ปลัด สธ.เผย 2 พื้นที่ลุ้นโควิดโรคประจำถิ่น

2021-09-21 14:33:51

ปลัด สธ.เผย 2 พื้นที่ลุ้นโควิดโรคประจำถิ่น

Advertisement

ปลัด สธ.เผย 2 พื้นที่ "กทม.-ภูเก็ต"ลุ้นโควิด-19  เป็นโรคประจำถิ่น 

เมื่อวันที่ 21 ก.ย. ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)  นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าจากการประเมินสถานการณ์ มีฉากทัศน์ ที่คาดการณ์ว่าเมื่อปลดล็อกดาวน์ครบเดือน แล้วไม่มีมาตรการอื่น ตัวเลขอาจจะเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับตัวเลขที่ตัวเลขลงช้า ดังนั้นตอนนี้จึงบวกเพิ่มมาตรการอื่น เช่น การตรวจหาการติดเชื้อด้วยแอนติเจน เทสต์ คิท ตอนนี้ก็มีการซื้อและแจกประชาชนกลุ่มเสี่ยงคนละ 2 ชุดแล้ว ก็ขอให้ตรวจสัปดาห์ละ 1 ครั้งและรายงานเข้าระบบ ซึ่งระบบมีการติดตามดูแลอยู่ นอกจากนี้ เรื่อง covid free setting สำคัญมาก การร่วมมือร่วมใจของประชาชน ในการป้องกันโรคครอบจักรวาล เพรราะคนฉีดเข็ม 3 แล้วยังติด ดังนั้นต้องระวัง แต่แน่นอนว่าฉีดวัควีนแล้ว ลดอาการรุนแรง และลดการเสียชีวิต ดังนั้นต้องช่วยกัน อยากให้ประชาชนตระหนักว่าอาจจะป่วยแต่ไม่มีอาการ บางคนอาจจะติดเชื้อไม่รู้ตัว เปิดหน้าคุยกันหรือประมาทอาจจะเกิดการระบาดได้ แต่นโยบายรัฐบาลไม่อยากจะล็อกดาวน์ประเทศแล้ว จึงให้ สธ.หามาตรการ ควบคุมป้องกันโรคโดยไม่ต้องล้อคดาวน์ ซึ่งตนก็เห็นด้วย เพราะตั้งแต่ที่เราเริ่มคลายล็อกดาวน์เห็นร้านอาหารต่างๆ เปิดได้ ก็ดีใจ พนักงาน ร้านคา ได้ทำงานขายของ เศรษฐกิจก็เดินหน้าได้ อยากให้คงสภาพเหล่านี้ให้ได้ แต่ทุกคนต้องช่วยกัน เพราะตอนนี้ไม่ใช่แค่การดูแลตัวเองแลวเท่านั้น แต่เป็นการดูแลเพื่อนฝูง ญาติมิตร ดูแลประเทศร่วมกันได้ โดยการป้องกันตัวเองแบบครอบจักรวาล

เมื่อถามว่าตัวเลขผู้ตดิเชื้อที่ลดลงเรื่อยๆ นี้ มีโอกาสที่จะผ่อนคลายมาตรการเพิ่มขึ้นหรือไม่ ปลัดสธ. กล่าวต่อว่า ตัวเลขที่ลดลงเรื่อยๆ นี้ เรายังพยายามติดตาม และประมาณการณ์อยู่ว่าจะเป็นอย่างไร แต่คงไม่ลดไปเป็นตัวเลขศูนย์ราย คงมีการติดเชื้อและระบาดแบบโรคประจำถิ่น ซึ่งตอนนี้เรากำลังจะเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น จะขึ้นกับปริมาณวัคซีนที่ครอบคลุมประชากรหรือไม่ เช่น กทม. ครอบคลุมผู้สูงอายุ กว่า 90% ส่วนวัคซีนเข็ม 2 ครอบคลุม 40% กทม. จึงน่าจะเป็นจังหวัดแรก ๆ ของโมเดลการเป็นโรคประจำถิ่น เพราะระบาดไม่ได้ ลดการเจ็บป่วยหนัก ซึ่งจะนำสู่การดูแลผู้ติดเชื้ออีกรูปแบบหนึ่ง อีกพื้นที่คือภูเก็ต 2 จังหวัดนี้น่าจะเป็นจังหวัดแรกๆ ที่เคลื่อนเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นของไทย ทั้งนี้มอบกรมควบคุมโรคเป็นผู้ดูแล ศึกษาปรากฎการณ์ ระบาดไม่มาก ไม่รุนแรง ซึ่งไม่ได้ตั้งเป้าว่าเมื่อไหร่ แต่ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกๆ ที่จะเอาตัวชี้วัดต่างๆ มาทำแผน หากเป็นไปตามคาดหมายทำให้โรคสงบเร็ว นี่ก็เป็นความหวังของเรา อย่างไรก็ตาม อย่างที่บอกว่าเราเพิ่งรู้จักเขาได้ไม่นาน อาจจะเกิดการระบาด อาจจะมีเชื้อกลายพันธุ์อื่นๆ ซึ่งก็ยังต้องเฝ้าระวัง

เมื่อถามต่อว่าการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ต้องให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อต่ำกว่า 1 หมื่นรายต่อวันหรือไม่ นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า การใช้ตัวเลขผู้ติดเชื้อมาพิจารณาผ่อนคลายนั้น เราจะใช้เป็นตัวแปรน้อยลงตามลำดับแล้ว แต่เราจะดูเรื่องศักยภาพการรองรับการเจ็บป่วยเป็นเรื่องสำคัญ เพราะตอนนี้เรามีความเข้าใขต่อโรคดีขึ้นตามลำดับ จากเดิมที่เรายังไม่เข้าใจ จึงนำคนติดเชื้อเข้าไปอยู่ในรพ.ทั้งหมด ทำให้รพ.เต็ม ตอนนี้ก็มีการจัดระบบดูแลรักษาขึ้นมาทำให้ดีขึ้น ถ้ามีคนเจ็บป่วยแล้วรพ.รับได้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ดังนั้นจึงพยายามคัดแยกผู้ป่วย เหมือนกรณีผู้ติดเชื้อเอชไอวี หากไม่ป่วยเอดส์ ก็ไม่ต้องเข้ารพ. โควิดก็เหมือนกัน หากติดเชื้อไม่ป่วย ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยก็ดูแลตัวเองที่บ้าน ถ้ามีอาการปานกลาง ก็เข้ารักษาใน รพ.ซึ่งเรามีความคาดหมายว่าไม่เกิน 20% ของจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้ รพ.

“สถานการณ์ที่แสดงให้เราเห็นคือที่ กทม. มีการติดเชื้อวันละ 2,000 -3,000 ราย ถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับประชากร 10 ล้านคน ปัจจุบันเตียงสีแดงเหลือหลายร้อยเตียง สีเหลือง เหลือหลายพันเตียง ส่วนสีเขียวเหลือเป็นจำนวนมากเพราะตอนนี้ประชาชนมีความเข้าใจ และดูแลตัวเองที่บ้าน เดิมเรากังวลว่าการดูแลที่บ้านจะทำให้เกิดการติดเชื้อในครอบครัว แต่ปัจจุบันเราเห็นว่าเขาทำได้ดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทกทม.ก็เป็นรูปแบบหนึ่ง ต่างจังหวัดก็เป็นรูปแบบหนึ่ง การผ่อนคลายมารการจึงดูว่าระบบวสาธารณสุขจะรองรับได้หรือไม่” ปลัด สธ. กล่าว