นักวิทยาศาตร์พบวิธีการทำงานของแบคทีเรียแล้วว่าเติบโตจากยาปฏิชีวนะที่สมควรจะฆ่าพวกมันได้อย่างไร จึงหวังว่าอาจสามารถใช้ประโยชน์นี้นำแบคทีเรียมากำจัดยาที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม
ภาพ ANNE-CHRISTINE POUJOULAT / AFP
ผลการค้นพบที่ตีพิมพ์ลงบนวารสารเนเจอร์เคมิคอลไบโอโลจีอาจทำให้นักวิทยาศาสตร์เพาะแบคทีเรียขึ้นมาจากยีนเพื่อบริโภคแและกำจัดยาปฏิชีวนะนับล้านตันที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวลดล้อมจากสิ่งปฏิกูลของโรงงานและมูลสัตว์อยู่ทุกๆ ปีได้
กวาแทม แดนทัส ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านระบบภูมิคุ้มกันจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตันในรัฐมิสซูรีกล่าวว่า “เมื่อสิบปีที่แล้ว เราตกใจกับการค้นพบว่าแบคทีเรียเติบโตจากการกินยาปฏิชีวนะ ตอนนี้เราเข้าใจการทำงานของมันแล้ว เราจึงสามารถเริ่มหาวิธีใช้ประโยชน์จากความสามารถนี้เพื่อกำจัดยาบนพื้นที่ที่จะเป็นอันตรายได้”
การค้นพบยาปฏิชีวนะช่วงทศวรรษที่ 2460 ทำให้ช่วยชีวิตคนไปนับสิบล้านคนจากการเสียชีวิตจากโรคปอดบวม คอตีบและโรคไขสันหลังอักเสบ แต่ตลอดช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา แบคทีเรียเหล่านี้เรียนรู้วิธีต่อสู้กลับและสร้างระบบต่อต้านยาตัวเดิมที่เคยปราบมันได้ และองค์การอนามัยโลกก็กล่าวเตือนหลายครั้งแล้วว่ายาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพกำลังจะหมดไป พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลและบริษัทเภสัชภณฑ์ขนาดใหญ่คิดค้นยารุ่นใหม่เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคกลายพันธุ์และสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวยา
แดนทัสและกลุ่มนักวิจัยค้นพบว่าเมื่อแบคทีเรียที่สร้างภูมิคุ้มกันต่อยาปฏิชีวนะแทรกผ่านลงไปในดินหรือน้ำ สิ่งมีชีวิตเซลลเดียวเหล่านี้จะส่งต่อยีนที่มีความสามารถนี้ไปยังแบคทีเรียที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ นอกจากนี้ พวกเขายังพบด้วยว่าแบคทีเรียเหล่านี้เรียนรู้วิธีกำจัดโมเลกุลที่เป็นพิษราวกับเชฟที่ถอนพิษออกจากปลาปักเป้า
การค้นพบจึงนำไปสู่แผนการกำจัดยาปฏิชีวนะที่ปนเปื้ออยู่ในแม่น้ำ ทะเลสาบและพื้นดิน แม้ว่าจะต้องหาทางเร่งกระบวนการสักหน่อย เพราะแบคทีเรียดูจะใช้เวลานานมาก แต่นับว่าเป็นการค้นที่จะสามารถพัฒนาต่อไปได้ดีกว่าการเริ่มต้นจากศูนย์