เปิดศึกอีกครั้ง !! ไทยโต้กลับเขมร แอบเคลม "ทับทิมกรอบ" เป็นอาหารของแขมร์ ?!

2024-03-14 10:15:11

เปิดศึกอีกครั้ง !! ไทยโต้กลับเขมร แอบเคลม "ทับทิมกรอบ" เป็นอาหารของแขมร์ ?!

Advertisement

เปิดศึกอีกครั้ง !! ไทยโต้กลับเขมร แอบเคลม "ทับทิมกรอบ" เป็นอาหารของแขมร์ ?! 



"ทับทิมกรอบ" ส่วนผสมหลักของเมนูหวานๆ อันนี้คือ "แห้ว" โดยผู้กินจะได้รสสัมผัสจากการกัดเข้าไปที่ตัวทับทิมกรอบแล้วรู้สึกถึงความกรุบกรอบเคี้ยวเพลิน "ทับทิมกรอบ" เป็นของหวานสำหรับคลายร้อนได้ดี เพราะสามารถใส่ส่วนประกอบอื่นๆ นอกจากทับทิมลงไปด้วยก็ได้ อาทิ ไอศกรีม, ลอดช่อง, เนื้อขนุน, วุ้นต่างๆ และอื่นๆ ตามใจปรารถนา ซึ่งจะยิ่งทำให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เมื่อโปะน้ำแข็งไสเย็นๆ ลงไป ราดน้ำกะทิควันเทียนหอมๆ ก็เป็นอันครบเครื่องอร่อยสดชื่น ใครๆ ที่ชื่นชอบเมนูของหวานไทยต้องเคยลิ้มลองเมนูนี้อย่างแน่นอน 






ซึ่ง "ทับทิมกรอบ" เป็นของหวานที่ไทยรับจากอาหารเวียดนาม ในเวียดนามตัวทับทิมกรอบจะทำจากแห้ว มันแกว เผือก และมะพร้าวทึนทึก จากนั้นใส่ตัวลอดช่อง วุ้นขูดเส้น สาคูเม็ดใหญ่ ลอยน้ำเชื่อม ใส่กะทิ และใส่น้ำแข็ง ใกล้เคียงกับของไทย ทางเวียดนามระบุว่าอาหารชนิดนี้เป็นอาหารที่รับอิทธิพลจากอาหารจีนอีกต่อหนึ่ง จึงไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่าเป็นของ "ไทย" อย่างแท้จริง 





แต่แล้วก่อนหน้านี้ไม่นาน ทางเพจเฟซบุ๊ก ASEAN Skyline ได้ออกมาโพสต์ภาพขนมหวานชื่อดังของไทยอย่าง “ทับทิมกรอบ” พร้อมระบุว่า “ทับทิมกรอบ เป็นขนมเขมรชื่อดังในประเทศกัมพูชา คุณสามารถพบเห็นเมนูนี้ได้ตามท้องถนนหรือในร้านอาหารต่างๆ มากมาย” 





ทำให้โพสต์ดังกล่าวเป็นไวรัลผู้คนมากมายต่างเข้าไปแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก โดยต่างหยิบความมั่นใจของผู้โพสต์ขึ้นมาถกเถียง พร้อมกับบอกว่า "ทับทิมกรอบ" เป็นของหวานของประเทศไทย และชื่อของขนมชนิดนี้ที่ระบุอยู่บนหน้าเพจก็เป็นภาษาไทย ดังนั้นจะเป็นขนมหวานของกัมพูชาไปได้อย่างไร? เช่น “อันนี้ทับทิมก๊อป”, “เพิ่งรู้นะเนี่ยว่าคนเขมรชอบกินขนมไทยขนาดนี้”, “ทั้งคำว่าทับทิม ทั้งคำว่ากรอบ มันเป็นภาษาไทยนะ จะเป็นขนมของเขมรได้ไงเอ่ย?”, “ขอบคุณที่ช่วยโปรโมตขนมไทยนะ”, “ฉันไปกัมพูชามาเมื่ออาทิตย์ก่อน ไม่เห็นจะมีเมนูนี้เลย”, “ชื่อไทย ขนมไทย”, “Tub Tim Grob อ่านแบบภาษาเขมรยังไงอ่ะ” เป็นต้น





ทางด้านแอดมินเพจได้ระบุว่า "ทับทิม" นั้นมีความหมายว่า “Ruby” หรือ “ทับทิม” ที่เป็นอัญมณี ทำเอาชาวโซเชียลแห่ตอกกลับว่า "ทับทิม" ในบริบทนี้ควรเป็นชื่อของผลไม้ต่างหากหาใช่ "รูบี้" อย่างที่ชาวเขมรเข้าใจ แต่ก็อย่างที่บอกเรื่องวัฒนธรรมอาหารชาติต่างๆ นั้น มีการสืบต่อกันมาหลายต่อหลายทอด ไม่สามารถระบุอย่างเต็มปากได้ว่ามีต้นกำเนิดมาจากพื้นที่ใดอย่างชัดเจน จึงขอให้ทุกๆ คนที่แอบเคลมแอบคิดเองเออเองว่าเป็นของของชาตินั้นๆ ลดความมั่นใจลงสักหน่อย และมองเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องของอาหาร หนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์ทุกคนก็แล้วกัน





ที่มาข้อมูล: Facebook ASEAN Skyline , วิกิพีเดีย