สุราษฎร์ฯศึกษา "คลองร้อยสาย" บรรเทาอุทกภัย

2023-11-28 11:38:00

สุราษฎร์ฯศึกษา "คลองร้อยสาย" บรรเทาอุทกภัย

Advertisement

ผอ.โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานีจัดโครงการศึกษาความเหมาะสมการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่คลองร้อยสาย หวังลดผลกระทบน้ำท่วม กักเก็บน้ำไว้ใช้

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 28 พ.ย.66 ที่ห้องประชุมโรงแรมวังใต้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี นายนันธวัช เจริญวรรณ รอง ผวจ.สุราษฎร์ธานี นายสมสวัสดิ์ ฉายสินสอน ผอ.โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี นายเกื้อศักดิ์ ทาทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านวางแผน) ร่วมเปิดเปิดโครงการศึกษาความเหมาะสมการบรรเทาอุทกภัย พื้นที่คลองร้อยสาย  อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีตัวแทนหน่วยงาน และตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่เข้าร่วมกว่า 100 คน


นายสมสวัสดิ์ กล่าวว่า ความเป็นมาของโครงการศึกษาความเหมาะสมการบรรเทาอุทกภัย พื้นที่คลองร้อยสาย  เนื่องจากมีพื้นที่ครอบคลุม 6 ตำบล ประกอบด้วย ต.บางใบไม้ ต.บางซนะ ต.คลองฉนาก ต.บางไทร ต.คลองน้อย และ ต.บางโพธิ์ โดยเป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างคลองพุนพิน และแม่น้ำตาปี  อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ความยาวประมาณ 149 กิโลเมตร ในพื้นที่ประมาณ 70,000 ไร่ โดยมีคลองบางสายมีน้ำไหลลงสู่ทะเล เนื่องจาก พื้นที่คลองร้อยสายมีสภาทพื้นที่ค่อนข้างต่ำ ดังนั้นเมื่อฝนตกหนักและมีปริมาณน้ำหลากจากคลองพุนพินและแม่น้ำตาปีเอ่อเข้ามาในพื้นที่คลองร้อยสายแล้วจะไหลลงสู่ทะเล ปัจจุบันพบว่า คลองเหล่านี้มีสภาพตื้นเขิน ไม่สามารถระบายน้ำได้เต็มศักยภาพ น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือน รวมถึงระบายน้ำหลากไม่ทัน ทำให้น้ำท่วมซ้ำซาก ดังนั้นการศึกษาจำเป็นต้องศึกษาสภาพปัจจุบันของศักยภาพการไหลของน้ำของแต่ละคลอง และปริมาณน้ำหลากที่ไหลเข้าในพื้นที่ โดยจะต้องพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของการแก้ไขปัญหา แล้วคัดเลือกโครงการดังกล่าวนำมาศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้น เพื่อนำไปสู่กระบวนการก่อสร้าง จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสมการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่คลองร้อยสาย เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีป ระสิทธิภาพ


ด้านนายเกื้อศักดิ์ กล่าวว่า วัตุประสงค์ของการศึกษาความเหมาะสมการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่คลองร้อยสาย เพื่อบรรเทาอุทกภัยในเขตพื้นที่คลองร้อยสาย และเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่คลองร้อยสาย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาภาพรวมทั้งระบบให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม และความเห็นของประชาชน ดังนั้นเมื่อมีการศึกษาความเหมาะสมการบรรเทาอุทกภัย พื้นที่คลองร้อยสายแล้วเสร็จจะส่งผลประโยชน์กับพี่น้องประชาชน คือ1. สามารถบรรเทาอุทกภัย ลดพื้นที่น้ำท่วม ระดับความลึกรวมทั้งระยะเวลาท่วมขังทำให้สามารถระบายน้ำท่วมได้เร็วขึ้นบริเวณคลองร้อยสาย 2. เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะทำให้การเพิ่มประสิทธิภาพกรระบายน้ำและการเก็บกักน้ำจืดไว้ใช้เพื่อการเกษตร การอุปโภค-บริโภคในบริเวณพื้นที่คลองร้อยสายตามภาระกิจของกรมชลประทาน 3. สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศตามแนวคลองต่าง ๆได้ต่อไป