เปิดตัว 4 แกนนำ "รวมไทย ยูไนเต็ด” หวังเปลี่ยนแปลงประเทศไทย

2021-10-07 12:09:16

เปิดตัว 4 แกนนำ "รวมไทย ยูไนเต็ด” หวังเปลี่ยนแปลงประเทศไทย

Advertisement


เปิดตัว 4 แกนนำ "รวมไทย ยูไนเต็ด” หวังเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปในแนวทางที่ดีขึ้น  ภายใต้แนวคิด "รัฐบาลไม่ได้ปกครอง รัฐบาลบริหาร  รัฐบาลไม่ใช่นาย รัฐบาลคือประชาชน"

เมื่อวันที่ 7  ต.ค. มีการเปิดตัว "กลุ่มรวมไทย ยูไนเต็ด" ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของประชาชนมืออาชีพในหลากหลายสาขาที่อยากเห็นประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยผู้ร่วมอุดมการณ์ในการก่อตั้ง 4 คน ซึ่งต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการสร้างเส้นทางใหม่ให้ประเทศไทย ภายใต้พันธกิจในการบริหารงานด้วยหลักสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของพลเมืองในประเทศไทย โดยยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ภายใต้แนวคิดที่ว่า“รัฐบาลไม่ได้ปกครอง รัฐบาลบริหาร" , "รัฐบาลไม่ใช่นาย รัฐบาลคือประชาชน”


นายวรนัยน์ วาณิชกะ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มรวมไทย ยูไนเต็ด กล่าวว่า รวมไทย ยูไนเต็ด คือการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่อยากขับเคลื่อนประเทศไทยให้พัฒนา และ ก้าวไปข้างหน้า ประชาชนจะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงทางการเงิน เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และได้รับสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียม คนไทยทุกคนต้องสามารถเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างถ้วนหน้า ไม่ใช่จำกัดอยู่เฉพาะคนในเมืองที่คิดเป็นสัดส่วนเพียง 1% ของคนไทยทั้งประเทศ อีกทั้งการที่ทเราจะก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล เราต้องการผู้นำซึ่งมีคุณสมบัติในการนำพาประเทศให้พัฒนาไปอย่างสร้าง- สรรค์ อย่าง Digital government เพราะปัจจัยที่กำหนดว่าประเทศชาติจะก้าวไปข้างหน้า หยุดอยู่กับที่ หรือถอยหลังนั้น ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้นำเป็นสำคัญ หากผู้นำเป็นอย่างไรประเทศ ก็เป็นอย่างนั้น รวมไทย ยูไนเต็ด เสนอตัวเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ประชาชน รวมไทย ยูไนเต็ด คือประชาชนทุกคนที่มีอุดมการณ์มุ่งหมายเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ผ่านการสร้างระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เปิดเสรีด้านการศึกษา ไม่ตีกรอบความคิด และเคารพในสิทธิมนุษยชน ด้วยความตั้งใจบริหารอย่างมืออาชีพ มีธรรมาภิบาล และปราศจากทุจริตคอรัปชัน ภายใต้วิสัยทัศน์ในการ จุดประกายธรรมาภิบาล สร้างเส้นทางใหม่ให้กับประเทศไทย


ด้าน นายวินท์ สุธีรชัย อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า เวลาเป็นสิ่งที่มีค่าเสมอ และเราเสียเวลาไม่ได้อีกแล้ว กว่า 30 ปี ที่ประเทศไทยติดอยู่กับคำว่าประเทศที่กำลังพัฒนา นั่นทำให้เราเสียเวลามามากพอแล้ว ฉะนั้นผมมีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วให้ได้ ภายใต้แนวทางในระยะเร่งด่วนและระยะยาวแนวทางเร่งด่วนที่สามารถทำได้เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) คือ การปรับโครงสร้างสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถเข้าถึงระบบการชำระเงินแบบเครดิตได้ เพราะ ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการรายย่อยเข้าถึงระบบสินเชื่อหรือเครดิตในการสร้างสายป่านการผลิตได้ยาก เพราะประเด็นด้านการรับรองความน่าเชื่อถือ และระบบบโครงสร้างในการชำระหนี้ที่ไม่เอื้ออำนวย ทั้งกับผู้ให้สินเชื่อ และผู้รับสิบเชื่อ ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) ขาดเงินหมุน และ ขาดสภาพคล่องทางการเงิน หากแก้จุดนี้ เราก็จะมีโครงสร้างเชิงระบบที่ได้ประสิทธิภาพ และสิ่งที่สามารถทำได้ต่อมาคือ การ” Boost credit หรือการอัดฉีดเครดิต” ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SMEs โดยให้ credit term หรือการขยายระยะเวลาการชำระค่าสินค้าออกไปให้นานยิ่งขึ้น เพื่อเป็นกลไกการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ภาคธุรกิจโดยฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายย่อยซึ่งไม่มีเงินทุนสำรองมากพอได้อีกเปราะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กิจการที่จะได้รับการสนับสนุนเช่นนี้จะต้องเป็นกิจการผลิตสินค้าจำเป็น ไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือย


นายวินท์ กล่าวต่อว่า แนวทางในระยะยาวที่สามารถทำได้คือ การสนับสนุนกลยุทธ์การควบรวมกิจการแนวดิ่ง (Vertical Integration) นั่นคือการรวมตัวกันของผู้ผลิตที่มีกิจการคล้ายคลึงกัน หรือ สอดคล้องกัน เพื่อส่งเสริมศักยภาพหลัก(Core Competencies)ที่โดดเด่นร่วมกันของธุรกิจประเภทนั้น พูดง่ายๆคือ การวางแผน บริหารจัดการด้านการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันให้มากขึ้น สำหรับ ประเทศไทยแล้วธุรกิจที่ควรจะต้องส่งเสริมให้มีการควบรวมในแนวดิ่งอย่างเร่งด่วน ก็คือธุรกิจที่เกี่ยว-กับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาประเทศ เช่นธุรกิจที่เกี่ยวกับระบบขนส่งระบบสื่อสาร หรือระบบสาธารณสุข เหล่านี้เป็นสิ่งที่ประเทศไทยจะต้องสร้างฐานการผลิตที่แข็งแกร่งของตัวเองขึ้นมา ถ้าหากเราลดการพึ่งพิงการลงทุนจากต่างชาติและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานของเราเอง (Competitive Infrastructure) ก็จะทำให้ประเทศไทยหลุดจากกับดักประเทศที่กำลังพัฒนา ก้าวสู่ความเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทัดเทียมกับอนารยะประเทศอื่น ๆ

นายวินท์ กล่าวด้วยว่า หากลองพิจารณาตัวเลขอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของธุรกิจผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปรากฏว่ามีการขยายตัวสูงในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม นั่นคือมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 16.8 ในไตรมาสที่2 ของปี 2564 จากที่ขยายตัวร้อยละ 1.0 ในไตรมาสก่อน ทั้งสินค้าอุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรมวัตถุดิบ และ อุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีที่มีการขยายตัวถึงร้อยละ 39.8 และเมื่อเปรียบเทียบธุรกิผลิตสินค้าอุตสาหกรรม กับธุรกิจภาคอื่น ๆที่ได้รับการสนับสนุนอยู่แล้ว เช่นภาคเกษตร ทำให้เห็นได้ว่า ตัวเลขอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศแตกต่างกันมาก โดยภาคเกษตร มีการขยายตัวมีเพียงร้อยละ 2.0 ในไตรมาสที่2 ของปี 2564 เช่นเดียวกันกับภาคการท่องเที่ยว ด้านสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 13.2 จากการลดลงร้อยละ 35.5 ในไตรมาสก่อน จึงอาจกล่าวได้ว่าธุรกิจที่มีเสถียรภาพมากที่สุดสำหรับประเทศไทย ณ ขณะนี้ ก็คือธุรกิจในหมวดการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งยังไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่นอกจากจะสอดรับกับอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลกแล้ว หากพิจารณาจากสถิติการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าจะเห็นว่ามีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นแม้จะอยู่ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม และถ้าหากประเทศไทยสามารถจับจองพื้นที่การผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งมีมูลค่าตลาดร่วมอยู่ที่ 40-60% หรือ 90 ล้านล้านบาทได้ ตามหลักการการควบรวมกิจการแนวดิ่ง โดยสมบูรณ์ ก็จะเป็นการผลักดันให้ไทยหลุดพ้นกับดักประเทศกำลังพัฒนา ก้าวเข้าสู่สถานะประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยมีความเจริญด้านอุตสาหกรรมเป็นพื้นฐาน ไม่แพ้ประเทศที่เจริญแล้วอื่น ๆ จากทุกมุมโลก อย่างไรก็ตาม เรายังมีแนวทางอื่นๆอีกมากมายที่สามารถทำให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และต้องเริ่มทันที เพราะเราไม่สามารถจะรอได้อีกแล้ว




ด้าน "เซเรน่า ณิชนัจทน์ สุดลาภา  นักกิจกรรมคนข้ามเพศ ผู้ร่วมก่อตั้ง Trans for Career Thailand (TFCT)  กล่าวว่า ความเท่าเทียมไม่ได้มีผลแค่มิติทางสังคม แต่รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศ สภาพเศรษฐกิจที่เราเผชิญอยู่ในขณะนี้ไม่ได้เอื้อสำหรับทุกคน แต่มันเอื้อให้เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มนึง ซึ่งเศรษฐกิจที่ดีควรเป็น “เศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน” ที่เอื้อประโยชน์ต่อพวกเราทุกคนจริงๆ ไม่ว่าคุณจะตัวเล็กแค่ไหน ทุนเท่าไหร่ เพศอะไร เราต้องมีระบบเศรษฐกิจที่รองรับการเติบโตให้กับคนไทยทุกคนจริงๆ เพื่อให้เราหลุดกับดักจากประเทศกำลังพัฒนา ไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ ทั้งนี้โดยอาศัยนโยบายแบบบูรณาการทั้งด้าน สิ่งแวดล้อม สังคมและความเท่าเทียม รวมถึงความโปร่งใสและตรวจสอบได้ด้วย หรือที่เรียกว่า ESG Economy (Environmental, Social and Governance Economy)ในมิติด้านสิ่งแวดล้อมเราต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนธุรกิจในประเทศให้มีศักยภาพในการแข่งขันของตัวเองเทียบเท่าระดับโลก บนกติกาด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่กำลังจะถูกสร้างขึ้นมาเรื่อยๆจาก Paris Agreement ซึ่งถ้าเราไม่ทำอะไรเลยในมิตินี้ ประเทศเราที่พึ่งพาการส่งออกถึง 70% จะได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรงแน่นอน อย่าลืมว่ามหาอำนาจซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของเรา ทั้งจีน อเมริกา และยุโรป ต่างก็ให้ความสำคัญและพร้อมที่จะขึ้นภาษีสำหรับสินค้าจากประเทศที่ปฎิบัติตามเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อม ในมิติด้านสังคมและความเท่าเทียม เนื่องจากประเทศเรา มีประชากรชายหญิงประมาณครึ่งต่อครึ่ง แต่ในตลาดแรงงานจะมีผู้หญิงอยู่แค่ 40% และถ้าพิจารณาจากตำแหน่งงาน จะเห็นได้ว่าในระดับหัวหน้าหรือผู้บริหาร ประกอบด้วยผู้หญิงเพียงแค่ 10-30% ยิ่งไปกว่านั้น ในงานลักษณะเดียวกัน อาศัยประสบการณ์การทำงานที่เหมือนกันทุกด้าน มีข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวแค่เพศหญิงได้ค่าจ้างโดยเฉลี่ยน้อยกว่าผู้ชาย 20% นี่คือความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ โดยยังไม่ได้แตะถึง

กลุ่ม LGBTQ และคนพิการเลยด้วยซ้ำ ที่น่าตกใจมากคือ จากข้อมูลของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงแห่งมนุษย์ คนพิการไทยมีอัตราการจ้างงานอยู่ที่แค่เพียง24% ของคนพิการทั้งหมดที่เข้าเกณฑ์ตลาดแรงงานเท่านั้น และปัญหาด้านความเท่าเทียมอีกข้อที่หนักไม่แพ้กันก็คือกลุ่มสตรีข้ามเพศเกือบ 80% จะถูกปฏิเสธทันทีในการสมัครงาน หากลองมองให้ดีแล้วจะเห็นว่าแท้ที่จริงคนที่สูญเสียคือ สังคมและองค์กรนั้นๆ รวมถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย ทั้งนี้สืบเนื่องจากงานวิจัยทั่วโลกที่กล่าวถึงการเพิ่มความหลากหลายในองค์กรว่าเป็นวิธีการสำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจขององกรนั้นๆ อย่างมีนัยยะสำคัญ เรา รวมไทย ยูไนเต็ด เชื่อว่า หากทุกคนได้รับความเท่าเทียมกันในทุกมิติ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ก็จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตตลอดจนเพิ่มโอกาสให้คนไทยได้เข้าถึงความเจริญในทุกด้านของประเทศ ซึ่งนับว่าสอดคล้องกับเป้าหมายอื่นๆ ในระดับนานาชาติอีกด้วย


นายอภิรัต ศิรินาวิน กล่าวว่า ประชาชาวไทยทุกคนรู้ดีว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสำคัญสูงสุดอันละเมิดมิได้ แต่รัฐธรรมนูญ 2560 ฉบับปัจจุบันกลับถูกออกแบบมาเพื่อจำกัดสิทธิ และทำลายระบบพรรคการเมืองให้ต้องอยู่อย่างยากลำบาก อีกทั้งยังเป็นการลิดรอนสิทธิของประชาชน ไม่ให้ได้สิทธิตามระบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง จึงถึงเวลาแล้วที่สิ่งเหล่านี้จะต้องถูกเปลี่ยนแปลง