จุฬาฯ แถลงโครงการรักษ์หัวใจเด็ก(น้อย)ข้ามโขง

2024-04-17 16:12:22

จุฬาฯ แถลงโครงการรักษ์หัวใจเด็ก(น้อย)ข้ามโขง

Advertisement


จุฬาฯ แถลงข่าวโครงการรักษ์หัวใจเด็ก(น้อย)ข้ามโขง ผ่าตัดรักษาโรคหัวใจเด็ก พร้อมหนุนบุคลากรทางการแพทย์ สปป.ลาวผ่าตัดได้ภายใน 5 ปี  

เมื่อวันที่ 17 เม.ย.67  ที่ห้องประชุม 1201 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีการแถลงข่าว โครงการรักษ์หัวใจเด็ก (น้อย) ข้ามโขง  ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สภากาชาดไทย รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มูลนิธิเพื่อสนับสนุนการผ่าตัดหัวใจเด็ก มูลนิธิเกื้อฝันเด็ก และ สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สปป. ลาว และ รพ.มะโหสด


สำหรับความเป็นมาของ โครงการรักษ์หัวใจเด็ก (น้อย) ข้ามโขง  เริ่มหารือครั้งแรกกับฝ่าย สปป.ลาวเมื่อวันที่ 18 พ.ค.66 ในโอกาสที่ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักบริหารวิชาการสุขภาพโลก (School of Global Health) และผู้ช่วยเลขาธิการเอกอัครราชทูตฯ เพื่อต่อยอด โครงการจัดการอบรมเฉพาะด้านการดูแลผู้ป่วยเด็กในระยะวิกฤต (Pediatric Intensive Care) สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงมีโอกาสหารือกับ นพ.ไคสี ลาดซะวง รอง ผอ.รพ.มะโหสด  ดูแลผู้ป่วยเด็กและฉุกเฉิน  และทราบว่า รพ.มะโหสด เป็นศูนย์โรคหัวใจเฉพาะทางแห่งเดียวของ สปป. ลาว ซึ่งยังต้องการบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการรักษาโรคหัวใจเด็ก โดยเฉพาะการผ่าตัดรักษาโรคหัวใจเด็ก


สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงติดต่อกับ นพ.พีระพัฒน์ มกรพงศ์ กรรมการและเลขานุการของมูลนิธิเพื่อสนับสนุนการผ่าตัดหัวใจเด็กและหารือกับ รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผอ.รพ.จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิเกื้อฝันเด็ก นำมาสู่การริเริ่มโครงการรักษ์หัวใจเด็ก (น้อย) ข้ามโขงด้วยการสนับสนุน อย่างเต็มกำลังจากทุกหน่วยงานข้างต้น

คณะทำงานได้เริ่มประชุมหารือตั้งแต่กลางเดือน พ.ค.66 เพื่อขับเคลื่อนโครงการนี้ ทีมแพทย์ออกหน่วยตรวจคัดกรองผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เมื่อวันที่ 13 ต.ค.66 คัดกรองผู้ป่วยเด็ก จำนวน 92 ราย ซึ่งในจำนวนนี้ มี 37 ราย ที่มีความจำเป็นต้องนำไปผ่าตัดรักษาที่ประเทศไทย โดยมี 3 ราย ที่มีความจำเป็นต้องนำไปผ่าตัด รพ.จุฬาลงกรณ์ ส่วนคณะแพทย์ของ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และทีมงาน Global Health ได้หารือกับคณะแพทย์ของ รพ.มะโหสดเรื่องแนวทางความร่วมมือและการสนับสนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ของ สปป.ลาว ให้สามารถผ่าตัดหัวใจเด็กได้ภายใน 5 ปี ในเบื้องต้น คณะแพทย์ของ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเห็นว่า ควรสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของหอผู้ป่วยวิกฤตเด็ก และพิจารณาเรื่องการให้ทุนแก่บุคลากรเพื่อเพิ่มพูนทักษะสำหรับการดูแลผู้ป่วยเด็กและทุนการศึกษาสำหรับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไปอย่างเต็มกำลังจากทุกหน่วยงานข้างต้น 




สรุปผลการดำเนินงานถึงปัจจุบันผู้ป่วยที่เข้าคิวผ่าตัดจำนวน 37 ราย (เสียชีวิตระหว่างรอผ่าตัด 2 ราย) ผ่าตัดแล้วที่  รพ.จุฬาลงกรณ์ 2 ราย ผ่าตัดที่ รพ.เกษมราษฎร์ ประชาชื่น 27 ราย อัตราการรอดชีวิต 100%  รอผ่าตัดอีก 11 ราย  ผู้ป่วยเด็กรายล่าสุดขณะนี้อายุ 1 ปี 1 เดือน พร้อมที่จะเดินทางกลับ ในวันที่ 18 เม.ย.67 โดยจะเดินทางกลับไปที่นดรหลวงพระบาง ซึ่งขณะนี้ผู้ป่วยอาการคงที่ และสามารถเตินทางโดยเครื่องบินได้ และน่าจะมีความปลอดภัยสูงสุด จึงจะเดินทางพร้อมทีมแพทย์จาก รพ.จุฬลงกรณ์ โดยได้รับการสนับสนุนจากสายการบินบางกอกแฮร์เวย์ส