รู้จัก “เงินตราสมัยอยุธยา” ที่ออเจ้าทั้งหลายเขาใช้กัน

2018-03-22 16:45:09

รู้จัก “เงินตราสมัยอยุธยา” ที่ออเจ้าทั้งหลายเขาใช้กัน

Advertisement

ได้เห็นเงินตราที่ออเจ้าทั้งหลายเค้าใช้กันในสมัยอยุธยาชัดๆ ก็เมื่อปรากฏฉากหนึ่งในละครยอดฮิต “บุพเพสันนิวาส” ตอน คุณหญิงจำปาหยิบยื่นเงินจำนวนหนึ่งให้แม่หญิงการะเกดนำไปแจกจ่ายบ่าวไพร่ให้ไปหาซื้อมุ้งมากางนอนป้องกันยุงกัดหลังเกิดเหตุไข้มาลาเรียระบาดไปทั่วพระนคร กระนั้น...ทำให้เกิดความสนใจใคร่รู้ว่า ด้วยสมัยปัจจุบันนี้เราใช้ “เงินบาท” กัน แต่สมัยอยุธยานั้น ออเจ้าทั้งหลายเขาใช้เงินอะไรกันหนา ใครอยากรู้คำตอบ...ตามมาเลย

การใช้เงินของคนไทยในอดีตนั้น เริ่มมีมาก่อนกำเนิดอาณาจักรอยุธยาแล้ว โดยมีรูปแบบคล้ายกำไรข้อมือ ทำด้วยโลหะเงินหนัก 4บาท มีตราคล้ายช่อดอกไม้ ตีประทับอยู่ 3ตรา เรียกว่า เงินกำไล จนมาถึงสมัยอยุธยาได้มีวิวัฒนาการรูปลักษณะของเงินให้มีขนาดกะทัดรัดใช้งานง่ายคล้ายตัวด้วงขดอยู่ มีตราประทับที่ด้านบน ด้านหน้า และปลายขาทั้งสอง มาตราเงินที่ใช้ในสมัยอยุธยามีทั้ง บาท สองสลึง เฟื้อง สองไพและไพ ส่วนเงินปลีกย่อยใช้ “เบี้ย” ตราที่ประทับมีตราจักรเป็นตราประจำแผ่นดิน ส่วนตราประจำรัชกาลมีหลายรูปแบบ เช่น ตราช้าง ตราบัว ตราพุ่มดอกไม้ ตรากระต่าย ตราพุ่มข้าวบิณฑ์ ตราช่ออุทุมพร ตราราชวัตร ตราพระซ่อมดอกไม้ ตราสมอ ตราหางหงส์ และตราครุฑ มีบางตราที่ยังไม่ทราบว่าเป็นของรัชกาลใด

เมื่ออยุธยากลายเป็นอาณาจักรที่เข้มเเข้ง จึงได้วางมาตรฐานของน้ำหนัก รูปร่าง และการประทับตราเพื่อแสดงถึงการผูกขาดของรัฐในการออกใช้ “เงินพดด้วง” ในสมัยนี้เงินพดด้วงมีลักษณะเกือบเป็นก้อนกลม มีตราประทับ 2 ตรา ที่ด้านบนเป็นตราธรรมจักรหรือจักร ซึ่งเป็นเครื่องหมายประจำแผ่นดิน ส่วนตราด้านหน้าเป็นเครื่องหมายประจำรัชกาล มีรูปร่างแตกต่างกันไปตามรัชกาลนั้น เช่น ในสมัยพระนารายณ์เป็นตราธรรมจักรกับพุ่มข้าวบิณฑ์




เงินพดด้วงจะมีขนาดต่างๆกัน โดยจากหลักฐานที่บันทึกไว้ในจดหมายเหตุหรือเอกสารของชาวต่างประเทศที่เข้ามาในสมัยอยุธยา สรุปได้ว่ามี 6 ขนาด คือ บาท กึ่งบาท สลึง เฟื้อง 2ไพ และไพ แต่ที่ใช้แพร่หลายมี 4ขนาด คือ บาท สลึง เฟื้อง และ2ไพ เงินพดด้วงนั้นใช้กันในวงการค้าซึ่งในสมัยอยุธยาการค้าเป็นรายได้สำคัญของรัฐ และเป็นการค้าภายใต้การผูกขาดของพระคลังสินค้า การหมุนเวียนของเงินพดด้วงในตลาดจึงจำกัดอยู่ในวงการค้าระหว่างพระคลังสินค้ากับบริษัทต่างประเทศ ส่วนการค้าของราษฎร์มีการใช้เงินพดด้วงไม่มากนัก แต่จะใช้เบี้ยเป็นเงินตราในการค้าขายมากกว่า

เบี้ย คือ เปลือกหอยเล็กๆ ที่พ่อค้าชาวต่างชาติเป็นผู้นำมาจากหมู่เกาะมัลดีฟส์ เบี้ยมีหลายชนิด เช่น เบี้ยจั่น และเบี้ยนาง เป็นต้น ราคาเบี้ยขึ้นกับจำนวนนำเข้า ตามปกติ 800 เบี้ย มีค่าเท่ากับ1เฟื้อง มีบันทึกว่า ราษฎรพกเบี้ยไปตลาดเพียง 5-10-20เบี้ยก็พอซื้อหาอาหารหรือของใช้แล้ว


ในบางสมัยมีการใช้ “ปะกับ” แทนเบี้ยเป็นเงินย่อย เช่น ในสมัยพระเจ้าบรมโกศใช้ “ปะกับ” เป็นเงินย่อย โดย “ปะกับ” ทำจากดินเผา มีลักษณะเป็นแผ่นกลมมีทั้งตราไก่ ตรากินรี ตรากระต่าย และตราสิงห์ อาจเป็นไปได้ว่าเบี้ยขาดตลาด รัฐจึงผลิตปะกับออกมาใช้แทนชั่วระยะหนึ่ง

ระบบมาตราเงินที่สำคัญในสมัยอยุธยา

1 ชั่ง เท่ากับ 20 ตำลึง

1 ตำลึง เท่ากับ 4 บาท




1 บาท เท่ากับ 4 สลึง

2 สลึง เท่ากับ 1 เฟื้อง

1 เฟื้อง เท่ากับ 4 ไพ



1 เฟื้อง เท่ากับ 50 สตางค์

1 ไพ เท่ากับ 100 เบี้ย

2 กล่ำ เท่ากับ 1 ไพ

เมื่อเทียบกับเงินในปัจจุบันเป็นมูลค่าเท่าไร



1 ชั่ง=80 บาท

1 ตำลึง= 4บาท

1 สลึง= 1/4 บาท หรือ 25 สตางค์

1 เฟื้อง = 1/8 บาท หรือ 12.5 สตางค์

1 เบี้ย = 1/6400 บาท หรือเท่ากับ 0.015625 สตางค์


ติดตามชมสารคดี “สำรวจโลก” ตอน พระราชวังแวร์ซาย ร่วมค้นหาคำตอบ...เหตุใดสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงต้องส่งคณะฑูตนำโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส และเรื่องราวความสำคัญและความสง่างามของพระราชวังแวร์ซายได้ในวันศุกร์ที่ 30 มี.ค.-วันอาทิตย์ที่ 1 เม.ย.นี้ (3 วันติดต่อกัน) เวลา 21.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ NEW18