"มัลลิกา" ผ่ายุทธศาสตร์ชาติแผนพลังงานทดแทนไม่เกิดแบบที่เรียกว่าปฏิรูป

2022-09-09 14:01:43

"มัลลิกา" ผ่ายุทธศาสตร์ชาติแผนพลังงานทดแทนไม่เกิดแบบที่เรียกว่าปฏิรูป

Advertisement

"มัลลิกา" ผ่ายุทธศาสตร์ชาติแผนพลังงานทดแทนไม่เกิดแบบที่เรียกว่าปฏิรูป จี้สภาพัฒน์รีวิวกับ กระทรวงพลังงานให้ละเอียด

เมื่อวันที่ 9 ก.ย.65  ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่่อวันที่ 8 ก.ย. 65 ดร.มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข  ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์  (ปชป.) อภิปรายภายหลังรับทราบรายงานผลการปฎิบัติงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่า สำหรับรายงานผลการปฎิบัติงานของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือ สตง.ปี 2564 เห็นว่าภารกิจของ สตง. ทั้งการตรวจเงิน การใช้เงินและการตรวจเงินว่าถูกระเบียบหรือไม่ ทั้งการประเมินผลลัพธ์ผลสัมฤทธิ์ 3 ส่วนนี้ เห็นว่าเป็นภารกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติมากและที่สำคัญ สตง.มีความหมายมากสำหรับการใช้เงินแผ่นดิน แต่เมื่อดูจากรายงานทำให้มีความรู้สึกว่าตรงไหนเป็นประโยชน์ที่สุดและสำคัญที่สุดสำหรับการที่พี่น้องประชาชนจะได้ประโยชน์

"ดิฉันขอเสนอว่าถ้าหาก สตง.มีกำลังพล มีศักยภาพอยู่ 100 ส่วน อยากให้ สตง.ได้ให้ความสำคัญ 30 ส่วน ควรเป็นเรื่องการตรวจการใช้เงิน อีก 20 ส่วนตรวจว่าถูกระเบียบหรือไม่ แต่อีก 50 ส่วนควรทุ่มให้กับการประเมินหรือการตรวจผลสัมฤทธิ์ หรือ KPI ที่จะเห็นได้ว่าได้ผลแค่ไหน ไม่ใช่เพียงแค่ใช้งบประมาณแผ่นดินว่าถูกระเบียบหรือไม่ ดิฉันสังเกตว่าตามแผนและรายงานจะมีเรื่องเกี่ยวกับท้องถิ่นต่างๆถ้ายกตัวอย่างดิฉันขออนุญาต ยกตัวอย่างว่าถนนหนทางตามท้องถิ่นต่างๆ รวมทั้งถนนหลวงเส้นใหญ่ ถ้าตรวจถูกต้องใช้เงินถูกต้องใช้งบประมาณไม่เกินถูกตามระเบียบทุกอย่าง แต่การตรวจผลสัมฤทธิ์ผลของการสร้างเสร็จค้านสายตาประชาชนเพราะประชาชนยังมีการร้องเรียน ร้องทุกข์และยังมีการโพสต์ผ่าน Facebook โซเชียลมีเดียต่างๆ ว่าบางทีแหว่งไม่ได้คุณภาพ แต่ขณะเดียวกัน สตง.ได้ตรวจแล้วเป็นต้น ดิฉันอยากให้ทาง สตง.ทุ่มเทสรรพกำลังและศักยภาพของท่าน จะมีความหมายมาก ถ้าจำนวนมากที่สุดให้ดูที่ผลลัพธ์ของผลการปฏิบัติงานผลของการใช้งบประมาณว่าทำได้จริง ทำได้ไวหรือเปล่า จะเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนทั่วทั้งพื้นที่ รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและที่สำคัญที่สุดคุณภาพของงาน จะทำให้ราชการจะได้มีกรอบและขอบเขต มี KPI วัดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างมีคุณภาพและตรงตามภารกิจ นอกจากนั้นแล้วจะเป็นที่ชื่นใจ ชื่นชมของพี่น้องประชาชนด้วย" ส.ส.ดร.มัลลิกา กล่าว

ดร.มัลลิกา ยังอภิปรายรายงานสรุปผลการปฎิบัติตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยบอกว่าวางแผนยุทธศาสตร์ชาติในระยะยาว แต่ไม่สัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายที่วางไว้ยกตัวอย่างแผนปฏิรูปพลังงานหรือ PDO2015 พี่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2557 เน้นเรื่องพลังงานทดแทนและแบ่งสัดส่วนพลังงานขนาดใหญ่ขนาดกลางขนาดเล็กแต่ปรากฏผ่านไป 8 ปีพลังงานทดแทนไม่เกิดขึ้น และตามรายงานของสภาพัฒน์ก็บรรจุแผนล่าสุดคือปรับปรุงปี 2018 หรือ PDP2018 ตามที่ฝ่ายเลขาของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติบรรจุมาให้ก็เป็นเพียงแค่แผน แต่ในข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นประเทศต้องประเชิญกับสถานการณ์วิกฤตระดับโลกอย่างเช่น ค่าพลังงานแพงขึ้นทั่วโลกเมื่อเกิดสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ในส่วนของค่าไฟฟ้าประเทศไทยก็สูงขึ้นก็เป็นภาระของประชาชนและรัฐก็จะต้องจัดหางบประมาณมาชดเชยเพื่อช่วยเหลือและต่อยอดนโยบายช่วยประชาชน เพราะเราจะต้องพึ่งการนำเข้าพลังงานโดยเฉพาะโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจึงจะผลิตได้เช่นนั้นแล้วก็ไม่ตรงกับยุทธศาสตร์ที่ว่าจะพัฒนาอย่างยั่งยืน

"วันนี้ค่าไฟแพงประชาชนควรจะได้มีทางเลือกโดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นไบโอแก๊ส,ไบโอแมส,โซล่าเซลล์,โซล่าฟาร์ม, วินฟาร์ม แต่เมื่อแผนพลังงานทดแทนไม่มีรูปธรรมที่เกิดขึ้นประชาชนจึงไม่มีทางเลือก เรื่องนี้ต้องการให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรีวิวกับกระทรวงพลังงานรวมทั้งวัดผลให้ชัดเจนว่าสัดส่วนพลังงานทดแทนเกิดขี้นที่ไหน ควรจะเกิดขึ้นจริงอย่างไรจับต้องได้หรือไม่ทำได้จริงไหมไม่ใช่เพียงบรรจุแค่แผนให้อ่าน" ดร.มัลลิกา กล่าว