บทวิเคราะห์ จำนวนคนหายป่วยเพิ่มขึ้น แต่คนกรุงอายุ40ต้องระวัง

2020-04-01 14:00:08

บทวิเคราะห์ จำนวนคนหายป่วยเพิ่มขึ้น แต่คนกรุงอายุ40ต้องระวัง

Advertisement

รายงานสถานการณ์ โควิด-19 วันที่ 31 มี.ค.63 ยืนยันผู้ติดเชื้อเพิ่ม 127 คน ยอดสะสมจึงเพิ่มขึ้นเป็น 1,651 คน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ยอดรวมทั้งสิ้น 10 ราย ผู้ติดเชื้อที่รักษาหายแล้วเพิ่มขึ้น 215 คน รวมเป็น 342 คน ยังรักษาตัวในโรงพยาบาล 1,299 คน




ตัวเลขเหล่านี้ เห็นแล้ว คงรู้สึกแตกต่างกัน ต้องดูกราฟของกรมควบคุมโรคประกอบ


เส้นแสดงการเคลื่อนไหวรายวันของผู้ติดเชื้อสะสม ผู้ที่หายแล้ว ผู้ที่ยังรักษาตัวในโรงพยาบาล นับแต่วันที่ 2 มี.ค.63 กราฟเส้นสีดำ แสดงผู้เสียชีวิตมี 1 ราย จนถึงวันที่ 24 มี.ค.63 จึงเพิ่มเป็น 4 และยกตัวขึ้นถึง 10 ราย ในวันที่31 มี.ค.63




จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม เส้นสีชมพู ค่อยยกตัวสูงขึ้นจากระดับ 34 คน และชันขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31มี.ค.63 ขณะที่ผู้รักษาตัวในโรงพยาบาล เส้นสีเขียว ที่ยกตัวไล่ตามสีชมพู จนถึง 1,388 เมื่อวันที่ 30 มี.ค.63 และหักลงมาเป็น 1,299 ในวันรุ่งขึ้น 31มี.ค.


ทำนองเดียวกัน จำนวนผู้ได้รับการรักษาหายตัว เส้นสีเขียวเข้ม จากตัวเลขหลักสิบต่อเนือง จนถึงวันที่ 28 มี.ค.63 จึงถึงระดับ100 คน และถึง 342 คน ในวันที่31มี.ค.63 

 สถิติโดยรวมระบุว่าผู้ติดเชื้อ อายุเฉลี่ย 40 ปี มากที่สุด 84 และน้อยที่สุด 6 เดือน เพศชายมากกว่าเพศหญิง

กรุงเทพ มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุด 805 คนรองลงมาเป็นภูเก็ต 50 สมุทรปราการ 42 ชลบุรี 40 ปัตตานี 37 ยะลา 29 เชียงใหม่ 30

ทางด้านศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านวิจัยและวิชาการ (RKEOC) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) แจ้งสัดส่วนการติดเชื้อระหว่าง กรุงเทพฯกับต่างจังหวัด มีการเปลี่ยนแปลงจากวันวานเล็กน้อย โดยต่างจังหวัดจาก 53% เป็น52% กลับมาเพิ่มให้กับคนกรุง






เส้นกราฟของผู้ติดเชื้อใหม่ ลดลงเป็นวันที่ 2 จากระดับ 143 วันที่ 29 มี.ค.63 เป็น136 วันรุ่งขึ้น และถัดมา 31 มี.ค.63 ก็ลงมาถึง 127


ในสถานการณ์ที่ชวนให้หวั่นไหว ก็ยังพอมีข้อมูลทางบวกพอเป็นกำลังใจอยู่บ้าง


สรุปไม่แย่เสียทีเดียว แม้ไม่ดีนักก็ตาม