ผบ.ทบ.รับมอบยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์จากสหรัฐฯ 70 คัน

2019-09-12 16:25:32

ผบ.ทบ.รับมอบยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์จากสหรัฐฯ 70 คัน

Advertisement

ผบ.ทบ.รับมอบยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์จากสหรัฐฯ เข้าประจำการ พล.ร.11 จำนวน 70 คัน ซื้อเอง 47 คัน แถม 23 คัน

เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. พร้อมด้วย พล.อ.โรเบิร์ต บี บราวน์ ผู้บัญชาการกองกำลังทางบกประจำภาคพื้นแปซิฟิก สหรัฐฯ ร่วมกันเป็นประธานในพิธีรับมอบยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์ ทั้งนี้กองทัพบกได้นำยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์ 4 คันออกมาเข้าร่วมโชว์ ทั้งนี้ พล.อ.อภิรัชต์ กล่าวว่า กองทัพบกไม่ได้จัดหายานเกราะล้อยางสไตรเกอร์แบบเดียว มีหลายแบบที่ต้องเร่งจัดหาคือยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์แบบพยาบาล ยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์แบบบังคับบัญชา และยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์แบบยิงสนับสนุน 120 มิลลิเมตร ทั้งนี้ยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์จะตั้งเป็นหน่วยใหม่ของ พล.ร.11 เนื่องจากเป็นคนละภารกิจกัน การจัดกำลังก็เป็นคนละรูปแบบ เราจะต้องนำยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ เข้ามา ที่สำคัญคือเราใช้หลักนิยมของประเทศสหรัฐฯมากว่า 50 ปีแล้ว เป็นไปตามที่เราได้เรียนมาตั้งแต่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าก็ใช้หลักนิยมของสหรัฐฯ และใช้หลักสูตรเดียวกัน เพราะฉะนั้นความช่วยเหลือระหว่างสองประเทศ เรารักษาความสัมพันธ์ที่เป็นไปด้วยดีมาตลอด จึงเป็นที่มาของยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า   ผบ.ทบ.และคณะ เดินทางไปเยือนสหรัฐฯระหว่างวันที่ 28 พ.ย.- 3 ธ.ค. 2561 ได้หารือกัับ พล.อ.โรเบิร์ต บี บราวน์ เกี่ยวกับการจัดหายานเกราะล้อยางสไตรเกอร์ ที่ประจำการอยู่ในกองทัพสหรัฐฯ ต่อมาเดือน เม.ย. 2562 กองทัพบกได้เสนอความต้องการในการจัดหายานเกราะล้อยางสไตรเกอร์ RTA ICV เพื่อสนับสนุนภารกิจปรับโอนหน่วยออกนอกกองทัพบก และภารกิจเสริมสร้าง พล.ร.11 จากสหรัฐฯ รวมทั้งสิ้น 70 คัน เป็นการจัดหาโดยใช้งบประมาณกลางของรัฐบาล วงเงิน 2,860,000,000 บาท จำนวน 37 คัน และจัดหาโดยใช้งบประมาณของกองทัพบก วงเงิน 850,000,000 บาท จำนวน 10 คัน รวมถึงจากการช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐฯ อีกจำนวน 23 คันการจัดหายุทโธปกรณ์ครั้งนี้ ผ่านทางวิธี Foreign Military Sales หรือ FMS ในลักษณะการจัดหายุทโธปกรณ์แบบองค์รวม พร้อมระบบอาวุธ การบริการสนับสนุนระบบส่งกำลังบำรุงแบบบูรณาการชิ้นส่วนซ่อมควบคู่กับการฝึกศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ยานเกราะล้อยางที่ได้จัดหาเป็นสิ่งอุปกรณ์คงคลังของสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯ ได้จ้างบริษัทผู้ผลิตทำการปรับปรุงให้อยู่ในสภาพใหม่พร้อมใช้งาน 







ผบ.ทบ.รับมอบยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์จากสหรัฐฯ เข้าประจำการ พล.ร.11 จำนวน 70 คัน ซื้อเอง 47 คัน แถม 23 คัน





เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. พร้อมด้วย พล.อ.โรเบิร์ต บี บราวน์ ผู้บัญชาการกองกำลังทางบกประจำภาคพื้นแปซิฟิก สหรัฐฯ ร่วมกันเป็นประธานในพิธีรับมอบยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์ ทั้งนี้กองทัพบกได้นำยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์ 4 คันออกมาเข้าร่วมโชว์ด้วย

พล.อ.อภิรัชต์ กล่าวว่า กองทัพบกไม่ได้จัดหายานเกราะล้อยางสไตรเกอร์แบบเดียว มีหลายแบบที่ต้องเร่งจัดหาคือยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์แบบพยาบาล ยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์แบบบังคับบัญชา และยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์แบบยิงสนับสนุน 120 มิลลิเมตร ทั้งนี้ยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์จะตั้งเป็นหน่วยใหม่ของ พล.ร.11 เนื่องจากเป็นคนละภารกิจกัน การจัดกำลังก็เป็นคนละรูปแบบ เราจะต้องนำยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ เข้ามา ที่สำคัญคือเราใช้หลักนิยมของประเทศสหรัฐฯมากว่า 50 ปีแล้ว เป็นไปตามที่เราได้เรียนมาตั้งแต่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าก็ใช้หลักนิยมของสหรัฐฯ และใช้หลักสูตรเดียวกัน เพราะฉะนั้นความช่วยเหลือระหว่างสองประเทศ เรารักษาความสัมพันธ์ที่เป็นไปด้วยดีมาตลอด จึงเป็นที่มาของยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองทัพบกมีแนวทางเสริมสร้าง พล.ร.11 ให้มีโครงสร้างการจัดหน่วยแบบกะทัดรัดและทันสมัยสอดคล้องกับหลักนิยมของกองทัพสหรัฐฯ จึงมีความต้องการยานเกราะที่เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และจากการเยือนสหรัฐ (ฮาวาย) อย่างเป็นทางการขอ ผบ.ทบ.และคณะ ระหว่างวันที่ 28 พ.ย.- 3 ธ.ค. 2561 ได้มีการหารือร่วมกับ พล.อ.โรเบิร์ต บี บราวน์ เกี่ยวกับการจัดหายานเกราะล้อยางสไตรเกอร์ ที่ประจำการอยู่ในกองทัพสหรัฐฯ โดยทางกองกำลังทางบกประจำภาคพื้นแปซิฟิกพร้อมสนับสนุนการจัดหาในราคาที่เหมาะสม ซึ่งกองทัพบกได้ประชุมเพื่อหารือแนวทางการจัดหายานเกราะล้อยางและได้พิจารณาเลือกยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์ของกองทัพสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นยุทโธปกรณ์ที่อยู่ในสายการส่งกำลังบำรุงในปัจจุบัน จึงอยู่ในสภาพที่พร้อมต่อการใช้งาน รวมถึงมีแนวทางการสนับสนุนชิ้นส่วนซ่อมที่ชัดเจน ต่อมาเดือนเม.ย. 2562 กองทัพบกได้เสนอความต้องการในการจัดหายานเกราะล้อยางสไตรเกอร์ RTA ICV เพื่อสนับสนุนภารกิจปรับโอนหน่วยออกนอกกองทัพบก และภารกิจเสริมสร้าง พล.ร.11 จากสหรัฐฯ รวมทั้งสิ้น 70 คัน เป็นการจัดหาโดยใช้งบประมาณกลางของรัฐบาล วงเงิน 2,860,000,000 บาท จำนวน 37 คัน และจัดหาโดยใช้งบประมาณของกองทัพบก วงเงิน 850,000,000 บาท จำนวน 10 คัน รวมถึงจากการช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐฯ อีกจำนวน 23 คันการจัดหายุทโธปกรณ์ครั้งนี้ ผ่านทางวิธี Foreign Military Sales หรือ FMS ในลักษณะการจัดหายุทโธปกรณ์แบบองค์รวม พร้อมระบบอาวุธ การบริการสนับสนุนระบบส่งกำลังบำรุงแบบบูรณาการชิ้นส่วนซ่อมควบคู่กับการฝึกศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ยานเกราะล้อยางที่ได้จัดหาเป็นสิ่งอุปกรณ์คงคลังของสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯ ได้จ้างบริษัทผู้ผลิตทำการปรับปรุงให้อยู่ในสภาพใหม่พร้อมใช้งาน