“ธนาธร” ชี้การเมืองท้องถิ่นยังก้าวไม่พ้น 1.0

2018-08-25 18:00:34

“ธนาธร” ชี้การเมืองท้องถิ่นยังก้าวไม่พ้น 1.0

Advertisement

“ธนาธร” ชี้การเมืองท้องถิ่นยังก้าวไม่พ้น 1.0 เหตุกลุ่มผู้มีอำนาจในสังคมเกลียดกลัวการกระจายอำนาจ ระบุประเทศไทยมีความไม่เสมองภาคสูงมาก เกิดจากอำนาจที่มีไม่เท่ากัน ภาษี รายได้ทั้งหมด ถูกเอาไปพัฒนา กทม.เยอะเกินไป

เมี่อวันที่ 25 ส.ค. ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชมพร นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ว่าที่หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เข้าร่วมเสวนาเรื่อง “การเมืองท้องถิ่นยุคใหม่เพื่อพัฒนาประเทศไทยยุค 4.0” และพูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร อย่างเป็นกันเอง

นายธนาธร กล่าวว่า การเมืองท้องถิ่นในประเทศไทยไม่เคยเกิดขึ้นอย่างจริงจังเลย การเมืองระดับชาติคือการเลือก ส.ส.เข้าไปทำงาน ส่วนการเมืองท้องถิ่นคือการเลือกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เข้าไปบริหารงาน หลายคนยังเข้าใจผิดว่าการเลือกผู้แทนราษฏร เช่น ส.ส. ชุมพรจะเข้าไปทำหน้าทื่บริหารงานจังหวัด แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ เพราะส.ส.ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อออกกฏหมายต่างหาก





นายธนาธร กล่าวว่า การกระจายอำนาจถูกเขียนและเกิดขึ้นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญปี2540 ซึ่งทำให้มีการเลือกตั้ง อบต. อบจ. เกิดขึ้น โดนก่อนหน้านี้ท้องถิ่นปกครองด้วยข้าราชการส่วนภูมิภาค เมื่อมี อบต. อบจ. เข้ามาแบ่งอำนาจในการปกครองท้องถิ่น จึงเกิดความตึงเครียดระหว่างอำนาจเก่ากับใหม่ ภายหลังการทำรัฐประหารปี 2549 และปี 2557 กลุ่มคนผู้มีอำนาจในสังคมก็เกลียดกลัวการกระจายอำนาจมาก เพราะเป็นการลดบทบาทของภาครัฐที่มีต่อประชาชน แม้จะมีความพยายามสร้างการเมืองระดับท้องถิ่น แต่สิ่งเหล่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นสมบูรณ์ในประเทศไทย ดังนั้นจึงไม่สามารถพูดได้ว่าการเมืองท้องถิ่นตอนนี้เป็นยุค 4.0 เพราะที่ผ่านมายังก้าวไม่พ้น 1.0 เลย

นายธนาธร กล่าวอีกว่า ไม่มีวิธีใดที่จะอธิบายการกระจายอำนาจได้ดีไปกว่าเรื่องเงิน เราทุกคนต่างเสียภาษีไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง อาจเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ในปัจจุบันงบประมาณถูกกำหนดโดยส่วนกลาง จริงๆแล้วท้องถิ่นสามารถเก็บภาษีได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นกลไกที่จะทำให้ท้องถิ่นสามารถจัดการตนเองได้





“คนต่างจังหวัดกลายเป็นคนรับเคราะห์กรรมจากการพัฒนา แต่ผลประโยชน์จากการพัฒนาตกไปอยู่ที่คนอื่น เพราะท้องถิ่นไม่มีอำนาจในการเข้าถึงทรัพยากร เช่น เมื่อมีโรงไฟฟ้าเกิดขึ้น ผู้ที่ต้องได้รับผลกระทบก็คือคนท้องถิ่น ที่ต้องเสียวิถีชีวิต เสียสุขภาพ พี้นที่ๆใช้ไฟฟ้าเยอะคือภาคอุตสาหกรรม แต่คนที่รับมลพิษคือคนที่บ้านอยู่ข้างโรงไฟฟ้า

นายธนาธร กล่าวด้วยว่า จากรายงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในประเทศไทยของธนาคารโลก ระบุว่า การจัดสรรงบประมาณของ กทม. ที่แม้จะมีประชากร 17% ของประเทศและทำรายได้ 26% ของ GDP ทั้งหมด แต่กลับได้รับงบประมาณถึงกว่า 72% ของงบประมาณทั้งหมด ในทางกลับกันภาคอีสานที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศถึง 34% และทำรายได้ถึง 11% แต่กลับได้รับงบประมาณเพียง 6% ของงบประมาณใช้จ่าย เห็นชัดเลยว่าประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาและความไม่เสมอภาคสูงมาก ทุกจังหวัดในประเทศไทยที่ยากจน ไม่ใช่เพราะคนต่างจังหวัดขี้เกียจ ไม่ใช่เพราะไม่มีศักยภาพ แต่เกิดจากอำนาจที่มีไม่เท่ากัน ภาษี รายได้ทั้งหมด ถูกเอาไปพัฒนา กทม.เยอะเกินไป