"ภาคีนัก ก.ม." ฟ้องศาล บีบ ตร.ยุติความรุนแรง

2021-03-26 11:20:17

"ภาคีนัก ก.ม." ฟ้องศาล บีบ ตร.ยุติความรุนแรง

Advertisement

"ภาคีนักกฎหมายฯ" ฟ้อง "ศาลปกครอง" บีบ ตร.ยุติใช้ความรุนแรงกับ "ผู้ชุมนุม" ที่ปราศจากอาวุธ

สุดสงสาร “น้องแหวน” บุตรสาวเหยื่อด้ามไม้กวาด รับศพแม่ไร้กำหนดเผา

"ธนกร"เผย "อนุชา" สั่ง สคบ.ตรวจสอบเพจเปิดจองวัคซีนโควิด

"หมอ"มั่นใจผู้ป่วยเสียชีวิตไม่เกี่ยวกับ"วัคซีนโควิด"

เมื่อวันที่ 26 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาคีนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน พร้อมกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองด้านหน้าอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 17 พ.ย.2563 เดินทางไปยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยุติการใช้กำลังจัดการกลุ่มผู้ชุมนุมที่เกินสมควรแก่เหตุ นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิดเสรีภาพการชุมนุมผู้ฟ้องคดี โดย นายอัมรินทร์ สายจันทร์ ทนายความ เปิดเผยว่า การยื่นฟ้องคดีวันนี้ เพื่อต้องการให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจของตำรวจเกี่ยวกับการควบคุมดูแลการชุมนุมสาธารณะ เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานในการกำกับดูแลการทำหน้าที่ของตำรวจเพื่อคุ้มครองเสรีภาพการชุมนุม และการดูแลความปลอดภัยให้ทั้งผู้ชุมนุมและประชาชน โดยท้ายคำร้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดียุติการใช้กำลังจัดการการชุมนุมที่เกินกว่าเหตุ อันเป็นการละเมิดต่อเสรีภาพการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ และเป็นการใช้กำลังโดยไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 รวมทั้งแผนดูแลการชุมนุมสาธารณะและคู่มือการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการใช้กำลังและเครื่องมืออุปกรณ์ควบคุมฝูงชนที่ไม่เป็นไปตามหลักสากล เช่น ห้ามฉีดน้ำแรงดันสูงผสมแก๊สน้ำตา หรือสารเคมี หรือห้ามใช้กระสุนยางยิงใส่ผู้ชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ, ห้ามวางสิ่งกีดขวางการใช้เสรีภาพโดยไม่มีเหตุอันควร เป็นต้น 




ด้าน นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว หรือลูกเกด แนวร่วมกลุ่มราษฏร​ กล่าวว่า เหตุการณ์วันดังกล่าว ตำรวจไม่ใช้ขั้นตอนตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ในการควบคุมการชุมนุม ไม่มีการจัดชุดเจรจากับแกนนำผู้ชุมนุม แต่เมื่อเหตุการณ์สงบลงกลับมีความพยายามบังคับใช้ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ดำเนินคดีกับแกนนำและกลุ่มผู้ชุมนุม ทั้งนี้ในส่วนของแกนนำและแนวร่วมราษฎร ยืนยันว่า การชุมนุมโดยสงบของประชาชนสามารถกระทำได้ตามสิทธิเสรีภาพรัฐธรรมนูญ และเห็นว่าการใช้วิธีการดังกล่าวของตำรวจ ขัดต่อสิทธิเสรีภาพเรื่องการชุมนุมอย่างชัดเจน โดยหลังจากเกิดเหตุการณ์เมื่อวันที่ 17 พ.ย. ยังพบว่า ตำรวจความพยายามใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุมอีกหลายครั้ง ซึ่งตนได้รับผลกระทบจากสารเคมีที่ผสมน้ำฉีดใส่ผู้ชุมนุม จนเป็นผื่นแดงตามร่างกาย และมีใบรับรองแพทย์ที่สามารถยืนยันได้ ทั้งนี้ขอเรียกร้องให้ตำรวจดำเนินคดีกับกลุ่มคนที่ทำร้ายกลุ่มผู้ชุมนุมโดยเร็ว เพราะจนถึงขณะนี้ตำรวจยังไม่สามารถติดตามตัวคนก่อเหตุอีกหลายคดี 


ขณะที่ นางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 พ.พ.2563 ตนเข้าประชุมที่อาคารรัฐสภา และได้รับผลกระทบจากการตั้งเครื่องกีดขวางจราจรของตำรวจ โดยตนพยายามอธิบายความจำเป็นในการเดินทางเข้าไปภายในอาคารรัฐสภา แต่ตำรวจไม่ฟังเหตุผล อีกทั้งเห็นว่าหากตำรวจมีความจำเป็นในการตั้งเครื่องกีดขวาง ตำรวจต้องสามารถยืดหยุ่นโดยการเปิดช่องทางต่างๆ ให้ได้เช่นกัน ซึ่งส่วนตัวถือว่าได้รับผลกระทบเสรีภาพในการเดินทางจากการปิดการจราจรของตำรวจ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมายื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ในครั้งนี้