เลขานุการ รมว.ยธ. เร่งช่วยเหยื่อถูกบริษัทหลอกโอนมัดจำถุงมือยาง

2021-03-26 16:25:45

เลขานุการ รมว.ยธ. เร่งช่วยเหยื่อถูกบริษัทหลอกโอนมัดจำถุงมือยาง

Advertisement

เลขานุการ รมว.ยุติธรรม เร่งช่วยเหยื่อถูกบริษัทเอกชนหลอกโอนเงินมัดจำถุงมือยาง แนะผู้ลงทุนตรวจสอบอย่างละเอียดก่อนทำการซื้อขายป้องกันการถูกหลอก

หัวใจไม่ว่างแล้ว !! "ตงตง" รับ "เบสท์" คือคนพิเศษ ลั่นผ่านด่านคุณพ่อนักมวยแล้ว

“โบวี่” ร่ำไห้ลาบ้านหรูครั้งสุดท้าย หลังขาย 42 ล้าน

เมื่อวันที่ 26 มี.ค. ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการ รมว.ยุติธรรม เปิดเผยถึงกรณีที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากคณะอนุกรรมาธิการแนวทางส่งเสริมและแก้ปัญหาอุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยางแห่งประเทศไทย สภาผู้แทนราษฎร ที่มีผู้ได้รับความเสียหายจากการโอนเงินมัดจำซื้อถุงมือยางแล้วไม่ได้รับสินค้า ว่า สืบเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ทราบว่ามีกลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทย หลอกลวงให้สั่งซื้อถุงมือยางทางการแพทย์ และวางเงินมัดจำซึ่งมีความเสียหายมากกว่า 4 หมื่นล้านบาท โดยใช้วิธีการโอนเงินจากต่างประเทศเข้ามายังตัวแทนบริษัทในเมืองไทยบางรายเสียหายหลัก 100 ล้านบาท บางรายโอนมาเป็นอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐเพราะช่วงเวลานั้นทางอเมริกามีความต้องการถุงมือยางทางการแพทย์จำนวนมาก ต่อมาบริษัทที่เสียหายไม่ได้รับตามออเดอร์ที่ได้มัดจำไว้ หรือบางบริษัทได้รับการปฏิเสธบ่ายเบี่ยงหรือการคืนเป็นเช็คแต่ก็มีปัญหาเช็คปฏิเสธการสั่งจ่าย หลังจากที่ทางกระทรวงยุติธรรมได้รับเรื่องร้องเรียนแล้วจึงให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงรวบรวมจำนวนของผู้เสียหาย จากการลงพื้นที่บางรายไม่พบว่ามีสินค้าอยู่ในโกดังหรือบางรายนำถุงมือที่ใช้แล้วมารียูสใหม่ โดยอยู่ระหว่างการรวบรวมหลักฐานและข้อเท็จจริงและจำแนกกลุ่มผู้เสียหายส่วนของต่างชาติและคนไทย เชื่อว่ากรณีนี้มีจุดเชื่อมโยงเป็นขบวนการเครือข่าย ซึ่งรูปแบบการสืบสวนจะใช้รูปแบบเดียวกับการสืบสวนในกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดที่เรียกว่า “พาลีปราบยา” เป็นการนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการค้นหาเครือข่ายว่ามีใครเป็นผู้เกี่ยวข้องบ้าง อย่างไรก็ตามต้องตรวจสอบหากว่ามีการซื้อขายกันจริงจะเข้าข่ายผิดสัญญาทางแพ่งและตรวจสอบว่าลักษณะดังกล่าวเป็นพฤติกรรมที่มีการหลอกลวงกันหรือไม่ แต่มั่นใจว่าคดีนี้เป็นการถูกหลอกเพราะหมีผู้เสียหายอยู่จริง

ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต กล่าวต่อว่า ส่วนเงื่อนไขที่ดีเอสไอจะรับเป็นคดีพิเศษนั้น ต้องตรวจสอบว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีที่มีความซับซ้อนหรือไม่และมีทุนทรัพย์ตั้งแต่ 100 ล้านบาท ขึ้นไป หรือมีผู้เสียหายที่เป็นประชาชนที่ถูกหลอกลวงในเรื่องทรัพย์สินเงินทองจำนวนมากซึ่งจะต้องนำเสนอในที่ประชุมเพื่อขอรับเรื่องเป็นคดีพิเศษต่อไป โดยคดีดังกล่าวมีทุนทรัพย์จำนวนมากและมีบริษัทที่โอนเงินเข้ามาเป็นสกุลเงินต่างชาติและมีผู้เสียหายมากกว่าห 100ราย

เลขานุการ รมว.ยุติธรรม กล่าวอีกว่า ฝากเตือนไปยังเอกชนนักธุรกิจหรือตัวแทนนายหน้าที่จะประกอบอุตสาหกรรม สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าคู่สัญญามีบริษัทห้างร้านมีตัวตนจริงหรือไม่ และการลงพื้นที่สำรวจข้อเท็จจริงว่าธุรกิจดังกล่าวมีการประกอบการจริง และตรวจสอบเอกสารไปยังกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ว่าเอกสารตามบริคณห์สนธิมีจริงหรือไม่ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบว่าเว็บไซต์ที่ใช้ซื้อขายธุรกิจมีการโฆษณาข้อเท็จจริงมากน้อยแค่ไหน รวมไปถึงตรวจสอบกรรมการบริษัทที่มีอำนาจหรือลงนาม โดยตรวจสอบทะเบียนอาชญากรทางเศรษฐกิจสำนักงานตำรวจแห่งชาติสามารถให้คำแนะนำที่ดีได้ ป้องกันการถูกหลอกและหากมีการโอนเงินควรจะมีหลักฐานการโอนเงินที่ชัดเจน และก่อนจะโอนเงินทุกครั้งต้องตรวจสอบว่าโอนเงินไปยังผู้ที่เป็นผู้รับในบัญชีตรงกับผู้ที่จะเป็นผู้เสนอขายด้วยหรือไม่ ซึ่งบางกรณีเกิดปัญหาและมีการต่อสู้กันว่าไม่ได้โอนเงินผ่านไปยังบริษัทคู่กรณีแต่โอนผ่านไปยังตัวแทนอื่นหรือโอนไปยังบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดี

เลขานุการ รมว.ยุติธรรม แนะนำว่า การลงทุนในธุรกิจใดที่มีผลตอบแทนสูงให้ระมัดระวังไว้ก่อน และควรหาข้อมูลให้มากเพราะปัจจุบันการหลอกลวงทางออนไลน์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่าย