สธ.พบสาวไทย 1 รายติดเชื้อ "โอมิครอน"ภายในประเทศ จากสามีนักบินชาวโคลอมเบีย
เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงสถานการณ์โรคโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอนในประเทศไทย ว่า ขณะนี้ พบการติดเชื้อใน 89 ประเทศแล้ว อาจจะมีมากกว่านี้เพราะบางประเทศอาจจะไม่ได้มีความสามารถในการถอดรหัสพันธุกรรม ขณะนี้พบโอมิครอน 3 สายพันธุ์ BA 1 , BA 2และ BA 3 อย่างไรด็ตามพื้นฐานยังมีเป็น BA 1 ในส่วนของประเทศไทย โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการตรวจสายพันธุกรรม 5 ตำแหน่งนั้นยืนยันว่ายังสามารถตรวจเจอได้ ส่วนความสามารถในการแพร่โรคนั้นพบว่าสายพันธุ์อู่ฮั่น 1 คนแพร่ต่อได้ 2.5 คน สายพันธุ์เดลต้า 1 คน แพร่เชื้อต่อได้ 6.5 คน ส่วนสายพันธุ์โอมิครอน 1 คนสามารถแพร่ต่อได้ 8.45 คน สุดท้ายโอไมครอนจะเบียดเดลต้าแต่อาจจะใช้เวลา ขณะที่ความรุนแรงของโอไมครอน จากข้อมูลในแอฟริกากราฟผู้ป่วยนอน รพ.และเสียชีวิตไม่ได้ชันไปกว่าเดิม
นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า องค์การอนามัยโลก ระบุชัดว่ามีผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง แต่ไม่กระทบต่อทีเซลล์ ซึ่งเป็นกลไกของร่างกายในการต่อสู้กับเชื้อโรค ทั้งนี้วัคซีนที่เป็น Booster dose จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลของวัคซีนชัดเจนดังนั้นประเทศไทยจึงมีการกระตุ้นให้ประชาชนมารับวัคซีนเข็ม 3 จึงเป็นนโยบายที่ถูกต้องและจะช่วยให้ลดปัญหาลง ประเทศไทยพบติดเชื้อโอไมครอน 63 ราย คิดเป็น 3% จากเดิม 1 % เป็นคนเดินทางมาจากประเทศ ทั้งนี้ 1 ใน 4 ผู้เดินทาง ตรวจ RT-PCR จะเจอโอไมครอน ถือว่าค่อนข้างเร็ว ทั้งนี้ยังมีความเชื่อมโยงกับผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ยังไม่พบผู้คิดเชื้อตั้งต้นในไทย อย่างไรก็ตาม เราต้องชั่งน้ำหนักว่าถ้าเรายังให้มีระบบ Test and go แบบเดิมก็จะมีกรณีที่หลุดและถ้าหากไม่มีอาการป่วยอะไรก็อาจจะไปแพร่เชื้อสู้คนอื่นได้ นั่นก็จะเป็นคลัสเตอร์ในประเทศเกิดขึ้นได้
ด้าน นพ.จักรรัฐ วงศ์พิทยาอานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้พบการติดเชื้อโอมิครอน หลายคลัสเตอร์ โดยล่าสุดคือกรณีผู้ติดเชื้อสามีเป็นนักบินชาวโคลอมเบีย เดินทางมาจากไนจีเรียเข้าไทยวันที่ 26 พ.ย. ผ่านระบบ sandbox ผลตรวจRT-PCR เป็นลบ และยังอยู่ในระบบแซนด์บ็อกซ์ที่กรุงเทพฯ การเดินทางใช้รถจักรยานยนต์ ไม่ได้พบปะผู้คนมากนัก และสวมหน้ากากอนามัย วันที่ 1 ธ.ค.เดินทางด้วยรถ จยย. ไปขอฉีดวัคซีนเข็ม 3 เป็นไฟเซอร์ที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง วันที่ 2 ธ.ค.หลังฉีดวัคซีนมีไข้ตรวจ ATK เป็นลบ เอกซเรย์ปอดปกติ อาการไข้ยังทรงๆ วันที่ 3 ธ.ค. ครบกำหนด 7 วันตามโปรแกรมจึงโดยสารรถของโรงแรมกลับบ้านที่ปทุมธานีอยู่กับภรรยา 2 คน วันที่ 4 ธ.ค. มีไข้เจ็บคอ เหนื่อยมากขึ้น วันที่ 6 ธ.ค. ตรวจ ATK ผลเป็นลบ วันที่ 7 ธ.ค. อาการไม่ดีขึ้น ภรรยาพานั่งแท็กซี่ ไปรพ.แห่งหนึ่งตรวจโควิดผลเป็นบวก รักษาตัวในรพ. ส่วนภรรยานั่งรถกลับไปกักตัวที่บ้าน จากนั้นวันที่ 8 ธ.ค.ภรรยาไปตรวจที่รพ.แห่งหนึ่งผลเป็นบวก ส่วนผลการตรวจสายพันธุ์ของสามีพบว่าเป็นโอมิครอน เป็นโรคเบาหวาน พบเชื้อลงปอด แต่ตอนนี้อาการดีขึ้นแล้ว กรณีนี้ สรุปว่าภรรยาเป็นรายแรกที่ติดเชื้อจากสามีที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และนับเป็นรายแรกที่มีการติดเชื้อในประเทศไทย ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงคือคนขับรถแท็กซี่ ซึ่งอยู่ระหว่างการควบคุมโรค ตรวจหาเชื้อครั้งแรกเป็นลบ จะครบการกักตัว 14 วัน ในวันที่ 22 ธ.ค.นี้ ส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 89 ราย ตรวจไม่พบเชื้อ
สำหรับคลัสเตอร์ของผู้เดินทางกลับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จากซาอุดิอาระเบีย 3 ราย โดยการสอบสวนโรคพบว่าวันที่ 13-14 ธ.ค. มีผู้เดินทางกลับมาจากซาอุดิอาระเบียทั้งสิ้น 133 ราย ที่จังหวัดภูเก็ต ในระบบ Test & Go ถือเป็นผู้สัมผัสทั้งหมดตรวจ rt-pcr รอบแรกพบติดเชื้อ 3 คน ในจำนวนนี้เป็นเชื้อเดลต้า 2 ราย เป็นเพศชาย อายุ 48 ปี ฉีดแอสตร้า 2 เข็ม ไม่มีอาการ มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 2 ราย, หญิงไทย อายุ 40ปี ฉีดแอสตร้าฯ 2 เข็ม พบสัมผัสเสี่ยงสูงคือสามี 1 ราย ส่วนอีก 1 รายเป็นเชื้อโอไมครอน เป็นชายไทย อายุ 36 ปี มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ปวดศีรษะ คัดจมูกน้ำมูกไหล รับวัคซีน 3 เข็มแล้วเป็นซิโนแวค 2 เข็มและไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 3 มีผู้สัมผัสเสียงสูงที่นอนห้องเดียวกัน 1 ราย ย้ำคนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศขอให้สมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาและคิดเสมอว่าคนรอบข้างมีการติดเชื้ออยู่ ทั้งหมดนี้ จะติดตามจนครบ 14 วัน ในวันที่ 27 ธ.ค.นี้ ผลตรวจผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้งหมด 4 ราย และเสี่ยงต่ำ 126 ราย เป็นลบทั้งหมด จะตรวจครั้งที่ 2 วันนี้และวันพรุ่งนี้ ทั้งนี้ นี่เป็นเหตุผลที่อยากเน้นย้ำตนไทยที่เกดินทางไปต่างประเทศขอให้ปฏิบัติตัวสวมหน้ากากอนามัย หน้ากากผ้าตลอดเวลา คิดเสมอว่าคนรอบข้างมีการติดเชื้ออยู่ ต้องป้องกันตัวเองขั้นสูงสุด
สำหรับอีกหนึ่งคลัสเตอร์ ที่เดินทางไปซาอุดิอาระเบียเช่นกัน แต่กลับมาคนละวันกัน โดยคณะนี้เดินทางมาทั้งหมด 31 คน กลับเข้าในระบบ Test and Go Top ติดเชื้อโควิค 14 ราย อยู่ระหว่างการตรวจหาสายพันธุ์สงสัยว่าเป็นเชื้อโอมิครอน ทั้งหมด วันที่ 19 มีการติดตามตรวจหาเชื้อเพิ่มเติมก็พบติดเชื้อเพิ่มอีก 2 ราย รักษาในรพ.อีกจังหวัดหนึ่ง จากนั้นมีการตรวจเพบเพิ่มอีก 2 รายอยู่ระหว่างการดูแลที่ รพ.พระนครศรีอยุธยา สรุปคลัสเตอร์นี้ มีการกักตัวใน 3 จังหวัดคือนนทบุรี กักตัวที่โลคอลควอรันทีน 6 ราย อยุธยา 4 ราย ปทุมธานีทำโฮมควอรันทีน 3 ราย อีก 2 ราย โดยสรุปในจำนวน 31 ราย ที่เดินทางเข้ามาติดเชื้อทั้งหมด 18 ราย เป็นโอไมครอน 6 ราย เดลตา 8 ราย รอตรวจสายพันธุ์ 2 ราย โดยโอมิครอน พบอยู่ที่ นนทบุรี 3 ราย ปทุมธานี 1 ราย พระนครศรีอยุธยา 1 ราย นครราชสีมา 1 ราย
นพ.จักรรัฐ กล่าวต่อว่า ทั่วโลกมีการติดเชื้อ มีการชี้ประเด็นว่าโอมิครอน ติดเชื้อเพิ่ม 2 เท่าในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ในส่วนของประเทศไทยคนที่เดินทางเข้ามาจากต่างประเทศนั้นมีการบันทึกและเก็บข้อมูลทุกวัน โดย 19 วันแรก ของเดือน ธ.ค.มีคนทางเข้ามามากกว่าเดือน พ.ย.ถึงเดือน 138,000 กว่าคน โดยเฉพาะ Test and Go เข้ามาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ 4-5 วันที่ผ่านมา มีผู้เดินทางเข้ามา 10,000 รายต่อวัน ส่วนระบบแซนด์บ็อกซ์เข้ามาประมาณ 1 พันคนต่อวัน ทั้งนี้ การติดเชื้อนั้นเมื่อมีการตรวจ RT-PCR พบแล้วจะมีการส่งตรวจหาสายพันธุ์ ต่อไปซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นสายพันธุ์เดลต้า ขณะที่ โอมิครอน เจอแล้ว 1 ใน 4 ดังนั้นจะต้องมีการพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนนี้ ส่วนสัดส่วนการติดเชื้อเดือนธ.ค. ระบบ Test and Go ติดเชื้อ 204 ราย คิดเป็น 0.15% Sandbox ติดเชื้อ 49 ราย คิดเป็น 0.27% Quarantine ติดเชื้อ 95 ราย คิดเป็น 2.49 % สัดส่วนการเดินทางเข้าไทยรูปแบบ Test & Go เพิ่มขึ้น 2 เท่า รวมถึงตรวจพบสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กระทรวงจึงทำข้อเสนอต่อ ศปก.ศบค.พิจารณาชะลอการเข้าประเทศในระบบ Test & Go ของผู้เดินทางมาจากทุกประเทศ และใช้มาตรการกักตัว AQ หรือแซนซบ็อกซ์นาน 7-10 วัน ทั้งนี้เพื่อให้คนไทยฉลองปีใหม่อย่างมีความสุข
อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนช่วยกันลดการระบาดในช่วงโควิด และชะลอการติดเชื้อโอมิครอน ด้วย โดยสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือ และฉีดวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ รวมถึงบู๊สเตอร์โดสด้วย ถ้าไม่จำเป็นขอให้ชะลอการเดินทางไปต่างประเทศด้วย หากเดินทางไปก็ต้องดูแลตัวเองแบบครอบจักรวาล เพื่อไม่ให้นำเชื้อกลับมมาแพร่ให้คนในครอบครัว และประเทศ กลับมาแล้วก็กักตัว และตรวจเชื้อเพิ่มเติม สำหรับสถานประกอบที่จัดงานเลี้ยงปีใหม่ ขอให้ดำเนินการตามมาตรการ Covid free setting หลังกลับมาทำงานก็ขอให้ช่วยตรวจ ATK ด้วย รมว.สธ. สั่งการทุกหน่วยงานในสังกัดสธ. บริการประชาชนในการตรวจหาโควิดด้วย ATK และ RT-PCR ในช่วงปีใหม่ และให้มีการฉีดวัคซีนที่รพ.ทุกแห่ง รวมถึงเพิ่มการตรวจ ATK และฉีดวัคซีนในสถานีขนส่งที่มีการเดินทางจำนวนมาก หัวเมืองใหญ่ เช่น โคราช เชียงใหม่