ศิริราชรายงานผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 บุคลากร 13,596 ราย ส่วนใหญ่ไม่พบอาการข้างเคียง
ครูวัยเกษียณทำ "ลอดช่องทุเรียน" ขายดีเกินคาด
รวยล้นระดับเศรษฐี "บี้ สุกฤษฎิ์" ทำฮือฮา ปรากฏชื่อเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นช่องดัง !!
ชมก็เยอะตำหนิก็แยะ "เจนนี่" ปล่อยคลิป "ลิลลี่" เต้นคัฟเวอร์ "ลิซ่า" ชาวเน็ตรุมวิจารณ์
เมื่อวันที่ 11 พ.ค. รศ.นพ.นริศ กิจณรงค์ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ทำการสำรวจความต้องการของบุคลากรสำหรับเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2564 และได้ดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรที่แสดงความจำนงค์ที่จะขอรับการฉีดวัคซีนที่มีในประเทศไทยตามความสมัครใจตั้งแต่เดือน มี.ค. 2564 ข้อมูล ณ วันที่ 7 พ.ค.2564 พบว่า คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ทำการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ให้กับบุคลากรของคณะไปแล้วจำนวน 13,596 ราย คิดเป็นร้อยละ 80.8 ของบุคลากรทั้งหมด โดยได้รับวัคซีนชนิด Sinovac จำนวน 12,797 ราย เนื่องจากมีอายุน้อยกว่า 59 ปี 10 เดือน และได้รับวัคซีน Astra Zeneca จำนวน 799 ราย เนื่องจากมีอายุมากกว่า 59 ปี 10 เดือน หรือเป็นอาสาสมัครในโครงการวิจัย บุคลากรที่ได้รับวัคซีนเป็นผู้ได้รับวัคซีนเข็มแรก จำนวน 10,741 ราย และเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 จำนวน 2,855 ราย
รศ.นพ.นริศ กล่าวว่า 76.9 เปอร์เซ็นต์ ไม่พบอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ใดๆ มีรายงานภาวะข้างเคียงไม่พึงประสงค์ภายใน 30 นาที 2.7 เปอร์เซ็น ประกอบด้วย อาการบวมแดงบริเวณที่ฉีด (1.38 เปอร์เซ็นต์ ) อาการชาตามร่างกาย (0.36เปอร์เซ็นต์ ) อาการปวดศีรษะ (0.31เปอร์เซ็นต์) ปวดกล้ามเนื้อ (0.16 เปอร์เซ็นต์) ผื่นตามร่างกาย (0.14 เปอร์เซ็นต์) และอื่นๆ (0.35เปอร์เซ็นต์) โดยอาการเหล่านี้เป็นอาการชั่วคราว และสามารถหายเป็นปกติได้ในที่สุด สำหรับภาวะข้างเคียงไม่พึงประสงค์ที่พบ 30 นาที หลังได้รับวัคซีนพบได้ร้อยละ 23.1 ได้แก่ อาการปวดกล้ามเนื้อ (4.84 เปอร์เซ็นต์) คลื่นไส้ (4.16เปอร์เซ็นต์) ปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด (3.97เปอร์เซ็นต์) ปวดศีรษะ (3.36เปอร์เซ็นต์) อ่อนเพลีย (2.83เปอร์เซ็นต์) มีไข้ (1.57เปอร์เซ็นต์) และอื่นๆ (2.37เปอร์เซ็นต์) สำหรับอาการชาตามร่างกายหรือมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วยพบ 0.46 เปอร์เซ็นต์ เมื่อตรวจร่างกายทางระบบประสาทโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งได้รับการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษในรายที่มีอาการมาก ก็ไม่พบความผิดปกติใดๆ โดยส่วนใหญ่ (72.6 เปอร์เซ็นต์) สามารถหายได้เองภายในเวลา 30 นาที หลังมีอาการ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีภาวะข้างเคียงไม่พึงประสงค์ทุกรายสามารถกลับไปปฏิบัติงานได้ตามปกติ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จึงขอสรุปรายงานผลการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ในบุคลากรของคณะจำนวน 13,596 ราย เป็นผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac จำนวน 12,797 ราย ได้รับวัคซีน Astra Zeneca จำนวน 799 ราย โดยส่วนใหญ่ไม่พบอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ใดๆ สำหรับผู้ที่มีภาวะข้างเคียงไม่พึงประสงค์สามารถหายได้และสามารถกลับไปปฏิบัติงานได้ตามปกติ