สาระและเรื่องน่ารู้ เมื่อประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

2020-03-26 10:15:36

สาระและเรื่องน่ารู้ เมื่อประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

Advertisement

- พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ย่อมาจาก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548

- เมื่อประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อำนาจบริหารสั่งการทั้งหมดจะรวมศูนย์ที่นายกรัฐมนตรีคนเดียว สามารถออกประกาศมาตรการต่างๆ รวมทั้งลงนามแต่งตั้งได้เลย โดยไม่ต้องหารือหรือผ่านมติ ครม.

- สาระและประกาศตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะเน้นเรื่องดูแลความสงบ ในกรณีโควิด 19 จะห้ามการรวมกลุ่ม ลดการเคลื่อนย้ายผู้คน เพื่อป้องกันความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรค ต้องการให้คนอยู่ในที่พักเป็นหลัก แต่หากเดินทางเคลื่อนที่ ต้องผ่านการคัดกรองตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่

- การนำเสนอข่าวสาร ทั่งสื่อหลักและสื่อโซเชียลต้องเพิ่มความระมัดระวัง โดยเฉพาะการบิดเบือน สร้างความตื่นตระหนก หรือแชร์ข้อมูลอันเป็นเท็จ นอกจากจะผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี 2560 แล้ว ยังเข้าข่ายฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินด้วย

- พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่ได้หมายถึงเคอร์ฟิวส์ หรือกำหนดระเวลาห้ามออกนอกบ้าน แต่เคอร์ฟิวส์อาจเป็นมาตรหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ได้ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

- ประกาศที่ออกมา ยังไม่ได้ปิดเมือง หรือล็อคดาวน์ ผู้คนยังสามารถเดินทางสัญจรได้ แต่ต้องผ่านระบบคัดกรอง ผ่านด่านตรวจ เพื่อซักถามประวัติและตรวจวัดอุณภูมิร่างกาย แต่ในสถานที่เสี่ยงหรือพื้นที่สั่งห้ามของผู้ว่าฯ รวมทั่งผู้ว่า กทม.ต้องปฏิบัติตามเคร่งครัด

- การกักตุน หรือขายสินค้าราคาแพงเกินจริง เป็นหนึ่งในสิ่งต้องห้ามตาม พ.ร.ก.นี้

- มีบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ ยังอาจมีความผิดตาม พรบ.โรคติดต่อปี 2558 และ พ.ร.บ.สินค้าและบริการ ปี 2542 ได้

- พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศไทย มีผลถึง 30 เมษายน 2563 แต่สามารถต่ออายุการบังคับใช้ได้ ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน

- ข้อห้ามอาจมีผ่อนปรนในบางกรณี แต่ดีที่สุด คือ งดออกจากบ้านหรือที่พักอาศัย ไม่ไปรวมกลุ่มหรือพบปะคนอื่น

- กลุ่มเสี่ยงต้องระมัดระวัง และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด