ทส. ผนึกกำลังนักวิชาการ พัฒนาระบบตรวจวัด PM2.5

2021-03-20 14:55:27

ทส. ผนึกกำลังนักวิชาการ พัฒนาระบบตรวจวัด PM2.5

Advertisement

ทส. ผนึกกำลังนักวิชาการ พัฒนาระบบตรวจวัด PM2.5

"หม่อมลูกปลา" กลับมาสวยอีกครั้งในรอบ 30 ปี

"หมิว สิริลภัส' ช็อกเข้าห้องน้ำเจอชายร่างกำยำตามส่อง พอจับได้รีบขับรถ ตร.เผ่น

เมื่อวันที่ 20 มี.ค.  นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)เปิดเผยว่า ทส.ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือ “แนวทางการใช้ประโยชน์จาก sensor สร้างเครือข่ายการติดตามตรวจวัด PM2.5 ของประเทศ” โดยมี 11 หน่วยงาน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เข้าร่วมประชุม


นายอรรถพล กล่าวว่า จากการประชุมได้ข้อสรุปดังนี้ 1. ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการรวมกลุ่มหน่วยงานที่มีโครงการตรวจวัดคุณภาพอากาศ นักวิชาการ และผู้ผลิต sensor ของประเทศไทย เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีแผนการติดตั้งจุดตรวจวัดฝุ่นละอองจำนวน 200 จุดในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ของ กฟผ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการ Sensor for All โดยติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดฝุ่น PM2.5 ทั้งหมด 1,000 จุดทั่วประเทศ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (National Environment Open Data) ติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดฝุ่น PM2.5 จำนวน 8,000 จุดทั่วประเทศ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดูแลเครือข่ายเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ DustBoy ที่ติดตั้งทั่วประเทศกว่า 400 จุด และตั้งเป้าขยาย 2,000 - 3,000 จุดทั่วประเทศในทุกตำบล เป็นต้น โดยตกลงที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเทคโลยี (technology sharing) เพื่อพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของ sensors ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และเทคโนโลยี Big Data เพื่อรายงานผลได้อย่างรวดเร็ว ทันสถานการณ์ และตอบสนองต่อคนรุ่นใหม่ และให้มีการพัฒนาต่อยอดต่อไป 2. เห็นชอบให้ คพ. จัดทำคู่มือการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกัน 3. ที่ประชุมเห็นชอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดตั้งเครือข่ายกลางของประเทศ เพื่อเป็นศูนย์กลางของการตรวจวัดคุณภาพอากาศ โดยในเบื้องต้นแบ่งเครือข่ายการตรวจวัดคุณภาพอากาศเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เครือข่ายการตรวจวัดตามวิธีที่กฎหมายกำหนด และ เครือข่ายการตรวจวัดตามวิธีอื่น ทั้งนี้ ที่ประชุมขอให้ภาครัฐเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน “Technology Disruption” โดยคาดว่าจะมีเทคโนโลยีการตรวจวัดคุณภาพอากาศด้วยโทรศัพท์มือถือในอนาคตอันใกล้นี้