"ซูเปอร์โพล"เผยผลสำรวจ ปชช. เขื่อมั่นรัฐบาลช่วยเหลือยามวิกฤต จัดแก้ปัญหาต่าง ๆ ช่วงวิกฤตโควิด และผลกระทบการสู้รบ "ยูเครน-รัสเซีย"
เมื่อวันที่ 5 มี.ค.นายนพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง วิกฤตโควิดและสงครามยูเครน กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศจำนวน 1,145 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1 – 4 มี.ค. 2565 ที่ผ่านมา พบว่า เมื่อถามถึง ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในสถานการณ์วิกฤตโควิดและการสู้รบระหว่างยูเครน กับ รัสเซีย ผลสำรวจพบ อันดับ 1เชื่อมั่นต่อมาตรการช่วยเหลือประชาชนด้านต่าง ๆ ยามวิกฤต เช่น โครงการคนละครึ่ง ร้อยละ 82.4 อันดับ 2 เชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแสดงท่าทีเป็นกลางทางการเมืองระหว่างประเทศ ยึดหลักมนุษยธรรมสากล เรียกร้องการถอนทหาร ในวิกฤตการสู้รบระหว่างยูเครน กับ รัสเซีย ร้อยละ 78.5 อันดับ 3
เชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการจัดการแก้ปัญหาต่าง ๆ ช่วงวิกฤตโควิด และผลกระทบจากการสู้รบระหว่าง ยูเครน กับ รัสเซีย ร้อยละ 73.4 อันดับ 4 เชื่อมั่นต่อการจ้างงาน การมีงานทำของคนไทย ร้อยละ 69.3 อันดับ 5 เชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอย ซื้อสินค้า และ บริการ ในอีก 6 เดือนข้างหน้า ร้อยละ 65.2
เมื่อถามถึง ความต้องการของกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย ฐานรากเศรษฐกิจประเทศ ผลสำรวจพบว่า อันดับ 1 ต้องการกู้เงิน เสริมสภาพคล่อง ร้อยละ 95.1 อันดับ 2 ต้องการได้เงินกู้ตามจำนวนที่เพียงพอต่อการทำธุรกิจ ร้อยละ 94.4 อันดับ 3 ต้องการใช้เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย อำนวยประโยชน์ด้านการค้า การลงทุน คนรุ่นใหม่ ร้อยละ 92.8 อันดับ 4 ต้องการหน่วยงานรัฐ ช่วยค้ำหลักประกันให้เพียงพอ ร้อยละ 90.1 อันดับ 5 ต้องการช่องทางเพิ่มรายได้ ขยายตลาด ร้อยละ 85.5
เมื่อถามถึง ความต้องการของกลุ่มเกษตรกร ผลสำรวจพบว่า อันดับ 1 ช่วยแก้ปัญหาภาระหนี้ และหนี้นอกระบบ ร้อยละ 94.8 อันดับ 2 ลดต้นทุนการผลิต ร้อยละ 88.7 อันดับ 3 เทคโนโลยี เพิ่มผลผลิตและรายได้ ร้อยละ 82.5 อันดับ4 มีตลาด ขายสินค้าตรงผู้ซื้อ ตัดพ่อค้าคนกลาง ร้อยละ 80.8 อันดับ 5 สนับสนุน การแปรรูปผลผลิตการเกษตร ร้อยละ 69.2
เมื่อถามถึง ความต้องการของกลุ่มมนุษย์เงินเดือน ผลสำรวจพบว่า อันดับ 1 ต้องการมีรายได้พิเศษเพิ่ม จากหลากหลายช่องทาง เช่น อาชีพเสริม โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ ร้อยละ 91.1 อันดับ 2 ช่วยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ร้อยละ 84.6 อันดับ 3 ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ร้อยละ 82.1 อันดับ 4 การศึกษา และพัฒนาทักษะ อาชีพ ร้อยละ 80.9 อันดับ 5การใช้เทคโนโลยีในการทำงาน หารายได้พิเศษ ร้อยละ 75.3
เมื่อถามถึง ความหวัง หรือ ความกลัว เมื่อมองถึงอนาคตของประเทศไทยในอีก 12 เดือนข้างหน้า ผลสำรวจพบว่า ยังมีความหวังที่จะก้าวต่อไป ร้อยละ 75.6 ขณะที่ รัอยละ 24.4 กลัวที่จะเดินไปข้างหน้า