พท.เสวนาวิกฤตทางออกโควิดระลอก 6 เสนอทางออกประเทศไทย 6 แนวทาง เร่งกระจายวัคซีน เยียวยาผู้ประกอบการ ประชาชน
ขุดอดีตแสนปวดร้าว "เกรซ ชลิตา" เผยเคยโดนซ้อมอัดติดกำแพงเดินไม่ได้ !!
เมื่อวันที่ 19 เม.ย. พรรคเพื่อไทย (พท.) จัดเสวนา วิกฤตและทางออกโควิดระลอก 3 โดยมีแกนนำพรรคเพื่อไทยร่วมเสวนา นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การระบาดโควิด ครั้งนี้ถือเป็นเรื่องที่น่าห่วง เพราะแต่เดิมก็มีปัญหามากมาย ตั้งแต่การระบาดรอบแรก ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจไม่สามารถเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ และยิ่งมีการระบาดช่วงเทศกาลสำคัญ ยิ่งทำให้ผลประกอบการต่างๆ มีปัญหาแบบลูกโซ่ สำหรับปัญหาการคลัง ปีนี้มีความเป็นไปได้ที่จะมีหนี้สาธารณะ ทะลุร้อยละ 60 หนี้ภาคครัวเรือนทะลุร้อยละ 90 หลายบริษัทก็มีผลประกอบการติดลบ ทำให้มีสัญญานว่า รัฐบาลจะเข้าสู่สภาวะการกู้เงินอีกครั้ง และเห็นว่า การระบาดตั้งแต่ครั้งแรก มักมาจากความผิดพลาดของรัฐบาล ทั้งสนามมวย การละเลยบ่อนการพนัน รวมถึงจากสถานบันเทิง และมองว่า หากมีการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากบริษัทที่เหมาะสม หรือมีตัวเลือกที่มากเหมือนหลายประเทศ นอกจากช่วยประชาชนได้แล้ว ยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจไปในตัวได้อีก เนื่องจากประชนจะมีความมั่นใจ แนะรัฐบาล ควรเริ่มเยียวยาประชาชนในพื้นที่เสี่ยงเป็นระยะเวลา 3 เดือนทันที ดังนั้น ในภาวะวิกฤตไวรัสโควิดรอบใหม่นี้ จึงอยากเสนอแนวทางออกของประเทศไทยทั้งในระยะสั้นและในระยะกลาง ทั้งหมด 6 แนวทางดังนี้ 1. ต้องเร่งเยียวยาประชาชนโดยด่วน โดยไม่ต้องรอให้ประชาชนด่าก่อนค่อยคิดเยียวยา ประชาชนลำบากกันอย่างมากอยู่แล้ว ยังต้องมาเจอการระบาดรอบ 3 กันอีก และต้องยอมรับความจริงว่าการระบาดส่วนหนึ่งมาจากคนในรัฐบาลด้วย และการระบาดครั้งนี้ทำท่าจะรุนแรงและยืดเยื้อ แม้จะไม่ประกาศล็อกดาวน์ แต่การห้ามกิจกรรมหลายอย่างก็ไม่ต่างจากล็อกดาวต์แล้ว ดังนั้นจึงขอเสนอให้เยียวยาประชาชนเดือนละ 5,000 บาท จำนวน 3 เดือน โดยจ่ายเป็นเงินสด ไม่เอาแบบโอนเงินเหมือนครั้งที่ผ่านมา 2. รัฐบาลจะต้องเร่งหาวัคซีนมากระจาย การฉีดให้กับประชาชนโดยเร็ว ไม่ว่าด้วยวิธีใด และต้องมีหลายยี่ห้อ หลายประเทศผู้นำจะติดต่อบริษัทโดยตรงเพื่อเจรจาแบ่งปันขอซื้อวัคซีน
3. เร่งช่วยเหลือธุรกิจ SME การให้ซอฟท์โลนอย่างเร่งด่วนหลังจากปล่อยธุรกิจ SME ตามยถากรรมมาเป็นปีแล้ว การรักษาธุรกิจเดิมไว้ และ ต้องเร่งสร้างธุรกิจใหม่เป็นความจำเป็นเร่งด่วน 4. เร่งสร้างความมั่นใจให้กลับมาโดยเร็ว ซึ่งพลเอกประยุทธ์ไม่สามารถทำได้แล้ว ยิ่งเหตุการณ์ในประเทศเมียนมาร์มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ภาพลักษณ์ของไทยก็พลอยเสื่อมเสียไปด้วย เพราะในสายตาของต่างชาติประเทศไทยในปัจจุบันไม่ต่างจากประเทศเมียนมาร์ เพียงแต่ยังไม่ได้ฆ่าประชาชนเพิ่มขึ้นเหมือนเผด็จการพม่าเท่านั้นเอง 5. เร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นปัญหาหลักของประเทศให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง 6. เร่งสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับประเทศ โดยการปล่อยนักศึกษาและแกนนำผู้ชุมนุมที่ถูกคุมขัง ทั้งที่คดียังไม่สิ้นสุด อีกทั้งต้องให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างธุรกิจใหม่ ๆ
ด้าน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย มองว่าการระบาดครั้งล่าสุด ถือเป็นเครื่องสะท้อนระบบสาธารณสุขของประเทศ เพราะเป็นสิ่งท้าทายว่ารัฐบาลว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้ดีแค่ไหน ซึ่งล่าสุดถือว่ามีการติดเชื้อในเดือนเดียวเท่านั้น มากสุดเท่าที่เคยมีมาล่าสุดมีรายงานว่า ประเทศไทย มีอัตราการแพร่เชื้อได้สูง และหากไม่มีมาตรการชัดเจน ในเดือนเดียวอาจจะมีผู้ติดเชื้อเกือบ 1 แสนคนก็เป็นได้ พร้อมระบุด้วยว่า การที่รัฐบาล ประกาศว่ามีผู้ติดเชื้อครบทุกจังหวัด การตรวจเชิงรุก ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะรัฐบาลต้องพยายามปรับมาตรการในการป้องกันและตรวจเชื้อใหม่ทั้งระบบ ที่สำคัญคือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เห็นว่า มาตรการเยียวยาของรัฐบาล ยังไม่มีความชัดเจน ดังนั้นจึงต้องเร่งจัดหาวัคซีนให้เพียงพอและรวดเร็วก่อนที่ไวรัสจะกลายพันธุ์ เป็นปัญหาเพิ่มเติมในอนาคต
ด้านนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายพรรคเพื่อไทย ชี้ว่า พ.ร.ก.เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาท ลงไปในระบบเพียง 6 แสนกว่าล้านบาทเท่านั้น ทั้งที่เม็ดเงินในการเยียวยา ควรลงในระบบ 4 ล้านล้านบาท และเมื่อลงระบบได้ไม่เต็มที่ ก็เหมือนร่างกายคนที่ขาดสารอาหาร เหมือนเดินขาเดียว หลายโครงการของรัฐบาล ก็ไม่ครอบคลุมพอต่อประชาชนที่มีปัญหา ส่วนทางออกที่ดีที่สุด คือ การทำให้ขาอีกข้างหาย นั้นคือ การจัดสรรวัคซีน ให้ประชาชนอย่างเต็มที่ และการฟื้นฟูท่องเที่ยว ซึ่งเชือว่าหากสถานการณ์เป็นแบบนี้ การท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้ปี 2565 จึงต้องหันมาดูเรื่องของการส่งออก แต่ก็ไม่ควรมองที่การส่งออกอย่างเดียว เพราะสิ่งที่จะมาก่อนการส่งออกคือ การจ้างงาน มาตรการของรัฐยังขาด แรงกระตุ้น การเหนี่ยวนำการลงทุน เช่นการสนับสนุน การดึงกำลังซื้อจากกลุ่มคนมีทุน ให้กล้าลงทุน ในสิ้นค้าประเภทคงทน เช่น ในหมวด ยานยนต์ อสังหาริมทรัพย์ และอิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์เป็นต้น
นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การสร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยวยังไม่มีการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในระดับชุมชน ขาดความร่วมมือเพื่อพลักดันการท่องเที่ยวในตลาดกลุ่มใหม่ รวมถึงการดึงคนที่มีศักยภาพ ในการใช้จ่าย เข้ามามากขึ้น ซึ่งทั้งหมดต้องพัฒนาคนควบคู่ไปพร้อมกับการพัฒนาคนให้มีทักษะความพร้อม ในทุกมิติ นำไทยกับไปเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวอีกครั้ง