หายแล้วจ้า..."แม่หมู" โพสต์รูป "นาย" หลังถูกไข้เลือดออกเล่นงาน

2018-09-20 11:25:27

หายแล้วจ้า..."แม่หมู" โพสต์รูป "นาย" หลังถูกไข้เลือดออกเล่นงาน

Advertisement

ทำเอาหลายคนอดห่วงไม่ได้เมื่อ "แม่หมู-พิมพ์ผกา เสียงสมบุญ" โพสต์ภาพ "น้องนาย-ณภัทร เสียงสมบุญ ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลด้วยอาการไวรัสไข้เลือดออกเมื่ออาทิตย์ก่อน โดยแม่หมูได้โพสต์ถึงเรื่องดังกล่าวว่า



"เล่าเหตุการณ์ค่ะ ภาพนี้เกิดขึ้นเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว นาย ณภัทร ป่วยเป็นไวรัสไข้เลือดออก สายพันธุ์ ชิคุนกุนยา ป่วยคากองถ่ายภาพยนตร์กันเลยทีเดียว ปัจจุบันหายแล้วนะคะ วันนี้เพิ่งไปเจาะเลือดตรวจซ้ำเกร็ดเลือดกลับมาเป็นปกติดีแล้ว ตอนที่น้องป่วย แม่ #ไม่ได้ลงรูปหรือบอกใครเลย !! เพียงเพราะต้องการให้น้องได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ เพราะต้องลางานที่ลงคิวไว้ หลายงานต้องล้มเลิกไปต้องกราบขออภัย และขอบพระคุณ เจ้านายและผู้มีอุปการะคุณทุกท่าน ที่เข้าใจและเสียสละยกเลิกงานเพื่อให้น้องได้เข้ารักษาตัว อาการของไข้ชนิดนี้ ปวดตามจุดต่างๆ ไข้ขึ้นสูงในช่วงเย็น และกลางคืน ตัวจะแดงๆ และหนาวสั่น อาการจะเป็นหนักในช่วงเย็นๆ ค่ำๆ ของทุกวัน แต่ในเวลากลางวัน น้องจะมีแรง น้องร้องขอให้แม่ เอาคอมพ์มาให้ที่ รพ.เพื่อทำงานต่อให้เสร็จเนื่องจากมีเวลาจำกัด แม่จึงจัดคอมพ์มาให้ เป็นโปรเจกต์ของไตรมาสสุดท้ายของปีนี้"






"#ปฏิทินณภัทรปี2019" ตั้งใจจัดทำขึ้น #เพื่อมอบโอกาสทางการศึกษาให้น้องๆที่อยู่ห่างไกลความเจริญ งานนี้ ณภัทร คิดและทำเองทุกขั้นตอน ... ภาพข้างในณภัทรมีถอดเสื้อถ่ายด้วยนะคะ.... อยากให้ติดตาม และสนับสนุน สั่งปฏิทิน งานฝีมือของณภัทรกันด้วยนะคะ ... รายละเอียดการสั่งจอง แม่จะแจ้งให้ทราบอีกทีนะคะ .... กราบขอบพระคุณ ป.ล.หน้าฝนแล้ว รักษาเนื้อรักษาตัวให้พ้นจากยุงลายและพักผ่อนให้เพียงพอกันด้วยเน้อ




ชิคุนกุนยา (ญี่ปุ่น: チクングンヤ熱; อังกฤษ: Chikungunya virus; CHIKV) เป็นเชื้อไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรค เป็นไวรัสในจีนัส Alphavirus ซึ่งติดต่อมาสู่มนุษย์ทางยุงลาย (Aedes)  การระบาดของ CHIKV ทำให้เกิดการพิการอย่างรุนแรงและทำให้เกิดความเจ็บป่วยและกลุ่มอาการคล้ายโรคไข้เลือดออก (dengue fever) โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้ (acute febrile phase) 2-5 วัน ตามด้วยอาการปวดข้อของแขนและขาเป็นระยะเวลานาน เป็นเวลาหลายอาทิตย์หรือเป็นเดือนๆ (prolonged arthralgic disease)



ต้นกำเนิดของไวรัสชิคุนกุนยามาจากทวีปแอฟริกา โดยพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2495 บริเวณตอนใต้ของประเทศแทนซาเนีย ตั้งชื่อตามภาษา "Kimakonde" ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของแอฟริกา ที่หมายถึงอาการปวดข้อรุนแรง ส่วนในประเทศไทยโรคชิคุนกุนยาถูกพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 โดยนายแพทย์ Prof.W McD Hamnon ได้ทำการแยกเชื้อจากผู้ป่วยในโรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพฯ และมีการระบาดขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2519 ที่ จ.ปราจีนบุรี, ปี พ.ศ. 2531 ที่ จ.สุรินทร์, ปี พ.ศ. 2534 ที่ จ.ขอนแก่น , ปี พ.ศ. 2536 ที่ จ.เลย และพะเยา, ปี พ.ศ. 2538 ที่ จ.นครศรีธรรมราช และหนองคาย





การติดเชื้อไวรัสนี้จะมีระยะฟักตัวของเชื้อ (incubation period) 2-4 วัน ทำให้มีไข้ประมาณ 40 องศาเซลเซียส และมีจุดเลือดออกหรือผื่นแดง (petechial or maculopapular rash) ในบริเวณลำตัวและอาจเกิดในบริเวณแขนและขาด้วย และมีอาการปวดข้อในหลายๆ ข้อ อาการอื่นๆ อาจรวมการปวดหัว (headache) เยื่อตาอักเสบหรือติดเชื้อ (conjunctival infection) และแพ้แสงเล็กน้อย (slight photophobia) โดยปกติไข้จะมีอยู่ประมาณ 2 วัน และหายไข้โดยทันที อาการอื่นๆ เช่น การปวดข้อ, การปวดหัวอย่างรุนแรง, นอนไม่หลับ ฯลฯ จะเป็นอยู่นานกว่าอาการไข้ คือตั้งแต่ 5-7 วัน ทั้งนี้ อาการปวดข้อของผู้ป่วยยังขึ้นกับอายุของผู้ป่วยด้วย





วิธีในการป้องกันการติดเชื้อที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัดและการกำจัดลูกน้ำยุงลาย อาจใช้ยากันยุงที่มีสารไล่แมลง เช่น DEET (N,N-Diethyl-meta-toluamide; หรือที่รู้จักในชื่อสูตร N,N'-Diethyl-3-methylbenzamide หรือ NNDB), icaridin (picaridin หรือ KBR3023), PMD (p-menthane-3,8-diol, สารสะกัดจากต้นเลมอนยูคาลิปตัส), หรือ IR3535 เป็นต้น ทั้งนี้สารพวกpyrethroidsซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงก็มีฤทธิ์ในการไล่แมลงได้ด้วย เช่น pyrethroidsแบบระเหิด (ที่ใส่ในขดยากันยุง) ติดมุ้งลวดตามที่อยู่อาศัย ใส่เสื่อผ้าที่มิดชิด เป็นต้น


หายแล้วนะคร้าบบบ ...เพื่อนๆ