรู้ นับเป็นหัวใจสำคัญที่สะท้อน “ภาพจำฝังหัวผู้คน” โดยภาพของโรงรับจำนำ ร้านทอง หรือการหยิบยิมจากคนใกล้ชิด มักเป็น “ภาพจำ” ในคอนเทนต์ที่คนไทยพูดคุยหรือแนะนำกัน ในฐานะ “แหล่งพึ่งพิง” ยามที่ชีวิตต้องการทางออกแบบด่วนๆ คล่องตัว และเข้าถึงได้ง่าย โดยเฉพาะในยามที่บุคคลเผชิญกับปัญหาเฉพาะหน้าทางการเงิน นอกจากนี้ยังมองว่า “ภาพจำ” ดังกล่าว ยังได้รับ “การผลิตซ้ำ” จากสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เพื่อตอกย้ำฐานความเชื่อเกี่ยวกับแหล่งพึ่งพึงของผู้คน และกลายเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่สื่อมวลชนใช้เป็นดัชนีชี้วัดระดับสภาพคล่องทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่ผู้คนเผชิญกับความจำเป็นของชีวิตที่ต้องการทางออกแบบง่าย สะดวก และคล่องตัว ผนวกกับ การที่ธุรกิจโรงรับจำนำเอกชน และธุรกิจร้านทองยุคใหม่ได้ทำงานเชิงรุกในด้านการสร้างแบรนด์และการสร้างการรับรู้ (visibility) และการเข้าถึง (accessibility) ให้ผู้คนอย่างโดดเด่น อาทิ การจัดตั้งอยู่ในแหล่งที่เป็นแลนมาร์คของชุมชน การออกแบบหน้าร้านให้ดูโปร่งใส น่ามอง การใช้โทนสีที่โดดเด่นสะดุดตา หรือแม้แต่การตั้งชื่อให้เรียกขานได้ง่ายๆ ดูทันสมัย และตอบโจทย์ที่อยู่ในใจผู้คน



สำหรับการสำรวจในครั้งนี้ ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,200 กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, ปทุมธานี, อยุธยา, ชลบุรี, นครราชสีมา, ภูเก็ต และเชียงใหม่ โดยทำการสำรวจในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขณะที่กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกได้ดังนี้ อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 3. 7, อายุระหว่าง 50-59 ปี ร้อยละ 10.9, อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 25.2, อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 32.9, อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 24.9, อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 2.4, อาชีพประจำของกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามอันดับที่ 1 พนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 39.2, อันดับที่ 2 ธุรกิจส่วนตัว-ค้าขาย ร้อยละ 19.7, อันดับที่ 3 อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.3, อันดับที่ 4 พนักงานโรงงาน ร้อยละ 9.4 อันดับที่ 5 ข้าราชการ-ลูกจ้างของรัฐ-พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.3, อันดับที่ 5 พ่อบ้าน-แม่บ้าน-เกษียณ-ว่างงาน ร้อยละ 5.4, อันดับที่ 6 นักเรียน นักศึกษา ร้อยละ 4.5, อันดับที่ 7 อื่นๆ เช่น อาชีพอิสระ ร้อยละ 1.4 และอันดับ 8 เกษตรกร ร้อยละ 0.8