รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ยันไม่ได้ปกปิดข้อมูลผู้ต้องขังติดโควิด -19 ยันผู้ต้องขังร่วมห้อง "รุ้ง"ไม่ติดเชื้อ
หมายจับ 3 พี่น้องฆ่าฝังดิน "สุชาติ"
รวมเลขเด็ด 10 สำนัก งวดวันที่ 16 พ.ค.2564
“ตงตง” ได้หมายศาลฉบับแรกจาก “สมรักษ์” หลังน้อยใจลูกสาว
เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 14 พ.ค. ที่อาคารกรมราชทัณฑ์ จ.นนทบุรี นพ.วีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ชี้แจง ความคืบหน้าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในเรือนจำและทัณฑสถาน ว่าเหตุของการพบยอดผู้ติดเชื้อจำนวนมากในยะเวลารวดเร็ว สืบเนื่องจากวันที่ 7 พ.ค. 2564 กรมราชทัณฑ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ ให้มาประจำอยู่ที่ทัณฑสถาน รพ.ราชทัณฑ์ เพื่อดำเนินการตรวจวิเคราะห์หาเชื้อตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค. 2564 พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ มาร่วมตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ตลอด 24 ชม. จนถึงวันที่ 12 พ.ค.2564 ในผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร และทัณฑสถานหญิงกลาง จนสามารถตรวจแล้วเสร็จ 100เปอร์เซ็นต์ ทำให้สามารถแยกกลุ่มเป้าหมายที่ติดเชื้อและกลุ่มที่ยังไม่ติดเชื้อแยกจากกันได้อย่างทันท่วงที ทำให้พบผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากตามที่ได้นำเสนอไปแล้ว ซึ่งในกลุ่มผู้ติดเชื้อดังกล่าว ได้ดำเนินการเอ็กซเรย์ปอดทุกรายโดยรถพระราชทานในโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เพื่อค้นหาผู้ป่วยที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้ง มีการแยกผู้ป่วยตามลักษณะอาการเพื่อดำเนินการรักษาได้อย่างตรงจุด และด้วยการตรวจพบเชื้อที่มากขึ้นในระยะเวลาที่รวดเร็ว จึงจำเป็นต้องมีการยืนยันผลเพื่อป้องกันการรายงานผลที่คลาดเคลื่อน ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินการเพื่อให้ได้ยอดการรายงานที่เป็นยอดแท้จริงจากการตรวจคัดกรองแบบ 100เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลา 4-5 วันในคราวเดียวกัน จนกระทั่งได้จำนวนผู้ติดเชื้อที่เป็นยอดแท้จริงก่อนรายงานไปยังศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ดังกล่าว
นพ.วีระกิตติ์ กล่าวต่อว่า กรมราชทัณฑ์ ไม่ได้มีการปกปิดข้อมูลผู้ติดเชื้อแต่อย่างใด และที่ผ่านมาหากผู้ต้องขังที่ติดเชื้อรายใดต้องการแจ้งให้ญาติภายนอกทราบ ทางเรือนจำและทัณฑสถานจะมีเจ้าหน้าที่คอยดำเนินการแจ้งไปยังญาติผู้ต้องขังแต่ละรายเป็นการเฉพาะอยู่แล้ว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ต้องขังว่าต้องการแจ้งญาติหรือไม่ เนื่องจากไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลรายชื่อผู้ป่วย รวมถึงข้อมูลอื่นใดแก่บุคคลภายนอกได้ ยกเว้นหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพราะอาจเป็นการกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลของผู้ต้องขัง อย่างไรก็ตาม หากญาติผู้ต้องขังรายใดที่มีความกังวลใจ สามารถติดต่อสอบถามที่เรือนจำและทัณฑสถานที่ผู้ต้องขังถูกคุมขังอยู่ได้
รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวอีกว่า กรมราชทัณฑ์ ขอชี้แจงเพิ่มเติมกรณีที่มีผู้โพสต์ในสื่อออนไลน์ โดยอ้างว่า น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง ไม่ได้ถูกกักตัวตลอดเวลาระหว่างวันที่ 23 เม.ย. – 5 พ.ค.2564 ตามที่ได้ชี้แจงไปแล้ว นั้น ขอเรียนว่า น.ส.ปนัสยาได้ถูกกักตัวในห้องกักโรคจนถึงวันที่ 25 เม.ย. 2564 ตามนโยบายเดิมของกรมราชทัณฑ์ที่ให้กักตัวเป็นระยะเวลา 14 วัน แต่ในช่วงดังกล่าว ได้มีนโยบายใหม่ให้กักตัวผู้ต้องขังแรกรับและผู้ต้องขังออกศาลเพิ่มเติมเป็นระยะเวลา 21 วัน ซึ่งอาจทำให้ผู้ต้องขังเกิดความเครียดจากการกักตัวที่ใช้ระยะเวลานานได้ จึงมีการผ่อนคลายโดยให้ผู้ต้องขังที่ออกจากห้องกักโรคได้ออกมาผ่อนคลายภายในแดนแรกรับ ซึ่งเป็นแดนที่เตรียมไว้สำหรับผู้ต้องขังเข้าใหม่ เพื่อสังเกตโรค ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เป็นระยะเวลาต่อเนื่องประมาณ 1-3 เดือน เพื่อให้ผู้ต้องขังเข้าใหม่ทุกรายได้ปรับตัวเข้ากับการใช้ชีวิตในทัณฑสถาน โดยอาจมีกิจกรรมเล็กน้อย เช่น การอ่านหนังสือ ซึ่งในแดนแรกรับดังกล่าว จะมีพื้นที่ครอบคลุมในส่วนของห้องกักโรค ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของแดนแรกรับเช่นเดียวกัน โดยมีผู้ต้องขังทั้งแดนอยู่ที่ประมาณ 1,500 ราย ซึ่งเมื่อวันที่ 8 พฤ 2564 กรมราชทัณฑ์ ได้ดำเนินการตรวจหาเชื้อผู้ต้องขังในแดนแรกรับทั้งหมดแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ปรากฏว่ามีผู้ต้องขังรายใดที่ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งรวมถึงผู้ต้องขังที่พักร่วมห้องกับ น.ส.ปนัสยาก็ไม่พบว่ามีการติดเชื้อโควิด-19 แต่อย่างใด