ภาวะฮีทสโตรก
ภาวะฮีทสโตรกหรือภาวะลมแดด เกิดจากความร้อนที่สูงเกินไป ซึ่งความร้อนที่สูงเกินไปในแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะของสาเหตุ คือ
-ภาวะที่มีอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นจากการที่ร่างกายของเราและมีการเผาผลาญพลังงานที่สูงขึ้น จะทำให้เกิดภาวะไข้หรือว่าการที่มีความผิดปกติทางสมองทำให้ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิในร่างกายได้ มักจะเจอกันบ่อยได้แก่ ภาวะที่มีอุณหภูมิภายนอกสูงได้แก่ในฤดูร้อน ที่มีอุณหภูมิมากกว่า 35 องศาเซลเซียสขึ้นไป
-สภาพแวดล้อมมีความชื้นสัมพัทธ์สูง การที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูงจะทำให้ร่างกายของเราไม่สามารถขับเหงื่อออกมาได้ ก็จะทำให้ไม่มีทางออกของอุณหภูมิส่งผลให้ให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น
อาการที่เกิดขึ้นจากความร้อน แบ่งออกได้หลายระดับ ตั้งแต่ปวดเมื่อยเนื้อตัวธรรมดา รู้สึกอ่อนล้า จนถึงหมดสติไม่รู้สึกตัว เป็นอาการปกติไม่รู้สึกตัวจากความร้อน ซึ่งเป็นอาการที่เด่นชัดที่สุดภาวะฮีทสโตรก ถ้าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้มีการเสียชีวิตได้
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อภาวะฮีทสโตรก ?
-กลุ่มคนที่ทำงานกลางแจ้งที่สัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
-คนสูงอายุหรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง เนื่องจากถ้าบุคคลเหล่านี้อยู่ในห้องที่ปิดตาย ไม่มีอากาศที่ไทยไม่มีลมพัดพาความร้อนไปได้ จะทำให้ต้องอยู่กับอุณหภูมิที่สูงเป็นเวลานานสุดท้ายก็จะทำให้ไม่สามารถขับเหงื่อไปได้แล้วก็จะเกิดเป็นภาวะฮีทสโตรก
-นักกีฬา เช่น การวิ่งมาราธอนต่าง ๆ ที่จะต้องสัมผัสอากาศที่ร้อนหรือความชื้นที่สูงทำให้ไม่สามารถขับเหงื่อได้ ก็จะทำให้เกิดภาวะที่จะเสี่ยงต่อภาวะฮีทสโตรกมากขึ้นกว่าบุคคลอื่น
-คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันเลือด ที่ต้องทานยาขับปัสสาวะ
-คนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นตัวปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะฮีทสโตรกได้มากกว่าคนปกติทั่วไป
การดูแลและป้องกันภาวะฮีทสโตรก
-ดื่มน้ำปริมาณมากกว่าปกติ ประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน
-การหลีกเลี่ยงน่าจะอยู่ที่การแจ้งว่าอยู่ในที่ปิด
-ถ้าจำเป็นที่จะต้องอยู่บ้านในระยะเวลานาน ๆ ควรที่จะเปิดหน้าต่างเปิดแอร์
หากเจอผู้ป่วยที่มีอาการฮีทสโตรกต้องแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ ผู้ป่วยที่หมดสติและไม่หายใจให้ โทร 1669 หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อเข้ารักษาผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว และทำการ CPR ผู้ป่วย ณ บริเวณนั้น แต่ถ้าผู้ป่วยยังสามารถหายใจได้ให้นำผู้ป่วยเข้าที่ร่มและคลายเสื้อผ้าของผู้ป่วยออก ร่วมกับการเช็ดตัวด้วยผ้าเย็น หรือใช้การฉีดสเปรย์เพื่อระบายความร้อน ร่วมกับการเปิดพัดลมได้
อ.นพ.กานต์ สุทธาพานิช ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล