ศึกนี้มีเดือด “ดูเตอร์เต-ฮุนเซน” ชิงรางวัลสันติภาพขงจื๊อ 2017

2017-12-19 15:20:35

ศึกนี้มีเดือด “ดูเตอร์เต-ฮุนเซน” ชิงรางวัลสันติภาพขงจื๊อ 2017

Advertisement

ในขณะที่คนทั่วโลกรู้จักรางวัลอันทรงเกียรติและอิทธิพลอย่าง รางวัลโนเบล อาจมีไม่มากนัก ที่จะรู้จักรางวัลที่มีชื่อว่า “รางวัลสันติภาพขงจื๊อ (Confucius Peace Prize)” หรือรางวัลโนเบลในเวอร์ชั่นของจีน ที่นักธุรกิจแดนมังกรดำริสร้างสรรค์ขึ้นมาเองเมื่อปี 2010


ภาพ TANG CHHIN SOTHY / AFP

สำหรับรางวัล “รางวัลสันติภาพขงจื๊อ” ประจำปี 2017 นี้นั้น 2 รายชื่อของผู้เข้าชิงนั้นมี 2 ผู้นำของ 2 ประเทศคือ โรดริโก ดูเตอร์เต ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ และ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาอยู่ด้วย ส่วนผลการตัดสินนั้นจะออกมาภายในเดือน ธ.ค. นี้ โดยผู้ที่ได้รางวัลจะได้รับรางวัลเหรินหมินปี้ 100,000 หยวน (หรือกว่า 495,000 บาท)

รางวัลสันติภาพขงจื๊อ ริเริ่มขึ้นมาโดยองค์กรในสาธารณรัฐประชาชนจีนตามที่ได้รับการเสนอโดยนักธุรกิจ หลิว จือชีน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2010 เพื่อตอบโต้ที่ หลิว เซี่ยวโป นักต่อต้านคอมมิวนิสต์และนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศจีน ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2010 จนได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นรางวัลที่เกิดขึ้นเพื่อ "ประชด" รางวัลโนเบลนั่นเอง

กระนั้นคณะกรรมการรางวัลสันติภาพขงจื๊อก็ยืนยันว่ารางวัลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสันติภาพของโลกจากมุมมองของโลกตะวันออก แม้ว่าผู้ได้รับการเสนอชื่อและรับรางวัลแต่ละคนนั้นต่างก็มีชื่อเสีย(ง)ในด้านสันติภาพอยู่เนืองๆ อย่าง ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ถูกเสนอชื่อจากนโยบายนองเลือดจากการการปราบปรามผู้ค้าผู้เสพยาเสพติดตลอดปีที่ผ่านมา ขณะที่นายกรัฐมนตรีกัมพูชานั้นจากชื่อเสียงในด้านการลิดรอนเสรีภาพของสื่อมวลชน รวมถึงล่าสุดที่มีคำสั่งปิดสำนักงานสิทธิมนุษยชนที่ก่อตั้งโดยนายแกม สุขะ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน


ภาพ ATHIT PERAWONGMETHA / AFP





ภาพ TANG CHHIN SOTHY / AFP
ทั้งนี้รัฐบาลจีนยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับรางวัลนี้โดยสิ้นเชิง




สำหรับผู้ที่เคยได้รับรางวัลสันติภาพขงจื๊อ ในปีก่อนหน้านี้มีตั้งแต่ เลี่ยน ชาน อดีตประธานพรรคก๊กมินตั๋ง (2010) วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย (2011) โคฟี แอนนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ (2012) ฟิเดล คาสโตร (2014) และ โรเบิร์ต มูกาเบ อดีตประธานาธิบดีประเทศซิมบับเว (2015) ซึ่งทุกคนล้วนแต่ไม่ได้มาร่วมรับรางวัลด้วยตัวเอง โดยในปีที่ ปูติน ได้รางวัลนั้น ทีมงานได้มอบรางวัลให้กับนักเรียนชาวรัสเซีย 2 คนในนามของ ปูติน ทั้งที่ไม่มีความเกี่ยวดองใดๆ กับประธานาธิบดีรัสเซียเลยแม้แต่น้อย