เป็นที่ฮือฮาอย่างมากเมื่อนักแสดงดังระดับโลกอย่าง “รัสเซล โครว์” ให้ความสนใจกับการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครฯ ที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคมนี้ อาจเพราะเจ้าตัวเคยมาถ่ายภาพยนตร์และใช้ชีวิตอยู่ในกทมช่วงหนึ่ง เลยมีความผูกพันธ์และเกิดความสงสัยที่ติดอยู่ในใจหลายเรื่อง งานนี้เลยมีการฝากคำถาม ส่งตรงมาถึงผู้สมัครชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ ในรายการพิเศษ “22 พฤษภา ชี้ชะตา กรุงเทพฯ กับถกไม่เถียง” ที่ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ” ออกอากาศทางช่อง 7HD ถึง 3 คำถามด้วยกันอย่างเช่นปัญหาที่ใครๆก็อยากรู้ อย่างเรื่องการบริหารจัดการน้ำ น้ำท่วมกรุงฯ ตามด้วยเรื่องการสร้างความเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว และสุดท้ายที่ยังคงตราตรึงในใจคงไม่พ้น เรื่องสายต่างๆ ที่ระโยงระยางอยู่ทั่วกรุงฯ
นอกจากนั้นแล้วยังมีคำถามพิเศษคนดังอื่นๆอย่างเช่น ฮาย อาภาพร นครสวรรค์ หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ (หนุ่ย แบไต๋) ไบรอัน ตัน หรือ พลากร แซ่ตัน แก้ว สังกะสี ช่างทาสีชาวกัมพูชา ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) บัวขาว บัญชาเมฆ นักมวย ซึ่งทั้งหมดนี้จะฝากคำถามมาถึงผู้สมัครทั้ง 31 คนที่แบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 7 คนโดยการจับฉลากเพื่อความยุติธรรม
ทั้งหมดนี้ได้หยิบบางช่วงบางตอนจากคำถามของ “รัสเซล โครว์” ในรายการพิเศษ “22 พฤษภา ชี้ชะตา กรุงเทพฯ กับถกไม่เถียง” ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ” ร่วมด้วย ศรีสุภางค์ ธรรมาวุธ และ สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา ออกอากาศทางช่อง 7HD มาดังนี้
คำถามกลุ่มที่ 7 จาก “รัสเซล โครว์”
1.คุณจะแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ อย่างไร?
2.คุณคิดอย่างไรกับสายไฟระโยงระยาง?
3.คุณมีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้ชาวต่างชาติที่ต้องการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย?
ผู้สมัครหมายเลข 11 : น.ต.ศิธา ทิวารี
“คำถามของคุณรัสเซล โครว์ นะครับ ในเรื่องแรกก็คือ เรื่องน้ำที่เอ่อล้นแม่น้ำเจ้าพระยาครับ แม่น้ำเจ้าพระยาถ้าเกิดมีน้ำไหลมาถ้าเกิน 2,600 ร้อยลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีน้ำจะเอ่อล้นครับ โดยน้ำจะเอ่อล้นเราได้มีการป้องกันแล้วบรรจุสปีดได้ถึง 2600 ร้อยลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ได้สร้างเขื่อนไปแล้วนะครับยังเหลือจุดฟันหลออีก 11 จุด ได้นับการดูแลเยียวยาไปแล้ว 2 จุด จะมีเขื่อนที่ยังไม่สามารถทำเป็นเขื่อนได้ ดังนั้นน้ำจะลี้เข้ามาเป็น 9 จุด ต้องมีการซ่อมแซมต่อไปนะครับ”
“มาเรื่องที่ 2 นะครับเรื่องสายต่างๆ ที่ระโยงรยางอยู่เต็มเมืองตรงนี้ใช้งบประมาณอยู่ประมาณหนึ่งซึ่งถ้าเกิด กทม. สามารถใช้ได้ ก็น่าจะแก้ไขไปนานแล้วเพราะมีคนติงเรื่องน้ำมาเป็น 10 ปีแล้วนะครับ แต่ไม่สามารถทำได้ ต้องยอมรับงบประมาณของ กทม. ณ ปัจจุบันมีจำกัด และมีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างอื่นนะครับ เอาสายลงใต้ดินทั้งหมดมีมากกว่าปกติถึง 3 เท่า น่าจะต้องทยอยทำไปเรื่อย แต่ต้องเรียนว่า ปัญหาน้ำท่วมก็เป็นปัญหาน้ำท่วมอยู่ แบบนี้สายต่างๆที่เอาลงไปก็จะเกิดปัญหาสายหลุดลอกไป”
“เรื่องที่ 3 ครับเรื่องการเป็นเฟรนด์ลี่กับนักท่องเที่ยวครับ คนไทยถ้าเกิดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเยอะๆ เราต้องยอมรับเขา เราต้องฝึกภาษาอังกฤษและก็เรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับเด็กๆได้เข้าใจ และเราจะสามารถสื่อสารให้กับชาวต่างชาติได้ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลนักท่องเที่ยวชาติอื่นก็ต้องไปติดต่อการสอนภาษาให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวกับเราเยอะๆ จะเป็นจีนหรืออะไรก็แล้วแต่ครับ ซึ่งตรงนี้ครับ ณ ปัจจุบันอยากมาเที่ยวเมืองไทยมากแต่เขานั้นผันตัวเองไปอยู่ใน Digital economy กันหมด เพราะไงกทมต้องเป็นเมืองทันสมัยรู้จักเอาใจคนที่เป็น Digital economy เขาอยากจะเป็น Work from Bangkok อำนวยความสะดวกให้เขาครับ ทั้ง 3 ข้อคือคำถามทั้งหมดที่ถามมาครับ” น.ต.ศิธา กล่าว
ต่อด้วย นาย “วิทยา จังกอบพัฒนา” หมายเลข 31
“เรื่องน้ำท่วมนี่ กรุงเทพเนี่ย มันมี 3 น้ำด้วยกัน คือน้ำเหนือ น้ำฝน แล้วก็น้ำจากอ่าวไทยนะครับ น้ำฝนนี่มันป้องกันลำบากเพราะว่ามาเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ อาจจะพยากรณ์ได้ว่ามีพายุเข้า อันนี้ก็เตรียมตัวล่วงหน้าได้ ส่วนน้ำจากเหนือนี่เราก็ยิ่งเตรียมตัวได้เร็ว เพราะว่ากว่าจะมาถึงนี่เป็น 2 วัน 3 วัน มาถึงกรุงเทพนะครับ ส่วนอ่าวไทยเนี่ยมันอยู่ที่น้ำขึ้นน้ำลง เพราะฉะนั้น แต่อ่าวไทยนี่มันป้องกันลำบาก เพราะว่ามันกว้างนะครับ เอ่อก็ต้องจัดว่าเราเตรียมพร้อมว่า อย่างเจ้าพะยาเนี่ยเราอาจจะต้องกั้นคันสูงนะครับ แล้วข้างๆก็มีแก้มลิงด้วยนะครับ วิธีแก้ก็มีแค่นี้เอง”
“ส่วนสายไฟระโยงระยางเนี่ย ทุกประเทศเค้าก็เอาลงใต้ดิน แต่เค้าแต่ละประเทศเค้าก็ไม่ได้เอาลงหมดนะครับเค้าก็มีเหลือ แต่ของไทยเนี่ยเงินเรามันน้อย แล้วมันเป็นเรื่องของการไฟฟ้านครหลวง กทม.จริงๆไม่เกี่ยวเลยนะครับ จริงๆต้องไปขออนุญาตด้วยซ้ำ แล้วก็คงต้องค่อยทำค่อยไปคือริมถนนเนี่ยมันเป็นตึกแถวมันระโยงระยางมันลำบาก จะต้องใช้แบบว่าเป็นตึกใหญ่แล้วก็มีตู้สายไฟนะครับฉะเพาะที่ อย่างนี้ก็จะช่วยได้นะครับไม่ต้องลงทุนเยอะมันต้องค่อยทำค่อยไปนะครับจะมารื้อทั้งระบบทีเดียวมันเสียเงินเยอะมาก ต่างประเทศเค้ายังทำไม่หมดเลยนะเว้นบางที่ไว้”
“แล้วก็ส่วนนักท่องเที่ยวนี่นะครับเราจะต้องฝึกนักเรียนของเราให้เป็นไกด์ได้นะครับ แล้วก็เอ่อช่วยเหลือเค้าโดยใช้ให้เค้าเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น ให้เค้าเรียนรู้วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งจะเป็นการพบปะแล้วก็ทักทายกันได้ ทำให้เค้าอบอุ่นนะครับ” นายวิทยา กล่าว
นายพงศา ชูแนม หมายเลข 30
“ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสัมพันธ์โดยตรงกับการที่น้ำท่วมกรุงเทพ กทม.ได้มีโครงสร้างพื้นฐานใช้งบประมาณไว้เยอะมาก แต่ไม่ได้เชื่อมโครงสร้างพื้นฐานกับเทคโนโลยีและวิธีการแก้ปัญหา เราจึงนำเสนอเป็นนโยบายของพรรคกรีนว่าจะใช้ซุปเปอร์คอมมิตเตอร์ พยากรณ์ปริมาณทั้งปริมาณน้ำฝน น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วไปสัมพันธ์กับเทคโนโลยีระบบการพร่องน้ำนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดการพร่องน้ำล่วงหน้า พอรู้ว่าฝนจะตก ณ ที่นี่ ปริมาณเท่านี้ แม่น้ำเจ้าพระยามีความสูงระดับนี้ ก็เชื่อมต่อไปสู่ระบบแล้วมันจัดการด้วยตัวมันเอง วันนี้เราขาดแค่นี้เองนะครับ ซึ่งไม่ได้ยากเย็นเลยที่จะทำแบบนี้ มันเป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพไปแล้วนะครับว่ากรุงเทพบ้านเมืองนี้ร้อนร้ายวุ่นวายและรุงรัง ถ้าเห็นเสาไฟฟ้าที่ไหนรุงรังก็บอกไว้เลยว่าเป็นกรุงเทพ วิธีแก้เป็นหาก็คือส่วนที่มันเป็นแลนด์มากส์จริงๆ ก็เอาลงดินซึ่งตอนนี้กำลังทำอยู่แล้ว แต่แน่นอนครับว่าเราไม่มีงบประมาณมากขนาดนั้น ก็ปรับปรุงและใช้ต้นไม้เรามีแนวทางเรื่องการสร้างเส้นทางสีเขียวทะลุทุกมิติใช้ต้นไม้ให้เพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพโดยการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนปลูกต้นไม้ขึ้นโดยให้ค่าตอบแทนตารางวาละ 100 ก็จะทำให้คนกรุงเทพปลูกต้นไม้สามารถบดบังสายไฟและจัดระบบให้เป็นสีเขียวแทน ซึ่งจะทำให้สวยงามและก็เดินไปตามขั้นตอนของมันครับ ครับในคำถามว่ากรุงเทพจะให้สวยงามและเป็นมิตรภาพกับคนทุกคนเนี่ย เนื่องจากกรุงเทพรู้สึกเหมือนกับว่าประหนึ่งว่าเป็นเมืองอาชญากรรมและไม่ได้รับการดูแล ความคิดเรื่องดวงตาสวรรค์ก็คือเชื่อมล็อคเชนกล้องวงจรปิดว่ากล้องวงจรปิดทั้งของรัฐทั้งของเอกชนและในยานพาหนะ เพื่อที่จะสร้างระบบ ai สังเกตุพฤติกรรมว่า พฤติกรรมอย่างนี้อาชญากรรมรึป่าว แล้วก็สร้างมิสเตอร์กรีน
มิสเตอร์กรีนคืออาสาสมัครผู้มีจิตอาสา อยู่ตามชุมชนอยู่ตามท้องที่ต่างๆ คนใส่เสือสีเขียวเป็นมิสเตอร์กรีนคอยรับรู้เรื่องราวคอยสนใจปัญหาเชื่อมต่อไปถึงศาสนและเชื่อมไปยังผู้ว่า” นายพงศา กล่าว
