หนุ่มสงสัยเส้นใยสีดำบนเนื้อมะม่วงสุกใช่พยาธิหรือไม่ มีผู้รู้มาให้คำตอบแล้วสรุปเกิดจากแบคทีเรียบางกลุ่มในพืช กินได้ รำคาญตรงติดฟัน
เมื่อวันที่ 4 เม.ย.67 ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Kittisak Thongdaeng โพสต์ภาพพร้อมข้อความในกลุ่ม ความรู้รอบตัว ระบุว่า " แฟนปอกเปลือกมะม่วงให้กิน ไอ้ดำๆนั่นคือพยาธิในมะม่วงหรือครับ"
ทั้งนี้ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Tensia ได้ให้ความรู้ในเรื่องนี้ว่า
สรุปแบบสั้น ๆ
▪️เรียก Resin canal discolouration (RCD)
▪️ไม่ใช่เน่า ไม่ใช่พยาธิ ไม่อันตราย
▪️เป็นเส้นคล้ายยาง ด้านล่างเป็นแป้ง
▪️สร้างจากแบคทีเรียบางกลุ่มในพืช
▪️กินได้ รำคาญตรงติดฟัน
อธิบายแบบละเอียด
เรียกว่า resin canal discolouration (RCD) ค่ะ ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงคือการเก็บเกี่ยวไวไป, การใช้เวลานานระหว่างขนส่ง, สภาพ O2 ต่ำ, ความชื้นสูง ทำให้แบคทีเรียประจำถิ่นบางชนิดเพิ่มจำนวนมากขึ้น (กลุ่ม Enterobacter spp. คล้ายกับที่เจอในมนุษย์แต่เป็น species ของพืช) ซึ่งพวกนี้จะสร้างสารกลุ่ม phenolic มารวมตัวกันเป็นคล้ายๆยาง (Resin-like) วางเป็นท่อสีน้ำตาลเข้มๆ ในชั้น exocarp ของผิวมะม่วง และยังสร้างพวกแป้งใต้ต่อท่อนี้ลงไปลึกถึงชั้นเนื้อผิวบนๆ (Mesocarp) แต่ใยพวกนี้ไม่ได้อันตรายอะไร แบคทีเรียที่มีการศึกษาว่าสัมพันธ์กันนี้ ก็ไม่ได้ก่อโรคใดต่อไปในมนุษย์และยังหายไปเยอะแล้วระหว่างขนส่งมาถึงการวางแผน ผลเสียต่อผู้บริโภคมีอย่างเดียวคือ รำคาญค่ะ มันติดฟัน ใครใส่เหล็กดัดฟันนี่ติดเลยค่ะ นอกนั้นไม่ได้ส่งผลเสียอะไร แต่เป็นปัญหาระดับโลกในผู้ค้ามะม่วง (และผลไม้กลุ่มสายพันธุ์นี้) เลยค่ะ เพราะมันอาจลดมูลค่า สุกแล้วยิ่งเห็นชัดค่ะ
ขอบคุณเฟซบุ๊ก Kittisak Thongdaeng , ความรู้รอบตัว