"บิ๊กโจ๊ก" เปิดปฏิบัติการตรวจประมงกว่า 1 หมื่นลํา ก่อนออกใบอนุญาต ป้องกันการทำประมงผิดกฎหมาย
เมื่อวันที่ 14 ก.พ. ท่าเทียบเรือองค์การสะพานปลาสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. ประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวังการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นประธานในการเปิดปฏิบัติการการตรวจเครื่องมือประมงแบบบูรณาการเพื่อประกอบการออกใบอนุญาตประมงพาณิชย์ รอบปีพ.ศ. 2564 – 2567 โดยมีหน่วยงานเข้าร่วม ประกอบด้วย กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ศูนย์รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ตามพระราชกําหนดการประมง พ.ศ. 2558 ได้กําหนดให้เรือประมงพาณิชย์ที่จะออกทําการประมงต้องมี ใบอนุญาตจากกรมประมง คราวละ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. – 31 มี.ค. ของแต่ละรอบ โดยได้ปฏิบัติ สืบเนื่องกันมา 3 ครั้งแล้ว ได้แก่ ช่วงปี 2559- 2561 ช่วงปี 2561 – 2563 และช่วงปี 2563 – 2565 โดยที่ ใบอนุญาตทําการประมงกําลังจะสิ้นสุดอายุลงในวันที่ 31 มีนาคม 2565 เจ้าของเรือประมงพาณิชย์จึงต้องยื่นขอ ใบอนุญาตรอบใหม่ ซึ่งกรมประมงจะต้องออกใบอนุญาตให้ภายในวันที่ 31 มี.ค.2565
ทั้งนี้ในการยื่นขอใบอนุญาตทําการประมงดังกล่าว ปกติกรมประมงจะดําเนินการตรวจสอบมาตรฐานเครื่องมือ ประมงและจัดเก็บข้อมูลเรือประมงทุกลํา แต่ยังมีข้อมูลบางประการที่ต้องการความรู้ ความชํานาญ จากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เช่น กรมเจ้าท่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มาร่วมเติมเต็มให้ระบบตรวจสอบ ควบคุม และเฝ้า ระวังการทําประมง ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นในการขอรับใบอนุญาตทําการประมงของเรือประมงพาณิชย์ ครั้งนี้ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ จึงประสานงานให้บูรณาการการตรวจเรือประมงพาณิชย์จากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งระบบ ครบวงจร โดยกรมประมงรับผิดชอบการตรวจมาตรฐานเครื่องมือประมง กรมเจ้าท่ารับผิดชอบการตรวจ อัตลักษณ์เรือประมง และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับผิดชอบการตรวจเรือประมงเพื่อส่งเสริมให้แรงงานบน เรือประมงมีสภาพการทํางานที่สอดคล้องตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทํางาน ยิ่งไปกว่านั้น พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ยังได้จัดชุดปฏิบัติการจากสํานักงานตํารวจแห่งชาติ หรือ หน่วย “IUU Hunter” เข้าร่วมการตรวจเรือประมงในครั้งนี้ด้วย เพื่อยกระดับการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง ให้การประมงไทย ปราศจากการประมง IUU ปราศจากแรงงาน บังคับ ปราศจากการค้ามนุษย์ อย่างแท้จริง โดยดําเนินการตรวจเรือประมงพาณิชย์กว่า 10,000 ลํา ที่จะขอรับ ใบอนุญาตทําการประมงพาณิชย์ ในช่วงเดือน ก.พ.– มี.ค. 2565 นี้ ซึ่งพี่น้องชาวเรือประมงพาณิชย์ สามารถนัดหมายเข้าทําการตรวจได้ที่ ศูนย์แจ้งเข้าออกเรือประมง (PIPO) หรือสํานักงานประมงจังหวัดทุกแห่ง
พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า การบูรณาการตรวจเรือประมงทั้งระบบครั้งนี้ เป็นปฏิบัติการยกระดับ ประสิทธิภาพการตรวจสอบ ติดตาม และเฝ้าระวังการทําประมง (MCS) ของประเทศไทย เพื่อมุ่งสู่บทบาทผู้นําการต่อต้านประมง IUU ในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนั้นยังเป็นการขับเคลื่อนให้เห็นถึงความพยายามของประเทศไทย อย่างเต็มที่ ในการบังคับใช้กฎหมาย ปรับปรุงระบบการทํางาน เพิ่มพูนความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่ และ ประสานความร่วมมือจากพี่น้องชาวประมง เพื่อเลื่อนอันดับการค้ามนุษย์จาก ลดอันดับไทยตกเทีย เป็น เทีย 2″ โดยจัดกําลังชุดปฏิบัติการ IUU Hunter จากสํานักงานตํารวจแห่งชาติ จํานวนกว่า 100 นาย เข้าร่วม ปฏิบัติการตรวจครั้งนี้ด้วย เจ้าหน้าที่ชุด IUU Hunter จะลงพื้นที่ทุกจุดตรวจใน 22 จังหวัดชายทะเล ร่วมกับ กรมประมง กรมเจ้าท่า และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และจากการที่ผมกําลังรื้อฟื้นการสืบสวนสอบสวน ทุกคดีที่เกี่ยวข้องกับกรณีลูกเรือประมงตกน้ําสูญหาย 231 ราย ในรอบ 2 ปี ซึ่งเป็นที่จับตามองของภาคประชาสังคม เพื่อทําความกระจ่างให้เกิดขึ้นกับเหตุการณ์ความสูญเสียที่ผ่านมาครั้งนี้จึงจัดให้มกีารตรวจดังกล่าวเพื่อส่งเสริม มาตรฐานความปลอดภัย และอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานบนเรือประมง ขึ้นเป็นครั้งแรกของ ภูมิภาคอาเซียน เพื่อแสดงความมุ่งมั่นตั้งใจของประเทศไทยที่จะแก้ไขปัญหา และกําหนดมาตรการส่งเสริม ป้องกัน มิให้เกิดเหตุขึ้นต่อไปในอนาคต แต่หากมีเหตุเกิดขึ้น การบังคับใช้กฎหมายจะมีความเป็นระบบ ชัดเจน สามารถนําตัว ผู้กระทําผิดมาลงโทษได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งเพิ่มความรวดเร็วในการเยียวยาความเสียหายให้กับครอบครัวหรือญาติ มิตร ในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งผมมั่นใจว่านี่คือการทํางานตามมาตรฐานสากล
พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า ในการตรวจครั้งนี้ พล.อ.ประยุทธฺ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ เน้นย้ําให้เจ้าหน้าที่ทุกคน อํานวยความสะดวก ให้กับพี่น้อง ชาวประมง ดําเนินการตรวจให้รวดเร็ว คล่องแคล่ว ว่องไว เรือที่ผ่านการตรวจจะได้รับเครื่องหมายติดไว้บริเวณหน้า เก๋ง เป็นสัญลักษณ์ว่า เรือประมงลํานี้มีความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะทําการประมงอย่างยั่งยืน สามารถเข้าถึงนโยบายการ สนับสนุนต่าง ๆ จากภาครัฐที่จะมีขึ้นต่อไปในอนาคต ทาง พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. จึงสั่งการให้ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. ศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว และป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผอ.ศพดส.ตร.) และ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ รอง ผอ.ศพดส.ตร. รองประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทําประมงผิดกฎหมายให้ดําเนินการแก้ไข ปัญหาการทําประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมโดยเร่งด่วน