"ดร.เดวิด มกรพงศ์" พัฒนาสารสกัดดอกดาวเรือง จนคว้ารางวัลใหญ่ระดับโลก

2024-02-13 10:25:44

"ดร.เดวิด มกรพงศ์" พัฒนาสารสกัดดอกดาวเรือง จนคว้ารางวัลใหญ่ระดับโลก

Advertisement

"ดร.เดวิด มกรพงศ์" นักนวัตกรรมไทยรุ่นใหม่ ผู้พัฒนาสารสกัดจากดอกดาวเรือง พิชิตนวัตกรรมเหรียญทองระดับโลก Dr.Davids Makararpong : Transform Innovation to reality



ดร.เดวิด มกรพงศ์ พางานวิจัย นวัตกรรมไทย ได้รับรางวัลวิจัย รางวัลระดับนานาชาติ เหรียญทอง Gold Medal สาขาวิทยาศาสตร์ สุขภาพ และการแพทย์ จากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ปี 2023 ผ่านการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าแข่งขัน และได้ชนะเลิศรางวัลเหรียญทองจากประเทศเกาหลีใต้ ในงาน Seoul International Invention Fair 2023, South Korea.




จัดโดย Korea Invention Promotion Association (KIPA) and International Federation of Inventors Associations (IFIA)





โดย รางวัลในครั้งนี้ ดร เดวิด มกรพงศ์ ได้สร้างนวัตกรรมฟื้นฟูดวงตาด้วย สารสกัดจากดอกดาวเรืองเพื่อการบำรุงและฟื้นฟูดวงตาที่ดียิ่งขึ้น

(Revitalize Eyes by YES CARE: Harnessing Marigold Extract for Enhanced Eye Care and Recovery)

เป็นกระบวนการสกัดดอกดาวเรือวเพื่อให้ได้กรดอะมิโนลูทีนและzซีแซนทีนในปริมาณที่สูงกว่าเดิม 300 % เพื่อใช้ในการบำรุงสายตา ลดอาการตาแห้ง เพิ่มความชุ่มชื้นในดวงตา ลดอาหารเมื่อยล้าในดวงตา และเป็นสินค้าที่ช่วยในการฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีอาการจดประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดต้อกระจก และอาการทางดวงตาอื่นๆ ให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้นกว่าเดิม 100% เป็นสินค้าที่ใช้เพื่อยับยั้งการเสื่อมสภาพของดวงตาจากการใช้งานนหักในชีวีติประจำวันและช่วยชะลอและฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีอาการทางดวงตาให้หายดียิ่งขึ้นด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ





โดยงานวิจัยที่นำไปนำเสนอต่อคณะกรรมการวิจัยที่ประเทศเกาหลีใต้ จะประกอบไปด้วยผลวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ 2 ส่วน หลักคือ

ในเชิงประสิทธิภาพ (efficacy) นั้นแบ่งออกเป็น 4 การทดสอบหลักๆ ได้แก่ 1) ระดับการมองเห็น หรือ visual acuity เป็นการทดสอบโดยให้อาสาสมัครอ่านตัวอักษรจากขนาดใหญ่ไปจนกระทั่งถึงตัวที่เล็กที่สุดที่สามารถอ่านได้ พบว่าภายหลังการเสริมอาหาร อาสาสมัครสามารถอ่านตัวอักษรที่เล็กลงได้ คิดเป็นประมาณ 40-60% แสดงว่ามีแนวโน้มช่วยเสริมการมองเห็นที่ดีขึ้น 2) ทดสอบความล้าสายตา หรือ functional visual acuity โดยทำคล้ายกันคือให้อ่านตัวอักษร C chart จากตัวใหญ่ไปหาตัวเล็กในเวลาที่กำหนด 1 นาที หากอ่านผิดให้อ่านบรรทัดที่ใหญ่ขึ้นซ้ำอีกครั้ง พบว่าอาสาสมัครมีแนวโน้มมีค่าความล้าสายตาที่ลดลง 3) การทดสอบคอนทราสต์ (contrast sensitivity) หรือความสามารถในการแยกสีมืดกับสว่าง ทำโดยให้อาสาสมัครอ่านตัวอักษรที่เข้มที่สุดไปจนกระทั่งถึงตัวอักษรที่จางที่สุด ยิ่งจางเปอร์เซ็นยิ่งน้อย ทั้งนี้จากการทดลองพบว่า เปอร์เซ็นต์การแยกคอนทราสต์ลดลง แสดงว่าสารสกัดมีแนวโน้มช่วยเสริมให้มีคอนทราสต์ที่ดีขึ้นได้ 4) ทดสอบภาวะตาแห้ง โดยใช้แบบสอบถามมาตรฐานสากล หรือ DEQ-5 Questionnaire พบว่าคะแนนของแบบทดสอบมีค่าลดลงหลังจากทานสารสกัด ร้อยละ 30 แสดงว่าภาวะตาแห้ง ได้แก่ อาการไม่สบายตา(eye discomfort) อาการตาแห้ง(eye dryness) และอาการน้ำตาไหล(watery eye) มีแนวโน้มดีขึ้นได้





• ขั้นตอนต่อมาเราทดสอบความปลอดภัยหลังการทานสารสกัดลูทีน ซีแซนทีนและมัลติวิตามิน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 การทดสอบหลักๆ คือ 1) การซักประวัติอาการไม่พึงประสงค์และตรวจตา ซึ่งไม่พบอาการและอาการแสดงผิดปกติแต่อย่างใด 2) การทดสอบความหนาชั้นจอประสาทตา ที่บริเวณจุดรับภาพชัดและขั้วประสาทตา โดยใช้เครื่อง optical coherence tomography หรือ OCT ซึ่งอาศัยการใช้แสงเลเซอร์เพื่อถ่ายภาพจอประสาทตา พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งค่าดังกล่าวหากลดลงอาจแสดงถึงการมีเซลล์เสื่อมสภาพหรือถูกทำลาย ในขณะเดียวกันหากมีค่าที่มากขึ้นอาจหมายถึงการบวมของชั้นจอประสาทซึ่งมาจากความผิดปกติของหลอดเลือดได้ 3) การตรวจความหนาแน่นของหลอดเลือดที่บริเวณจุดรับภาพชัด ด้วยเครื่อง optical coherence tomography angiography ซึ่งใช้การสะท้อนของแสงเลเซอร์ในการถ่ายภาพเส้นเลือดของจอประสาทตา มาทำการวิเคราะห์ความแตกต่าง พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบว่าในบางคนมีแนวโน้มว่าความหนาแน่นของเส้นเลือดจอประสาทตามีค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจหมายถึงการเพิ่มการหมุนเวียนของระบบไหลเวียนเลือดที่ดวงตาได้



การทำงานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจาก คอมพิวเตอร์วิชชั่นซินโดรม ที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานานและได้รับแสงสีฟ้าที่มากไป จนทำให้ดวงตา เกิดอาการตาแห้งและอาการไม่สบายจา ดังนั้น ในงานวิจัยนี้พิสูจนแล้วว่า สารกัดจากดอกดาวเรืองสามารถเข้าไปบำรุงสขภาพดวงตาได้และมีความปลอดภัย