ความเป็นมา “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก”

2019-04-08 20:00:09

ความเป็นมา “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก”

Advertisement

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ปรากฏหลักฐานครั้งแรกในศิลาจารึกวัดศรีชุมของพญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย สมัยที่พ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกให้พระสหายคือ พ่อขุนบางกลางหาวเป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผู้ครองกรุงสุโขทัย แต่ก็ไม่ได้ปรากฏรายละเอียดในการประกอบพระราชพิธีแต่อย่างใด จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขึ้นเสวยราชสมบัติ ก็ได้ทรงทำพระราชพิธีนี้อย่างสังเขปเมื่อปี พ.ศ. 2325 จากนั้นได้ทรงตั้งคณะกรรมการสอบสวนแบบแผนโดยถี่ถ้วน แล้วตั้งขึ้นเป็นตำรา จากนั้นจึงทรงพิธีบรมราชาภิเษกแบบเต็มพิธีแบบครบถ้วนตามตำราเมื่อปี พ.ศ. 2328 และได้นำมาใช้เป็นแบบแผนตามตำรากับรัชกาลต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้ หากนับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ประเทศไทยของเรา ได้มีการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมาแล้วจำนวน 11 ครั้ง ได้แก่

- รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จำนวน 2 ครั้ง




- รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จำนวน 1 ครั้ง

- รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 1 ครั้ง



- รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน1ครั้ง

- รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน2ครั้ง

- รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน2 ครั้ง



- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 1ครั้ง

- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 1 ครั้ง

โดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ก็จะเป็นการประกอบพระราชพิธีครั้งที่ 12 

ทั้งนี้ถ้าหากพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใดยังมิได้ผ่านการพิธีบรมราชาภิเษก ก็จะถือว่าทรงเป็นพระเจ้าอยู่หัวยังไม่เต็มพระองค์ โดยเครื่องยศและพระนามต่าง ๆ ที่ใช้ก็จะแตกต่างไปจากพระเจ้าอยู่หัวที่ผ่านการพิธีบรมราชาภิเษกแล้วเช่น จะไม่มีคำว่า “พระบาท” นำหน้าพระนาม เป็นต้น โดยเมื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในวันที่เดียวกันของปีถัดไปก็จะถูกกำหนดให้เป็น วันฉัตรมงคล นั่นเอง