พบน้ำบนดาวนอกระบบสุริยะครั้งแรก

2019-09-13 07:50:28

พบน้ำบนดาวนอกระบบสุริยะครั้งแรก

Advertisement

คณะนักดาราศาสตร์ยุโรปเผยการค้นพบน้ำในชั้นบรรยากาศของดาวดวงหนึ่ง ที่โคจรอยู่ภายในเขต “ที่สิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยได้” รอบดาวนอกระบบสุริยะ ที่อยู่ห่างไกลจากโลกมนุษย์ออกไป 111 ปีแสง "เป็นครั้งแรก"

การค้นพบดาว เคทู-เอจท์ทีนบี (K2-18b) ทำให้มันถูกจัดเข้าในสารบบ ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอีกดวง ที่สมควรค้นคว้าต่อ เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตคล้ายมนุษย์ในต่างดาว

ดาวเคทู-เอจท์ทีนบี ซึ่งค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ หรือ นาซา เมื่อปี พ.ศ. 2559 ใช้เวลา 33 วันในการโคจรรอบดาวฤกษ์สีแดง เคทู-เอจท์ทีน (K2-18)




ศาสตราจารย์ จิโอวานนา ติเนตตี นักวิทยาศาสตร์หัวหน้าคณะ แห่งมหาวิทยาลัยคอลลเจ ลอนดอน หรือ ยูซีแอล ในสหราชอาณาจักร กล่าวถึงการค้นพบน้ำบนดาวไกลโพ้นว่า “น่าตกตะลึงมาก” นี่นับเป็นครั้งแรกที่มนุษย์ตรวจพบน้ำ ในเขตที่อยู่อาศัยได้ รอบดาวที่มีอุณหภูมิพอเหมาะสำหรับการปรากฏของชีวิต

เขตที่อยู่อาศัยได้ (habitable zone) หมายถึง พื้นที่รอบดาวดวงหนึ่ง ซึ่งมีอุณหภูมิเพียงพอสำหรับให้น้ำคงอยู่ในรูปแบบของเหลว บนพื้นผิวของดวงดาว



ดาวเคราะห์ เค2-18บี ที่ค้นพบใหม่ มีขนาดใหญ่กว่าโลกมนุษย์กว่า 2 เท่า จัดอยู่ในประเภท “ซูเปอร์เอิร์ธ” อากาศเย็นเพียงพอที่จะมีน้ำที่เป็นของเหลว ระหว่าง 0 ถึง 40 องศาเซลเซียส ดาวดวงนี้อยู่ห่างจากโลก 111 ปีแสง หรือประมาณ 1,046 ล้านกิโลเมตร ห่างไกลเกินกว่าจะส่งยานอวกาศเดินทางไปสำรวจ ดังนั้นจึงมีทางเลือกเดียวคือ ต้องรอเทคโนโลยีกล้องโทรทรรศน์อวกาศยุคต่อไป ที่จะทำการผลิตในคริสต์ทศวรรษ 2020.