เกร็ดน่ารู้ “พระปรมาภิไธย” ปรมินทร-ปรเมนทร” ต่างกันอย่างไร

2019-05-06 12:45:17

เกร็ดน่ารู้ “พระปรมาภิไธย”  ปรมินทร-ปรเมนทร” ต่างกันอย่างไร

Advertisement

พระปรมาภิไธย แปลว่า ชื่ออันประเสริฐยิ่ง หมายถึง พระนามของพระมหากษัตริย์ราชเจ้า ตามที่จารึกใน พระสุพรรณบัฏ หลังจากที่ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 1 และใช้เรื่อยมาจนถึงพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน

คำว่า “พระบาท” นั้นในธรรมเนียมของราชวงศ์จักรี จะใช้คำว่า “พระบาท” ได้ก็ต่อเมื่อ ได้ผ่านพิธีบรมราชาภิเษกก่อนจึงจะเถลิงพระนามในพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาท” ได้

คำว่า ปรมินทร กับ ปรเมนทร เป็นคำไทยที่มาจากภาษาสันสกฤต ไทยนำมาแยกความหมายกันไปตามที่เราบัญญัติกันเอง เริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ แต่ก่อนนี้หากจะมีใช้ในวรรณคดีบ้างก็เป็นคำสามัญ แต่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาใช้เป็นคำนำหน้าพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์ตามลำดับราชวงศ์ คือ ถ้าเสวยราชย์เป็นลำดับเลขคี่ ใช้นำหน้าพระนามว่า “ปรมินทร” ถ้าเป็นลำดับเลขคู่ใช้ว่า “ปรเมนทร” มาจากคำสันสกฤตว่า ปรม+อินทร์ คำว่า ปรม (ใหญ่, ยิ่ง, อย่างยิ่ง) + อินทร์ (อินฺทร) ผู้เป็นใหญ่ สำเร็จโดยวิธีสนธิ เป็น ปรมินทร, ปรเมนทร แปลว่า ผู้เป็นใหญ่อย่างยิ่ง