ชาวมุสลิมเฮ สตรีชาวมุสลิม 2 คน ชนะเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐครั้งแรก ซึ่งทั้งคู่สังกัดพรรคเดโมแครต
ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในรัฐมินนิโซตา และมิชิแกน เลือกสตรีชาวมุสลิมสังกัดพรรคเดโมแครต 2 คนแรก เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งคนหนึ่งเป็นอดีตผู้ลี้ภัยที่หลบหนีสงครามกลางเมืองในโซมาเลีย และอีกคนหนึ่งเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายปาเลสไตน์ เกิดในเมืองดีทรอยต์ โดยผู้หญิงทั้ง 2 คนนี้ คือ อิลฮาน โอมาร์ รัฐมินนิโซตา และราชีดา ทลาอิบ จากรัฐมิชิแกน โดย
โอมาร์ วัยประมาณ 36 ปี จะได้เป็นส.ส.สืบต่อจากคีธ เอลลิสัน ซึ่งก็เป็นชาวมุสลิมคนแรกที่ได้รับเลือกเข้าสู่สภาในปี 2549 และลาออกไปรับตำแหน่งอัยการของรัฐ
โอมาร์ ให้สัมภาษณ์เมื่อเดือนที่แล้วว่า เธอไม่คาดว่าจะเดินทางเข้าสหรัฐ และไปเรียนพร้อมกับเด็ก ซึ่งวิตกกังวลเกี่ยวกับอาหารการกิน พอ ๆ กับที่เธอกังวลเรื่องอาหารในค่ายผู้ลี้ภัย เธอใช้เวลา 4 ปีในวัยเด็กอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในเคนยา
2 ปีต่อมา เธอกลายเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายโซมาเลียคนแรกที่ได้นั่งอยู่ในสภานิติบัญญัติของรัฐ ในคืนเดียวกับที่โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดี หลังการรณรงค์หาเสียงของทรัมป์ ที่เขาเรียกร้องให้ห้ามชาวมุสลิมทั้งหมดเข้าสหรัฐ
โอมาร์ ยังจะเป็นสมาชิกรัฐสภาสหรัฐคนแรกที่สวมชุดมุสลิม ฮีญาบ หรือชุดคลุมศีรษะของสตรีมุสลิม ทำหน้าที่ในสภาด้วย
ส่วนทลาอิบ วัย 42 ปี เป็นสตรีมุสลิมคนแรกที่ได้รับเลือกเข้าสภานิติบัญญัติในรัฐมิชิแกน เมื่อปี 2551 ทลาอิบ ซึ่งเป็นลูกคนโตในจำนวนพี่น้อง 14 คน เกิดในครอบครัวของผู้อพยพชาวปาเลสไตน์ ในเมืองดีทรอยต์ ที่ซึ่งพ่อของเธอ ทำงานที่โรงงานแห่งหนึ่งของฟอร์ด มอเตอร์ โค
ทลาอิบ ชูนโยบายเสรีนิยม สนับสนุนโครงการ เมดิแคร์ ฟอร์ ออล ซึ่งเป็นกลุ่มปฏิรูปผู้อพยพเข้าเมือง และเรียกร้องให้ต่อต้านคำสั่งพิเศษของทรัมป์ ที่ห้ามประชาชนทุกคนจากประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม 5 ประเทศ เข้าสหรัฐ
ผู้หญิงทั้ง 2 คน ลงสมัครในนามพรรคเดโมแครต ของมูลเลือกตั้งของรัฐมินนิโซตา พบว่า โอมาร์ชนะคู่แข่งขาดลอย และสื่อในรัฐมิชิแกน ก็รายงานว่า ทลาอิบ ก็ชนะเช่นกัน