10 ล้านศพสังเวย "มหาสงคราม" สงครามโลกครั้งที่ 1

2018-11-12 12:00:01

10 ล้านศพสังเวย "มหาสงคราม" สงครามโลกครั้งที่ 1

Advertisement

เวลา 11.00 น. ของวันที่ 11 เดือนพฤศจิกายน หรือเดือน 11 ของปี 2561 บรรดาผู้นำโลกมารวมตัวกันในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อร่วมรำลึกครบรอบ 100 ปี ตั้งแต่สัญญาสงบศึกยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 มีผลบังคับใช้ และเพื่อร่วมฉลองสันติภาพด้วย ผู้นำเหล่านี้ เป็นตัวแทนของประเทศที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกันในสงครามที่เกิดขึ้นในปี 1914-1918 หรือ พ.ศ.2457-2461 พิธีที่จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์


มีการลงนามกันในข้อตกลงสงบศึกระหว่างเยอรมนีและรัฐบาลฝ่ายสัมพันธมิตร และสหรัฐ เมื่อวันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ประกาศในเวลา 02.45 น. เช้าวันจันทร์ว่า เยอรมนีลงนามข้อตกลงสงบศึกแล้ว สงครามโลกครั้งที่ 1 หรือที่เรียกว่า “มหาสงคราม” จะยุติลงในเวลา 06.00 น. ของเช้าวันจันทร์ตามเวลาในสหรัฐ หรือ 11.00 น. ตามเวลาในฝรั่งเศส 




สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2457 สยามตั้งตัวเป็นกลาง จนกระทั่งวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 สยามจึงได้ประกาศสงครามกับเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี และได้ส่งทหารอาสาสมัครไปช่วยรบ 1,284 คน ทั้งนี้รวมทั้งนายและพลทหาร สมทบกับนักเรียนไทยในนานาประเทศอีกประมาณ 400 คน รวมทหารอาสาสมัครทั้งหมดประมาณ 1,600 คน

ทหารอาสาออกเดินทางเมื่อ พ.ศ. 2461 ถึงประเทศฝรั่งเศสอยู่ใต้บัญชาการของนายพล เปแตง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ไปปฏิบัติการในสมรภูมิประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม



ภายหลังสงคราม สยามได้ขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ทำไว้เดิมกับประเทศต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อเมริกา เยอรมัน ฯลฯ โดยแก้ไขจากสนธิสัญญาเดิมที่สยามเป็นฝ่ายเสียเปรียบให้ได้ประโยชน์ดีขึ้น นอกจากนี้ สยามยังได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติอีกด้วย

ผลที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้น มีความสำคัญดังนี้

เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของประเทศ

ได้รับเกียรติเข้าร่วมทำสนธิสัญญาแวร์ซาย



เมื่อสงครามสงบได้รับเชิญเข้าเป็นสมาชิกประเภทริเริ่มขององค์การสันนิบาตชาติ เป็นหลักประกันเอกราชและความปลอดภัยของประเทศ

ได้แก้ไขสัญญาที่ทำไว้กับต่างประเทศตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นผลสำเร็จ ยกเลิกสัญญาต่าง ๆ ที่ไทยทำกับเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี และทำสัญญากับประเทศต่าง ๆ ใหม่ให้เป็นประโยชน์กับฝ่ายไทยมากขึ้น

ได้ยึดทรัพย์จากเชลย



เปลี่ยนธงชาติจากธงช้างเผือกมาเป็นธงไตรรงค์ เพื่อนำไปใช้ในกองทัพไทยที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สร้างอนุสาวรีย์เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งคือ อนุสาวรีย์ทหารอาสา วงเวียน 22 กรกฎา สมาคมสหายสงคราม เป็นต้น

มีการจัดทหารแบบยุโรป และเริ่มจัดตั้งกรมอากาศยานขึ้นเป็นครั้งแรก เดิมอยู่ในสังกัด กองทัพบก และต่อมาได้วิวัฒนาการมาจนกลายเป็น กองทัพอากาศ ในปัจจุบัน

สงครามที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ จึงสิ้นสุดลงเมื่อเวลา 06.00 น. เช้าวันจันทร์ตามเวลาในกรุงวอชิงตัน หลังจากต่อสู้เข่นฆ่ากันมา 1,567 วัน และ 10 ล้านคน คือชีวิตที่ต้องสังเวยกับสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งนี่คือตัวเลขที่ประเมินต่ำที่สุดแล้ว