DTAC เปิดมุมมองธุรกิจแห่งโลกอนาคตใน “Shift Happens: พลิกธุรกิจให้ทันวันพรุ่งนี้”

2017-09-22 18:25:32

DTAC เปิดมุมมองธุรกิจแห่งโลกอนาคตใน “Shift Happens: พลิกธุรกิจให้ทันวันพรุ่งนี้”

Advertisement

เมื่อวันที่ 16 ก.ย. “บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)” หรือ “ดีแทค” ได้จัดงาน “Shift Happens: พลิกธุรกิจให้ทันวันพรุ่งนี้” ครั้งแรกกับงานทอล์กที่ “เปิด” มุมมองธุรกิจแห่งโลกอนาคต ให้เห็นโอกาส รู้ทันความท้าทาย และ ‘พลิก’ ธุรกิจให้ประสบความสำเร็จด้วยวิธีคิดในการทำธุรกิจในโลกยุคใหม่ ที่ความอยู่รอดของธุรกิจกลายเป็นเรื่องเดียวกับการสร้างสังคมที่ดีกว่า และความโปร่งใสคือสิ่งจำเป็นในการแข่งขัน พบกับมุมมองสำคัญในการเปลี่ยน เพื่อก้าวสู่ธุรกิจทันโลก เศรษฐกิจประเทศที่เติบโต และสังคมที่ดีไปพร้อมกัน กับ 4 วิทยากรชั้นนำ



คนแรกคือ “อเล็ก รอสส์” หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญชั้นนำด้ านนวัตกรรมอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกา ที่มาในหัวข้อ “พลิกทันอนาคต (The Industries of the Future)” โดยในทัศนะของอเล็ก 5 อุตสาหกรรมที่จะพลิกโฉมเศรษฐกิจ และสังคมแห่งโลกอนาคต ได้แก่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมพันธุกรรม อุตสาหกรรมข้อมูล อุตสาหกรรมความปลอดภัยไซเบอร์ และอุตสาหกรรมบิทคอยน์ ขณะที่ “อุตสาหกรรมแห่งอนาคต” นั้นต้องมีลักษณะของการพัฒนาอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ เกิดระบบนิเวศภายในอุตสาหกรรมจน ทำให้ราคาถูกลงอย่างมีนัยสำคัญ และผู้บริโภคส่วนใหญ่ (mass) เข้าถึงสินค้าได้

นอกจากนั้น อเล็ก มองว่าสังคมแบบปิด (Closed) ที่ไร้ธรรมาภิบาล ไร้ความโปร่งใส กฎกติกาไม่เป็นธรรม คอร์รัปชันสูง สื่อถูกควบคุมจนไม่สามารถตรวจสอบได้นั้นไม่สามารถสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและ คุณภาพชีวิตให้กับผู้คนได้อย่างที่ควรจะเป็น 


เมื่อพลิกทันอนาคตแล้ว ก็มาถึงเรื่องของการ “พลิกพฤติกรรม” บ้าง กับหัวข้อ “ทำไมคนเราถึงโกง? (Why Do We Corrupt?: Understanding Corruption through Behavioral Economics)” โดย ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐศาสตร์พฤติ กรรมและการทดลอง และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ดร.ธานี ชี้ให้เห็นว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยพยายามแก้ปัญหาการติดกับประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) ด้วยความพยายามที่จะยกระดับเทคโนโลยี การค้า และการลงทุน แต่กลับละเลยการยกระดับคุณภาพสังคม แต่ตราบใดที่คนในสังคมยังมีความ ‘ขี้โกง’ และปัญหาคอร์รัปชันยังคงฝังรากลึกอยู่เช่นปัจจุบัน ประเทศไทยก็คงไม่สามารถก้าวไปสู่การเป็นประเทศรายได้สูงได้

ก่อนหน้าที่ ผศ.ดร.ธานี จะอธิบายคำถามโลกแตกที่ว่า “ทำไมคนเราถึงโกง” จากมุมมองเศรษฐศาสตร์สถาบันและเศรษฐพฤติกรรม พร้อมเผยวิธีแก้โกงด้วยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมคือ การปลูกชุดคุณธรรมสาธารณะขึ้นมาควบ คู่กับชุดคุณธรรมที่เน้นความเป็นครอบครัวสูง 


สำหรับหัวข้อต่อมาที่จะช่วยพลิกโจทย์ธุรกิจให้กับผู้ฟังได้เป็นอย่างดี กับหัวข้อ ““ดีพอ” ไม่พอถ้าแค่ดี (“Good Enough” Is Not Good Enough) โดย ลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค ซึ่งระบุว่า ดีแทคได้ ‘พลิกมุมมอง’ ให้สังคมไทยได้เห็นว่า องค์กรที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี การแข่งขันอย่างเป็นธรรม และการปลอดการทุจริตคอร์รัปชัน นั้นเป็นเรื่องเดียวกับ ‘คุณภาพ’ และ ‘ราคา’ เพราะองค์ประกอบมีส่วนช่วยสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจสามารถผลิตสิ นค้าที่มีคุณภาพดีและราคาถูกได้ และไม่ใช่แค่ผู้บริโภคเท่านั้นที่ ได้ประโยชน์ แต่สังคมโดยรวมยังดีขึ้นด้วย

ลาร์ส ได้เน้นย้ำว่า เสียงของผู้บริโภคเป็นเสียงที่ ‘ทรงพลัง’ อย่างยิ่งต่อโลกธุรกิจทุกวันนี้ เพียงแค่ผู้บริโภคตระหนักถึงพลั งของตัวเอง ลุกขึ้นมาตั้งคำถาม และเรียกร้องให้องค์กรธุรกิจต้อ งแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมเพื่อย กระดับให้คุณภาพดีขึ้น ราคาถูกลง มีบรรษัทภิบาลและมาตรฐานทางจริย ธรรม สุดท้าย ผู้บริโภคจะเป็นผู้ที่ชนะในที่สุด

ปิดท้ายกันด้วยประเด็นการ “พลิกสังคม” ภายใต้หัวข้อ “แก้เกมโกง (Shifting from the Sh*t: Lessons from Corruption Battles Around the World)” โดย ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนาม และอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์




ผศ.ดร.ประจักษ์ ชี้ให้เห็นว่าคอร์รัปชันไม่ใช่คำสาปที่ไม่อาจไถ่ถอนได้ การต่อสู้กับคอร์รัปชันทั่วโลกแสดงให้เราเห็นว่าปัญหาคอร์รัปชั นแก้ได้ และพลังจากประชาชนคือหัวใจสำคัญในการแก้ปัญหา โดยยกตัวอย่างจากหลายประเทศ อาทิ กรณีประเทศอิตาลีผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ในเมือง Palermo แคว้น Sicily ลุกขึ้นมาต่อสู้กับระบบมาเฟีย โดยการปฏิเสธการจ่ายค่าคุ้มครอง และได้รับการสนับสนุนจากผู้บริโภคในการบอยคอตธุรกิจที่สนับสนุนมาเฟีย เกิดเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง มีธุรกิจเข้าร่วมการรณรงค์นี้กว่า 1,000 กิจการ ทรัพย์สินต่างๆ ถูกยึดคืนจากกลุ่มมาเฟียและนำกลับมาให้กลุ่มประชาสังคมใช้ ประโยชน์ทางสังคม เรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติของผู้บริโภคและสังคมอย่างแท้จริง

บทเรียนจากประเทศต่างๆ บอกเราว่า การแก้ปัญหาคอร์รัปชันไม่มีคำว่ าสายเกินไปและปัญหานี้ไม่สามารถ แก้ได้จบภายในวันเดียว สิ่งที่น่ากลัวที่สุดที่ทำให้เร าติดกับดักคอร์รัปชันคือ ‘ความเฉยเมยและความกลัว’ของประชาชน ที่ยึดติดกับความคิดเดิมๆ ว่าทำไปก็เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้

ก่อนที่จะปิดงาน “Shift Happens: พลิกธุรกิจให้ทันวันพรุ่งนี้” ได้อย่างน่าประทับใจด้วยการถ้อยคำชวนขบคิดที่ว่า

“โลกไม่เคยเปลี่ยน เพราะคนส่วนใหญ่มองโลกตามความเป็นจริง แต่โลกเปลี่ยนเพราะคนกลุ่มเล็กๆ ที่มองโลกด้วยอุดมคติเสมอ”

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่คุณจะลุกขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม