รมว.ดีอีเอสลุยตรวจสอบเฟกนิวส์โควิด

2021-05-14 13:05:38

รมว.ดีอีเอสลุยตรวจสอบเฟกนิวส์โควิด

Advertisement

รมว.ดีอีเอสเผย "ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม"ลุยตรวจสอบเฟกนิวส์โควิดชง ตร.ดำเนินคดี

รวมเลขเด็ด 10 สำนัก งวดวันที่ 16 พ.ค.2564

ข้อบังคับจราจรรอบเขตพระราชฐาน (901 แลนด์)

เมื่อวันที่ 14 พ.ค. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์  รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า จากการตรวจสอบของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมโควิด-19 ระลอก 3 ระหว่างวันที่ 7 เม.ย.-11 พ.ค. 64 พบจำนวนข้อความที่เกี่ยวข้อง 3,857,190 ข้อความ หลังจากคัดกรองพบข่าวที่เข้าหลักเกณฑ์ 788 ข้อความ และมีข่าวที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 343 เรื่อง อยู่ใน 2 หมวดหมู่ข่าว คือ หมวดหมู่สุขภาพ 233 เรื่อง คิดเป็น 68 เปอร์เซ็นต์ และหมวดหมู่นโยบายรัฐ 110 เรื่อง คิดเป็น 32 เปอร์เซ็นต์

นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า ด้านภาพรวมสถานการณ์ข่าวปลอมเกี่ยวกับโควิด-19 ทั้ง 3 ระลอก ซึ่งทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมรวบรวมจากการติดตามการสนทนาบนโลกออนไลน์  และการแจ้งเบาะแสตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. 63 – 11 พ.ค.64 รวมระยะเวลา 475 วัน พบว่า มีจำนวนข้อความที่เกี่ยวข้อง 73,833,192 ข้อความ โดยหลังจากคัดกรองพบข่าวที่เข้าหลักเกณฑ์ 6,791 ข้อความ และมีข่าวที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 3,376 เรื่อง อันดับ 1 คือ หมวดหมู่สุขภาพ พบจำนวน 2,242 เรื่อง คิดเป็น 66 เปอร์เซ็นต์  หมวดหมู่นโยบายรัฐ 1,011 เรื่อง คิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ หมวดหมู่เศรษฐกิจ 124 เรื่อง คิดเป็น 4 เปอร์เซ็นต์  ในส่วนของหมวดหมู่ภัยพิบัติไม่พบเรื่องที่เข้าข่าย

รมว.ดีอีเอส กล่าวด้วยว่า ขณะที่ สถานการณ์ข่าวปลอมนับตั้งแต่จัดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมจนถึงปัจจุบัน (วันที่ 1 พ.ย. 62 – 11 พ.ค. 64) พบข้อความข่าวที่ต้องคัดกรองทั้งหมด 116,419,184 ข้อความ โดยมีข้อความข่าวที่เข้าเกณฑ์ดำเนินการตรวจสอบ 30,183 ข้อความ และหลังจากคัดกรองพบข้อความข่าวที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 10,587 เรื่อง แบ่งเป็น หมวดสุขภาพ 54  เปอร์เซ็นต์  นโยบายรัฐ 41 เปอร์เซ็นต์ เศรษฐกิจ 3  เปอร์เซ็นต์ และภัยพิบัติ 2 เปอร์เซ็นต์  และจากการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม และ ศปอส.ตร. ตั้งแต่ 1 พ.ย. 62 – 6 พ.ค. 64 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ส่งคดีเกี่ยวกับข่าวปลอมและข่าวบิดเบือน ไปให้ ศปอส.ตร. ดำเนินการตรวจสอบ จำนวน 1,021 เรื่อง รวมคดีที่ดำเนินการ 23 ราย โดยมีการดำเนินคดีแล้ว 33 เรื่อง จำนวนผู้กระทำผิด 70 ราย แบ่งเป็น เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 4 เรื่อง ผู้กระทำผิด 18 ราย และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 19 เรื่อง ผู้กระทำผิด 52 ราย