"มัลลิกา เผย ม.ค.จดทะเบียนบริษัทใหม่ 7,283 ราย

2021-03-12 15:10:05

"มัลลิกา เผย ม.ค.จดทะเบียนบริษัทใหม่ 7,283 ราย

Advertisement

"มัลลิกา เผยกรมพัฒนาธุรกิจการค้ารายงาน "จุรินทร์" เดือน  ม.ค. ผู้ประกอบการยื่นจดทะเบียนบริษัท 7,283 ราย ทุนจดทะเบียนกว่า 3 หมื่นล้าน เผยธุรกิจดำเนินการอยู่กว่า 7.7 แสนราย มูลค่าทุน 19.22 ล้านล้าน ธุรกิจด้านดิจิทัลไปได้ดี

"หนุ่ม กรรชัย" เปิดแชทแฉ "อาบี" ส่งภาพ “อั้ม”มาหลอกบอกเป็น "ตาล"

“บุ๋ม” ขอโทษ “จั๊กจั่น” พลั้งเสนอข่าวโดยไม่ระวัง ไม่คิดว่าคนกันเองจะทำร้าย

เมื่อวันที่ 12 มี.ค. นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)  รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ได้ติดตามการพัฒนาธุรกิจการค้าตามนโยบายนั้น จากรายงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เกี่ยวกับการจดทะเบียนธุรกิจประจำเดือน ม.ค. 2564 จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่มีผู้ประกอบการธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศในเดือน ม.ค. 2564 จำนวน 7,283 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 30,930 ล้านบาท ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรกคือ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไปจำนวน 634 รายคิดเป็น 9 เปอร์เซ็นต์  รองลงมาคือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จำนวน 299 รายคิดเป็น 4 เปอร์เซ็นต์  และอันดับ 3 คือธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้าจำนวน 192 รายคิดเป็น 3เปอร์เซ็นต์ 

นางมัลลิกา กล่าวต่อว่า ส่วนธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือน ม.ค.2564 นั้นมี 1,105 รายโดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 7,910 ล้านบาทซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเลิกกิจการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ถือว่าการจดทะเบียนประกอบธุรกิจใหม่มีสัดส่วนที่มากกว่าอยู่มาก โดยในส่วนธุรกิจที่เลิกส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป รองลงมาคืออสังหาริมทรัพย์และธุรกิจด้านภัตตาคารร้านอาหาร โดยธุรกิจเลิกประกอบกิจการนั้นแบ่งตามช่วงทุนมากที่สุดคือทุนไม่เกิน 1 ล้านบาทจำนวน 69เปอร์เซ็นต์  รองลงมาคือช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาทจำนวน 26 เปอร์เซ็นต์  และช่วงทุน 5-100 ล้านบาทจำนวน 3.7 เปอร์เซ็นต์  ส่วนช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาทมีจำนวน 0.5 เปอร์เซ็นต์  ตามลำดับ

ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ กล่าวด้วยว่า สำหรับธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ ณ ข้อมูลเดือน ม.ค. 2564 จำนวน 775,253 ราย มูลค่าทุน 19.22 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลจำนวนคิดเป็น 24 เปอร์เซ็นต์  และบริษัทจำกัด 75.5 เปอร์เซ็นต์  และบริษัทมหาชนจำกัดจำนวน 0.17 เปอร์เซ็นต์  ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแนวโน้มธุรกิจจากสถานการณ์โควิดส่งผลให้ผู้ใช้บริการเปลี่ยนพฤติกรรมมาทำธุรกรรมและกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์มากยิ่งขึ้นรวมถึงแนวโน้มในการบังคับใช้ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลพ.ศ. 2562 ทั้งฉบับดังนั้นในปี 2564 ธุรกิจต่างๆจึงต้องจัดการระบบเพื่อรองรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของผู้ใช้บริการ และต้องให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าและป้องกันการคุกคามทางคอมพิวเตอร์ดังนั้นธุรกิจบริหารจัดการโครงสร้างและระบบคอมพิวเตอร์จึงมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

"ดูจากการจัดตั้งและมูลค่าทุนจดทะเบียนของธุรกิจบริหารจัดการโครงสร้างและระบบคอมพิวเตอร์จะพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 4 ปีคือ 2559 ถึง 2562 แม้ว่าในปี 2563 จะมีการจดตั้งลดลง 11 เปอร์เซ็นต์  และมีมูลค่าทุนจดทะเบียนลดลง 17 เปอร์เซ็นต์  เมื่อเทียบกับปี2562 แต่ในส่วนของผลประกอบการนั้นจะเห็นว่าธุรกิจเติบโต เพิ่มขึ้นอย่างมากจากปี 2561 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์  และธุรกิจมีผลกำไรในปี 2562 เพิ่มขึ้นจากปี 2561 คิดเป็น 3.7 เปอร์เซ็นต์  และมีอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 3 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งเมื่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้ารายงานจากนิติบุคคลที่ส่งงบการเงินจะพบว่าส่วนใหญ่เป็นนิติบุคคลขนาดเล็กถึง 99 เปอร์เซ็นต์  จึงถือเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดธุรกิจบริหารจัดการโครงสร้างและระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการที่หลายฝ่ายสะท้อนความคิดเห็นว่าควรจะได้มีการส่งเสริมสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อกิจการนั้นเป็นเรื่องที่ดีทั้งนี้เพื่อนำสู่ธุรกิจและขยายธุรกิจด้านนี้ ขณะเดียวกันรัฐบาลก็มุ่งเน้นสนับสนุนให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัล เช่น ดำเนินโครงการที่ใช้ดิจิทัลเป็นส่วนประกอบสำคัญเพื่อให้ถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจงรวมถึงการดำเนินธุรกิจ ธุรกรรมออนไลน์ ทั้งการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ National Dgital ID และการใช้ Blockchain ซึ่งการที่รัฐบาลมุ่งเน้นนโยบายด้านนี้ย่อมทำให้เกิดการเติบโตธุรกิจด้านนี้ โอกาสอันดีในการเข้าสู่ธุรกิจนี้แต่ก็ต้องคำนึงถึงการลงทุนอย่างต่อเนื่องและอุปกรณ์เทคโนโลยีพัฒนารวดเร็วตีองบริหารจัดการให้ทันและธุรกิจมีความต้องการบุคลากรที่มีทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ก็จะส่งผลต่ออัตราการจ้างงานและการรักษาบุคลากรให้กับองค์กร เป็นต้น " ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ กล่าว