นักท่องเที่ยวแห่สักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.7 เขาหินเหล็กไฟ

2021-04-04 22:10:28

นักท่องเที่ยวแห่สักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.7 เขาหินเหล็กไฟ

Advertisement

นักท่องเที่ยวแห่สักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.7 เขาหินเหล็กไฟ ชมวิวเมืองหัวหินไม่ขาดสาย

ผงะเรือนจำนราธิวาสพบ "จนท.-ผู้ต้องขัง"ติดเชื้อโควิด 120 ราย

"ร้านเจ๊ไฝ"ประกาศปิดชั่วคราว หลังลูกค้าติดโควิด-19

อาลัย "ต้น ดับเพลิงนนทบุรี10 " วีรบุรุษนักดับเพลิง

ชาวเน็ตยกย่องฮีโร่กู้ภัยพ่อลูกอ่อนวีรบุรุษผู้เสียสละชีวิต

ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี  เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว บนเขาหินเหล็กไฟ อ.หัวหิน พร้อมด้วย เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2564 ท่ามกลางพสกนิกรเฝ้ารับเสด็จจำนวนมาก

ต่อมาวันที่ 4 เม.ย. นายกิตติชัย ศรีทองช่วย ปลัดอำเภอหัวหิน พร้อมด้วย นายจีรวัฒน์ พราหมณี ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน นำเจ้าหน้าที่ในสังกัด ร่วมกับกลุ่มจิตอาสาสถานีวิทยุโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม วังไกลกังวล พัฒนาทำความสะอาดเก็บขยะพื้นที่เขาหินเหล็กไฟโดยรอบให้เกิดความสวยงามคงไว้ โดยตลอดทั้งวันมีประชาชนนักท่องเที่ยวต่างพาบุตรหลานขึ้นไปกราบสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 7 ถ่ายรูปดอกไม้เก็บเป็นที่ระลึก และชมวิวเมืองหัวหินอย่างไม่ขาดสาย


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ลำดับที่ 7 แห่งราชอาณาจักรสยาม พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ 8  พ.ย. 2436 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์เล็กของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี เมื่อวันที่ 26 ส.ค.2461 หลังจากนั้นได้สร้าง “สวนไกลกังวล” และสร้าง “พระตำหนักเปี่ยมสุข” เป็นวังที่ประทับในช่วงฤดูร้อนของเดือน เม.ย. และในช่วงของการเป็นพระมหากษัตริย์นั้น ได้มีพระเมตตาแก่ชาวหัวหินอย่างยิ่ง ทั้งในด้านการบริหารจัดการท้องถิ่นทรงจัดตั้งสภาบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตก โดยให้ดำเนินการจัดการเก็บค่าบำรุงที่ดิน และค่าเหยียบย่ำที่ดิน (อากรที่ดิน) ซึ่งเป็นบรรทัดฐานแห่งการบริหารการปกครองท้องถิ่นจนถึงทุกวันนี้ จนกระทั่งวันที่ 30 พ.ค. 2484 พระองค์ได้เสด็จสวรรคต ขณะที่พระชนมพรรษา 47 พรรษา


ดังนั้นเพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เทศบาลเมืองหัวหิน ซึ่งมี นายจิระ พงษ์ไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเมืองหัวหินในขณะนั้น ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนชาวหัวหิน ได้ทำการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในปี พ.ศ.2537 ได้ขอพระราชทานบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ดำเนินการจัดสร้าง โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบและดำเนินการปั้นหล่อองค์พระบรมราชานุสาวรีย์ ขนาดสูง 2 เมตร ในลักษณะประทับยืนถือพระมาลา ซึ่งผู้ออกแบบให้จินตนาการว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากที่ทรงเหน็ดเหนื่อยกับการเสด็จประพาสบนเขาหินเหล็กไฟ ได้ทรงถอดพระมาลาเพื่อพักผ่อนพระวรกาย และทรงทอดสายพระเนตรลงมายังเมืองหัวหินด้วยความชื่นชมและห่วงใยไพร่ฟ้าพสกนิกรชาวหัวหิน รวมใช้งบประมาณในการปั้นหล่อ 550,000 บาท มีกรมโยธาธิการ เป็นผู้ทำการสำรวจพื้นที่ในการประดิษฐาน จากนั้นได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ในปี พ.ศ. 2539 และดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2542 โดยทำพิธีอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ขึ้นมาประดิษฐานบนเขาหินเหล็กไฟ เมื่อปี พ.ศ.2543 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเขาหินเหล็กไฟ ห่างจากตัวเมืองหัวหินไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิว ชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง ซึ่งสามารถชมวิวได้ 4 ทิศ จุดชมวิวนี้สามารถมองเห็นทัศนียภาพที่งดงามของเมืองและอ่าวหัวหิน โดยรอบบนยอดเขาเป็นพื้นที่ราบและผาหินที่สวยงาม เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ปลูกพันธุ์ไม้ในวรรณคดี และเป็นพื้นที่สีเขียวที่ถือว่าเป็นปอดของเมือง