กาชาดชี้โอกาสติดเชื้อ HIV จากการรับเลือด 1 ใน 1.6 ล้าน

2019-05-10 17:20:58

กาชาดชี้โอกาสติดเชื้อ HIV จากการรับเลือด 1 ใน 1.6 ล้าน

Advertisement

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยเผยกรณีหนุ่มติดเชื้อเอชไอวีจากการรับเลือดเป็นรายที่ 2 โอกาสหลุดรอด 1 ต่อ 1.6 ล้านคน

เมื่อวันที่ 10 พ.ค. เมื่อวันที่ 10 พ.ค. พญ.จารุพร พรหมวงศ์ รอง ผอ.ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยถึงกรณีหนุ่มวัย 24 ปี เข้ารับการรักษาตัวที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง แต่ได้รับเชื้อ HIV จากการรับเลือดจาก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ว่า ขอแสดงความเสียใจกับผู้ติดเชื้อในกระแสเลือด ทั้งนี้การติดเชื้อเอชไอวี จากการับบริจาคโลหิตกรณนี้นับเป็นรายที่ 2 โดยรายแรกเมื่อปี 2523 สำหรับผู้รับโลหิตรายนี้ ทราบว่ามีการได้รับเชื้อตั้งแต่ 2547 เนื่องจากป่วยเป็นโรคเลือด ต้องใช้ปริมาณเลือดจำนวนมากกว่า 100 ถุง ทั้งนี้ขอเรียนกว่าได้มีมาตรการคัดกรองเลือดก่อนถึงมือผู้รับป่วย ด้วยการปั่นเลือด ตรวจหาเชื้อ ซึ่งทุกขั้นตอนจะทำให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชม. ดังนั้นอาจทำให้ช่วงระยะฟักตัวของโรค ซึ่งอาจมีปริมาณเชื้อน้อย (window period) ตรวจไม่พบ โดยในแต่ละปีทั่วประเทศจะมีผู้บริจาคเลือดประมาณ 2.6 ล้านยูนิต มีความเป็นไปได้ที่จะพบความผิดปกติเพียง 1- 2 คนเท่านั้น และกรณีที่เกิดขึ้นก็ถือเป็น 1 ใน 1 ล้านคนที่พบได้


พญ.จารุพร กล่าวต่อว่า คาดว่าสาเหตุที่เชื้อหลุดรอด จากเลือดผู้บริจาคจนไปถึงผู้รับโลหิตได้นั้น มาจากช่วงระยะฟักตัวของโรค ที่แม้แต่เทคโนโลยีก็ไม่สามารถตรวจได้ซึ่งแต่ละโรคนั้นมีระยะฟักตัวของเชื้อแตกต่างกัน โดย เชื้อเอชไอวี ใช้ระยะเวลาฟักตัวประมาณ 5-7 วัน ไวรัสตับอักเสบบี ระยะฟักตัว 24-27 วัน ไวรัสตับอักเสบซี ระยะฟักตัว 3-5 วัน ยืนยันว่ามาตรฐานการบริจาคหรือรับโลหิตของไทยเทียบเท่าสากล โอกาสได้รับเชื้อเอชไอวี มีได้แค่ 1 ต่อ 1.6 ล้านประชากรเท่านั้น แต่ก็ต้องวอนผู้บริจาคโลหิตให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ตรงไปตรงมา เพื่อการตรวจคัดกรองตั้งแต่ต้นทาง หากรู้ตัวว่าเสี่ยงและเพิ่งผ่านพ้นการมีเพศสัมพันธ์ที่สุ่มเสี่ยงก็ไม่ควรบริจาคโลหิต เว้นระยะอย่างน้อย 3 เดือน

ด้านนายเกรียงศักดิ์ ไชยวงค์ หัวหน้าฝ่ายตรวจคัดกรองโลหิต เปิดเผยอีกว่า การตรวจหาภูมิต่อต้าน หรือ แอนติบอดี มีข้อจำกัดคือเรื่องวินโดว์พีเรียของการตรวจแนท หากไม่ใช้วิธีการแนทจะใช้เวลานานขึ้น ยืนยันว่าเลือดทุกยูนิตได้รับการตรวจ เพื่อให้โลหิตปลอดภัยสูงสุดเท่าที่จะทำได้